แปลและกลับ ประโยค เสยฺยถีทํ (ป.ธ.1-2 ถึง 4)

 

แปลและกลับ ประโยค เสยฺยถีทํ

(สตฺถา) อนุปุพฺพีกถํ กเถสิ. เสยฺยถีทํ ? ทานกถํ สีลกถํ สคฺคกถํ กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสํ เนกฺขมฺเม อานิสํสํ ปกาเสสิ. (ธมฺมปทฏฺฐกถา 1/5-6)

 

สำนวนแปลโดยพยัญชนะ

อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ฯ (อ.อันถามว่า อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ) อย่างไรนี้ (ดังนี้) ? (อ.อันแก้ว่า อ.พระศาสดา) ทรงประกาศแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งทาน ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งศีล ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งสวรรค์ ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งโทษ ซึ่งการกระทำตํ่า ซึ่งความเศร้าหมองพร้อมแห่งกาม ท. ซึ่งอานิสงส์ในการออกบวช (ดังนี้) ฯ

 

สำนวนแปลโดยอรรถ

พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ฯ คือ (เสยฺยถีทํ) ? พระศาสดา ทรงประกาศแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งทาน...ซึ่งอานิสงส์ในการออกบวช ฯ

 

 

อธิบายในเชิง วิชาแปล ป.ธ.1-2 – 3

เสยฺยถีทํ นี้ เป็นศัพท์นิบาต ในความหมายเป็นคำถาม แปลว่า อย่างไร สัมพันธ์ว่า"ปุจฺฉนตฺถ" โดยมากจะวางไว้เฉพาะ เสยฺยถีทํ บทเดียว เวลาแปลต้องขึ้น ปุจฺฉา มาเปิด อิติ ศัพท์ ประโยคภายในนั้น ต้องดูเนื้อความข้างหน้าว่าจะเติมอะไรมาเป็นตัวประธาน เมี่อมีตัวประธานก็ต้องเติมกิริยามาด้วย ส่วนประโยคหลังเป็นประโยคแก้ก็เติม วิสชฺชนํ เข้ามาเปิด ประโยคภายใน พร้อมทั้งเติม อิติ ศัพท์เข้ามา อุ. (ปุจฉา) "(สตฺถา) เสยฺยถีทํ (อนุปุพุพีกถํ กเถสิ) (อิติ). (วิสชฺชนํ) "(สตฺถา) ทานกถํ สีลกถํ สคฺคกถํ กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสํ เนทขมฺเม อานิสํสํ ปกาเสสิ (อิติ) . (พระมหาสมคิด จินฺตามโย, 2538 : 52)

 

อธิบายในเชิง วิชากลับ ป.ธ.4 ขึ้นไป

เสยฺยถีทํ หากแปลโดยอรรถ จะแปลว่า “คือ” ใช้ในกรณีที่เนื้อความที่จะอธิบายเป็นสำนวนชั้นอรรถกถา ซึ่งคำที่แปลว่า “คือ” มีอีกหลายศัพท์ด้วยกัน เช่น อิติ วเสน ยทิทํ กถํ ดังที่ พระมหาโพธวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต), 2544 : 343 ได้อธิบายไว้ว่า คำว่า “คือ” ในสำนวนไทย มาจากศัพท์ว่า อิติ วเสน ยทิทํ เสยฺยถีทํ และ กถํ

  1. อิติ นิยมเรียงส่วนย่อยไว้ข้างหน้าก็มี ข้างหลังก็มี และ ควบด้าย จ ศัพท์ หลัง อิติ (ดูวิธีเรียง อิติ ศัพท์ ประกอบ)
  2. วเสน ในชั้นประโยคต้นๆ นิยมแปลศัพท์นี้ว่า ด้ายสามารถ และในชั้นสูงๆ นิยมแปลว่า “คือ” วิธีใช้ให้นำส่วนย่อยของศัพท์หลังมาสมาสกับศัพท์ว่า วเสน ทั้งหมด เช่น

: พุทฺธธมฺมสงฺฆวเสน รตนตฺตยํ โลเก อุปฺปนฺนํ ฯ

  1. ยทิทํ ใช้แสดงส่วนย่อย ที่มีอย่างเดียวคล้ายเป็นคำไข หรือคำอธิบาย และวางไว้หน้าศัพท์ที่เป็นส่วนย่อยนั้น เช่น

: เอตทคฺคํ ภิกฺขเว... ภิกฺขูนํ, ยทิทํ...

: คหนํ เหตั ภนฺเต, ยทิทํ มนุสฺสา ฯ (๒/๑๓)

  1. เสยฺยถีทํ เป็นสำนวนชั้นอรรถกถา ใช้แสดงส่วนย่อยที่มี หลายๆ อย่าง เช่น

: ตสฺมา ตํ ทิวสํ สตฺถา ฯเปฯ อนุปุพฺพีกถํ กเถสิ เสยฺยถีทํ ? ทานกถํ สีลกถํ ฯเปฯ (๑/๕)

: สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา เสยฺยถีทํ รูปูปาทานกฺขนฺโธ ฯเปฯ

  1. กถํ ตามปกติแปลว่า อย่างไร แต่สำนวนแปลว่า คือ ใช้ในกรณีที่จะแสดงเรื่องราว หรือจะอธิบายความให้พิสดารออกไป
  • Author: supanat
  • Hits: 4570
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search