แบบเรียนบาลี

การสัมพันธ์ ป.ธ.3

            นักเรียนได้ศึกษาวจีวิภาครู้จักส่วนแห่งคำพูดแล้วควรศึกษาให้รู้จักวิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์เพื่อเป็นประโยชน์ในการพูดหรือแต่งหนังสือซึ่งแสดงความให้ผู้อื่นเข้าใจ   เหมือนนายช่างผู้ฉลาดรู้จักปรุงทัพพสัมภาระให้เป็นเรือน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้จะอยู่ ฉะนั้น  วิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์นั้น  เรียกว่าวากยสัมพันธ์

แบบเรียนตัทธิต

ตัทธิต แปลว่าปัจจัยแทนศัพท์

แบบเรียนสมาส

สมาส 

แปลว่า ย่อ (บท + บท)

ตัทธิต

ตัทธิต

            ปัจจัยหมู่หนึ่ง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เนื้อความย่อเพื่อใช้แทนศัพท์ ย่อคำพูดให้สั้นลง เรียกว่า “ตัทธิต” มีรูปวิเคราะว่า “ตสฺส หิตํ ตทฺธิตํ (ปจฺจย-ชาตํ) แปลว่า (ปัจจัย) เป็นประโยชน์ แก่เนื้อความย่อนั้น ชื่อว่าตัทธิต

คู่มือ วิชาแปล ป.ธ.๙ (อารัมภกถา + ปริจเฉทที่ ๑)

คู่มือ

วิชา แปลมคธเป็นไทย ป.ธ.๙

(ฉบับความเข้าใจ)

      เนื่องจากปัจจุบัน การศึกษา วิชา แปลมคธเป็นไทย ของชั้น ประโยค ป.ธ.๙ (วิชา แปล) ค่อนข้างลำบากสำหรับนักเรียน นักศึกษาหลายๆ ท่าน เพราะการจะแปลพระอภิธรรมฏีกาให้ถูกต้องตามสะภาวธรรมนั้น ผู้แปลต้องมีความเข้าใจในพระอภิธรรมระดับหนึ่ง ฉะนั้น จึงเป็นการยากสำหรับผู้ไม่เคยศึกษาพระอภิธรรมมาก่อน 

     อนึ่ง ผู้เขียนพอจะมีความรู้อยู่บ้าง และในระหว่างที่ศึกษา ชั้น ประโยค ป.ธ.๙ อยู่นั้น ได้พิมพ์เก็บไว้ทบทวนส่วนตัว พอกาลเวลาผ่านไปหลังจากสอบผ่านแล้ว จึงเห็นว่าข้อมูลชุดนี้ อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้าง จึงได้นำมาเผยแพร่

เพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้สนใจใคร่ศึกษาสืบไป

คู่มือ วิชาแปลมคธเป็นไทย ป.ธ. ๙ (โดย พระธรรมวโดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ.๙))

คู่มือ วิชาแปลมคธเป็นไทย ป.ธ. ๙ (โดย พระธรรมวโดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ.๙)) 

ใช้ดูประกอบการแปล อภิธมฺมตฺถวิภาวินีฏีกา (วิชาแปล ป.ธ.๙) มีประโยชน์มากๆ....

แปลและกลับ ประโยค เสยฺยถีทํ (ป.ธ.1-2 ถึง 4)

 

แปลและกลับ ประโยค เสยฺยถีทํ

(สตฺถา) อนุปุพฺพีกถํ กเถสิ. เสยฺยถีทํ ? ทานกถํ สีลกถํ สคฺคกถํ กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสํ เนกฺขมฺเม อานิสํสํ ปกาเสสิ. (ธมฺมปทฏฺฐกถา 1/5-6)

 

สำนวนแปลโดยพยัญชนะ

อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ฯ (อ.อันถามว่า อ.พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ) อย่างไรนี้ (ดังนี้) ? (อ.อันแก้ว่า อ.พระศาสดา) ทรงประกาศแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งทาน ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งศีล ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งสวรรค์ ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งโทษ ซึ่งการกระทำตํ่า ซึ่งความเศร้าหมองพร้อมแห่งกาม ท. ซึ่งอานิสงส์ในการออกบวช (ดังนี้) ฯ

 

สำนวนแปลโดยอรรถ

พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ฯ คือ (เสยฺยถีทํ) ? พระศาสดา ทรงประกาศแล้ว ซึ่งวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งทาน...ซึ่งอานิสงส์ในการออกบวช ฯ

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search