3.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 3)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 3)

 

การแต่งไทยเป็นมคธ

           การที่นักศึกษาจะสามารถแต่งไทยเป็นมคธให้ได้ตามที่สนามหลวง ต้องการ คือให้ได้เนื้อหาตามที่กำหนด ได้อรรถรสทางภาษา และถูกหลักเกณฑ์การแปลไทยเป็นมคธนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ความรู้ความสามารถไม่น้อย เพราะภาษามคธเป็นภาษาที่มีระเบียบ แบบแผนค่อนข้างแน่นอนตายตัว มีความละเอียดอ่อนและสละสลวยอยู่ในตัว ศัพท์ที่ท่านใช้ก็ดี ประโยคที่ท่านใช้ก็ดี มีความหมายอยู่ในตัว หากใช้ผิดไปจะทำให้ความหมายผิดไปด้วย เป็นเรื่องที่จะต้องพิถีพิกันเป็นพิเศษ มิใช่เพียงเขียนให้เป็นประโยคภาษามคธได้ก็ถือว่าใช้ได้ มิใช่เพียงแค่นั้นเลย การนำศัพท์มาเรียบเรียงไว้ในประโยคให้ได้ลูกหลัก ได้อรรถรสและได้ใจความเท่านั้น จึงจะนับว่าแต่งเป็น

          เนื่องจากวิชาแต่งไทยเป็นมคธเป็นวิชาสุดยอดวิชาหนึ่งของการศึกษาภาษามคธในประเทศไทย นักศึกษาจำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการแต่งเป็นอย่างดี แต่ที่สำคัญก็คือความรู้พื้นฐานที่เคยศึกษามาแล้วในชั้นต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชานักธรรมหรือบาลี เพราะจะต้องนำมาใช้ในวิชานี้อย่างเต็มที่และถูกต้อง กล่าวโดยย่อก็คือจะต้องมีความรู้ในเรื่องต่างๆ เหล่านื้ดี คือ

๑. เรื่องไวยากรณ์ ต้องจำแบบไวยากรณ์ได้แม่นยำ นํ้ามาใช้ได้ทันที

๒. เรื่องหลักการเรียงศัพท์เข้าประโยค ซึ่งผ่านมาแล้วในชั้นต้นๆ

๓. เรื่องศัพท์ ความหมายของศัพท์ วิธีใช้ศัพท์ต่างๆ ในประโยค

๔. เรื่องธรรมะ ต้องสามารถจำธรรมะได้มากทั้งหัวข้อและความหมาย

๕. เรื่องอลังการ คือ วิธีการปรุงประโยคภาษาให้สละสลวย กะทัดรัด ได้อรรถรส

          เรื่องเหล่านี้มีความสำคัญ และมีความสัมพันธ์กันตลอดสาย รู้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือขาดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจทำให้เสียได้ เช่น จำศัพท์ได้แม่นยำ แต่ไม่เข้าใจวางศัพท์นั้นในประโยค ก็อาจวางศัพท์ผิดหลัก ทำให้เสียความไป หรือรู้อย่างอื่นทั้งหมด แต่ขาดความรู้ เรื่องอลังการ ประโยคภาษามคธที่แต่งก็มักจะรุงรังซํ้าซ้อน ขาดความ สละสลวย ไม่กระทัดรัด หรือขาดอรรถรสทางภาษาไทย เป็นต้น ดังนั้น จึงจำต้องมีความรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ให้พอๆ กัน เพื่อนำมาใช้ผสมผสานกันไปจนตลอดสายในเวลาแต่งไทยเป็นมคธ

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ

          การแต่งไทยเป็นมคธ คือกระบวนวิธีการถ่ายทอดเนื้อความ จากภาษาไทยไปเป็นภาษามคธให้ได้ใจความตรงกันถกต้อง และสมบรณ์ กระบวพ"หรอนธั๊บการแปลไทย เป็นมคธ

          ข้อที่ควรทำความเข้าใจเบื้องต้นในเรื่องนี้ มีหลายประการด้วยกัน คือ

          ๑. เมื่อถือว่าเนื้อความภาษาไทยที่ถูกกำหนดแต่งเป็นต้นฉบับ ผู้แต่งความจากต้นฉบับให้เป็นภาษามคธจะต้องพยายามให้ผู้อ่านภาษามคธ มีความเข้าใจเนื้อเรื่องตรงกันกับผู้ที่อ่านต้นฉบับ หมายความว่าคนที่อ่าน ข้อความจากต้นฉบับ กับคนที่อ่านจากภาษามคธที่แต่งแล้วนั้นมีความเข้าใจตรงกัน

          ๒. ผู้แต่งจะต้องจับประเด็นใจความภาษาไทยที่เป็นต้นฉบับให้ได้ก่อน เพื่อจะได้สื่อหรือถ่ายทอดประเด็นนั้นมาสู่ภาษามคธได้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามต้นฉบับ ในกรณีนี้ผู้แต่งจะต้องมีความรู้ความชำนาญในภาษาไทยได้ดีพอสมควร จึงจะสามารถจับประเด็นได้ดี

          ๓. ผู้แต่งต้องพยายามรักษาความหมายเดิมของต้นฉบับไว้ให้มากที่สุด นอกจากนั้นยังต้องพยายามใช้ภาษามคธอย่างเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องต้องกันกับความนิยมของภาษามคธอย่างแท้จริง ในกรณีนี้ ผู้แต่งจะต้องมีความรู้ความชำนาญในภาษามคธได้ดีพอสมควร เช่น รู้จักใช้คำอย่างเหมาะสมกับเรื่อง มีความละเอียดในการประกอบศัพท์ สร้างประโยค

          ๔. ในการอ่านเนื้อความภาษาไทย ตามปกติความคิดของผู้อ่าน จะผูกพันและติดอยูในกรอบของภาษาไทย แต่ในการอ่านเพื่อนำไปแต่งเป็นมคธ ผู้อ่านจะต้องทิ้งกรอบของภาษาไทย เช่น โครงสร้างประโยค การเรียงคำ การใช้คำให้หมด นำไปแต่เพียงเนื้อความไปแต่ง โดยไม่ให้อิทธิพลของภาษาไทยเข้าไปรบกวนความคิดในขณะแต่ง หาไม่แล้ว สำนวนมคธที่แต่ง จะกลายเป็นสำนวน “บาลี-ไทย”  คือคำเป็นมคธ แต่สำนวนเป็นแบบไทยไป เช่นสำนวนว่า “พฺยคฺโฆ โภชนํ ภุญฺชติ = เสือกินคน” ซึ่งไม่ถูกต้อง

          ๕. ความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของผู้แต่งในขณะแต่ง จะต้องผูกพันอยู่กับกรอบของภาษามคธอยู่ตลอดเวลา โดยไม่นำความคิดและอารมณ์ส่วนตัว หรือกรอบภาษาไทยเข้าไปปะปน กล่าวคือต้องคิดอยู่เสมอว่ากำลังแต่ง หรือเขียนภาษามคธอยู่ มิใช่กำลังแต่งหรือเขียนภาษาไทย

          เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนวิธีการแต่งไทยเป็นมคธ ดังกล่าวแล้วข้างต้นโดยละเอียด ต่อไปนี้จักได้แสดง กระบวนวิธีนั้นไปโดยลำดับตามหัวข้อ อันเป็นเรื่องหลักที่ควรรู้ ๔ ประการด้วยกัน คือ

๑. การตีความ

๒. การตามความ

๓. การเติมความ

๔. การตัดความ

 

๑. การตีความ

          ในการแต่งไทยเป็นมคธ การตีความถือว่าเป็นหลักเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด เพราะก่อนที่จะแต่งนักศึกษาจะต้องอ่านและทำความเข้าใจเนื้อความภาษาไทยที่กำหนดให้แต่งนั้นโดยแจ่มแจ้งเป็นอันดับแรกแล้ว ตีความนั้นให้แตก คือ จับประเด็นในภาษาไทยให้ได้ว่าเป็นอย่างไร มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องอะไร แล้วแยกแยะให้รู้ว่าประโยคเนื้อความจบลงตรงไหน เนื้อความตอนไหนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับเนื้อความตอนไหน หรือในประโยคที่ยาวควรจะตัดทอนประโยคตรงไหน จึงจะไม่เสียความ ดังนี้เป็นต้น หากว่าตีความภาษาไทยไม่เป็น จับประเด็นไม่ถูก หรือ ตีความไปอีกอย่างหนึ่ง ก็จะแต่งได้ไม่ดีหรือไม่ถูกเรื่องไปเลย

          การที่จะต้องตีความก่อนนั้น ก็เพราะลักษณะภาษาไทยมีถ้อยคำ สำนวนหลากหลาย มีประโยคซับซ้อน และขาดความสมบูรณ์ในตัว แต่ก็สามารถสื่อความหมายได้ เช่นข้อความว่า

“ในชุมชนที่ตั้งอยู่เป็นปึกแผ่นในแผ่นดินแห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าบ้าน เมืองหรือประเทศนี้ จำต้องมีคน ๒ จำพาก คือ คนทำกินหนึ่ง คนปกครองหนึ่ง

ในครอบครัวแห่งหนึ่ง มีแต่คนกินมาก มีคนหาน้อย ครอบครัวนั้นไม่ช้าก็จะถึงความล่มจม แต่ถ้าช่วยกันหาช่วยกันกินจึงจะตั้งอยู่ได้”

          ตามตัวอย่างข้างบนนี้ จำต้องตีความเสียใหม่ เพราะเป็นภาษาไทยสันทัด คือ มุ่งความเข้าใจในเนื้อหามากกว่ามุ่งไวยากรณ์ โดยจับประเด็นเนื้อหาว่ากำลังกล่าวถึงเรื่องอะไรอยู่ ประโยคจบลงแค่ไหน เป็นต้น

          เมื่อตีความในภาษาไทยได้แล้ว จะต้องมากำหนดตีความในภาษามคธอีกทอดหนึ่ง กล่าวคือต้องคำนึงถึงว่าความไทยที่ตีใหม่นั้น จะสามารถนำมาแต่งเป็นภาษามคธได้หรือไม่ หรือเมื่อแต่งเป็นภาษามคธ แล้วจะยังคงเนื้อความเดิมอยู่หรือไม่ คือต้องคิดถึงหลักของทั้งสองภาษา มิใช่คำนึงถึงภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ

          ขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจ และตระหนักไว้เป็นเบื้องต้นก่อนว่าเมื่อแต่งเป็นภาษามคธ ก็จะต้องให้ได้ลักษณะถูกต้องสำนวนมคธ คือ ยึดภาษามคธเป็นหลัก เมื่อแปลกลับมาเป็นภาษาไทย ก็จะต้องให้ได้ ลักษณะถูกต้องตามสำนวนภาษาไทย ยึดภาษาไทยเป็นหลัก มิใช่แต่งภาษามคธตามแบบภาษาไทย หรือแปลเป็นภาษาไทยตามแบบของภาษามคธ ตัวอย่างเช่น

 

สำนวนไทย

: ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ

 

  พระเจ้าอยู่ห้ว รัชกาลที่หนึ่ง

สำนวนมคธ

: ปฐมสฺส, ขตฺติยสฺส โอรโส อโหสิ ฯ

ไมใช่

: ปฐเม, ขตฺติเย โอรโส อโหสิ ฯ

สำนวนไทย

: หมอรักษาโรค

สำนวนมคธ

: เวชฺโช โรคํ ติกิจฺฉติ ฯ

ไมใช่

: เวชฺโช โรคํ รกฺขติ ฯ

 

ต่างๆ เหล่านี้ นักศึกษาพึงระวังให้มาก ขอให้ข้อสังเกตไว้เป็น เบื้องต้นอย่างนี้ก่อน

 

วิธีการตีความ

          การตีความสำนวนไทยก่อนที่จะแต่งเป็นสำนวนมคธเป็นสิ่งจำเป็น ดังกล่าว จึงเพื่อให้สามารถแต่งมคธได้โดยสะดวก และรักษาความเดิม ในภาษาไทยไว้ได้ นักศึกษาพึงทราบแนวทางการตีความ ดังต่อไปนี้

          ๑. อ่านข้อความสำนวนภาษาไทยที่เป็นต้นฉบับให้จบเรื่องโดยตลอด เพื่อรู้ว่าสำนวนหรือข้อความภาษาไทยที่ท่านกำหนดให้แต่งนั้น ว่าด้วยเรื่องอะไร ควรจับประเด็นใจความเนื้อหาพอให้นึกภาพออกตามสมควรว่าสำนวนนั้นว่า ด้วยเรื่องอะไร เป็นสำนวนภาษาแบบไหน คือเป็น สำนวนใหม่หรือสำนวนเก่า เป็นต้น

          ๒. เมื่ออ่านจบแล้วพึงอ่านทบทวนไปเป็นตอนๆ ให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งกำหนดหมายไว้ในใจว่าข้อความตอนใดยังไม่สมบูรณ์ ตอนใดวกวนซับซ้อน ตอนใดซํ้าซ้อน ตอนใดตรงกับสำนานภาษามคธ และควรจะจบประโยคได้ตอนใด หากทำเครื่องหมายจบประโยคไร้ก่อน ก็จะเป็นการดี

          ๓. หากสำนวนต้นฉบับนั้นมีใจความยังไม่สมบูรณ์ จะต้องแต่งเป็นมคธเพิ่มเติมอย่างไร หากสำนวนเฝือไป จะตัดตอนอย่างไร หากสำนวนสับสน จะตัดต่ออย่างไรจึงจะได้ใจความสัมพันธ์กัน ข้อนี้จะต้องคำนึงไว้ในขณะที่พิจารณาคร่าวๆไปพร้อมกันด้วย

          ๔. เมื่อกำหนดหมายคร่าวๆ ได้แล้ว พึงนึกถึงหลักเกณฑ์วิธีการแปลไทยเป็นมคธต่อไป ว่าสำนวนไทยอย่างนี้ สามารถแต่งเป็นสำนวนมคธได้เลยหรือไม่ หากไม่ได้ จะต้องคิดสำนวนใหมให้เป็นแบบสำนวนมคธ

          ๕. กำหนดประโยคที่จะแต่ง หลังจากตีความแล้ว ว่าความตอนนี้จะแต่งเป็นประโยคกัตตุวาจก หรือกัมมวาจก เป็นต้น จะแต่งเป็น เอกรรถประโยค อเนกรรถประโยค หรือ สังกรประโยค มีอะไรเป็นบทประธาน เป็นบทกิริยา เป็นบทกรรม เป็นต้น

          ๖. กำหนดศัพท์ที่จะใช้ในประโยค โดยคิดศัพท์ไว้ล่วงหน้า ว่า

คำหรือความตอนนี้ควรใช้ หรือจะต้องใช้ศัพท์อะไรจึงจะตรงกับเรื่อง และได้ใจความตามต้นฉบับ

          ๗. เมื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ อย่างนี้แล้วก็ลงมือแต่ง หรือ ปรุงประโยคภาษามคธต่อไป ในการปรุงประโยคนี้ก็ใช้วิธีการแปลไทย เป็นมคธเป็นหลักยืน

 

          เพื่อความชัดเจนในเรื่องการดีความ ขอให้นักศึกษาดูสำนวนที่ ท่านแต่งไวิให้ดูเป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

 

ไทย

: พิธีราชาภิเษกสำคัญ เพราะเป็นการรับรองผู้ที่จะครอง

 

  บ้านครองเมือง ซึ่งเรามอบกายถวายชีวิตไว้ พึง

 

  สังเกตได้ว่าทุกๆ ชาติในโลก ในสมัยที่พระเจ้าแผ่นดินมี

 

  อำนาจปกครองบ้านเมืองนั้น ต่างมีระเบียบรับรองผู้ที่

 

  จะเป็นผู้นำในตำแหน่งสูงสุดนี้ด้วยกันทั่วไป ฯ

มคธ

: ขตฺติยมุทฺธาภิเสกมงฺคลมิทํ นาม ทยฺยรฏฺฐวาสีหิ

 

  อภิมญฺญิตพฺพํ, อิมินา หิ ทยฺยิกเชฏฺฐกสฺส

 

  ราชาธิปติภาโว เตหิ อตฺตโน กายญฺจ ชีวิตญฺจ ททนฺเตหิ

 

  สมฺปฏิจฺฉิตพฺโพ โหติ ฯ สลฺลกฺเขตพฺพํ เจตฺถ อิธ

 

  รฏฺฐานํ ราชาธิปเตยฺยกาเล สพฺเพสํเยว สกรฏฺเฐสุ

 

  ราชาธิปติภาวสฺส สมฺปฏิจฺฉนปฺปเวณิ อโหสีติ ฯ

 

(สนามหลวง ๒๕๑๒)

ไทย

: พุทธเจดีย์ที่สร้างขึ้นในคันธารราฐ ครั้งพระเจ้ามิลินท์นั้น

 

  ก็เอาแบบอย่างไปจากมัชฌิมประเทศ แต่พวกโยนกเป็น

  ชาวต่างประเทศ ไม่เคยถือข้อห้ามการทำรูปเคารพ

 

  ซํ้า คติศาสนาเดิมของพวกโยนก ก็เลื่อมใสในการสร้าง

 

  เทวรูปสำหรับสักการบูชาอยู่ด้วย เพราะเหตุดังนี้ พวกโยนก

 

  ผู้ไม่ชอบแบบของชาวอินเดีย ที่ทำรูปสิ่งอื่นสมมติ

 

  แทนพระพุทธรูป จึงคิดทำพระพุทธรูปขึ้นในเครื่อง

 

  ประดับเจดีย์สถาน พระพุทธรูปจึงมีขึ้นในคันธารราฐ

 

  เป็นปฐม ฯ

มคธ

: ยานิ หิ พุทฺธเจติยานิ คนฺธารรฏฺเฐ มิลินฺทรชฺชสมเย

 

  กตานิ, ตานิ สพฺพาเนว มซฺฌิมปฺปเทเส

 

  กตพุทฺธเจติยานํ ปฏิมา กมฺมตนฺติ ยาว กตานิ อเหสุํ ฯ

 

  ยสฺมา ปน ปูชนียวตฺถูนํ สกฺการปูชนกรเณ อาณตฺติ

 

  ชมฺพุทีปโต วิเทสิเกหิ โยนกรฏฺฐวาสีหิ

 

  สมฺภาวิตปุพฺพา นาโหสิ, เตสญฺจ โยนกรฏฺฐวาสีนํ

 

  เทวรูปานํ สกฺการปูชนกรเณ นิยโม ปุริมสาสนคติยา

 

  สมฺภาวนีโยว ; ตสฺมา โยนกรฏฺฐวาสี ยถา ชมฺพุทีปวาสีนํ

 

  ยสฺส กสฺสจิ พุทธปาทวลญฺชาทิรูปสฺส

 

  พุทฺธรูปปฏิรูปกภูตสฺส สกฺการปูชนกรเณ

 

  นิยโม โหติ,  เอวมนิจฺฉมานา พุทฺธรูปานิ เจติยฏฺฐานานํ

 

  อลงฺการภูตานิ กาตุํ มนสิกรึสุ ฯ  เอวํ พุทฺธรูป

 

  สพฺพปฐมํเยว คนฺธารรฏฺเฐ ปาตุรโหสิ ฯ

 

(สนามหลวง ๒๕๒๔)

ไทย

: การสังคายนานั้น เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช เริ่มอุปถัมภ์

 

  พระพุทธศาสนา พระภิกษุสงฆ์ในอินเดียยังต่างกันเป็น

 

  ๒ นิกาย คือ เป็นพวกที่ถือลัทธิเถรวาทนิกายหนึ่ง

 

  ถือ ลัทธิอาจริยวาทนิกายหนึ่ง เนื่องจากสาเหตุซึ่งเกิดขึ้น

 

  ครั้งทำทุติยสังคายนาดังกล่าวมาแล้วนั้น แต่เมื่อถึง

 

  สมัยชั้นนี้ยังเกิดลัทธิต่างๆ ในนิกายอันเดียวกัน

 

  นิกายหนึ่งมีลัทธิเรียกชื่อต่างๆ กันกว่าสิบลัทธิ ฯ

มคธ

: อยญฺหิ ตติยสงฺคีตกถา ฯ ยทา กิร อโสโก นาม

 

  ขตฺติโย มหาราชา อาโท พุทฺธสาสนสฺสุปถมฺภนํ

 

  กโรติ,  ตทา ชมฺพุทีปวาสี ภิกฺขุสงฺโฆ เถรวาทนิกายิโก

 

  อาจริยนิกายโก จาติ ทุวิธา วิภาคมาปชฺชิ ฯ

 

  สา หิ ทุพฺพิธสงฺฆนิกายสฺสุปฺปตฺติ ยถาวุตฺตนเยน

 

  ทุติยสงฺคีติกาลโตเยว ปาตุรโหสิ ฯ อถาปรภาเค

 

  ตตฺเถว เอเกกสฺส สงฺฆนิกายสฺส ลทฺธิ ทสุตฺตราปิ

 

  นานานามาหิ ลทฺธีหิ วิภาคมาปชฺชิ ฯ

 

(สนามหลวง ๒๕๓๘)

 

          พึงสังเกตว่าการตีความสำนวนไทยตามตัวอย่างของสนามหลวงข้างต้น มุ่งความชัดเจนในเนื้อหามาก เมื่อแต่งเป็นภาษามคธจึงขยายความออกไปตามสมควร และแยกความออกเป็นประโยคย่อยๆ หลาย ประโยคเพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้น นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการตีความ ในวิชาแต่งไทยเป็นมคธ

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search