หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙

1.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ-ป-ธ-๙ (ตอนที่ 1)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 1)

 

ประโยคในภาษาไทย

          เนื่องจากนักศึกษาจะต้องแต่งภาษามคธจากข้อความภาษาไทย และข้อความนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นข้อความที่เป็นภาษาพูดบ้าง ภาษาเขียนบ้าง มีความสมบูรณ์เต็มรูปไวยากรณ์บ้าง ไม่เต็มรูปบ้าง เพราะภาษาพูดและภาษาเขียนในทุกภาษาย่อมจะไม่คำนึงถึงไวยากรณ์มากนัก ใช้ความนิยมทางภาษาเป็นหลักใหญ่ เพราะฉะนั้นนักศึกษาจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจลักษณะของภาษาไทยเป็นอย่างดีด้วย จึงจะสามารถอ่าน ข้อความที่กำหนดให้แต่งนั้นได้เข้าใจ และสามารถที่จะตีความและจับ ประเด็นเนื้อความ แล้วแต่งให้ตรงกับหลักของภาษามคธได้ โดยที่ไม่เสียความเดิมในภาษาไทย

ในบทนื้จึงจักแสดงลักษณะของประโยคภาษาไทย ซึ่งความจริง ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับประโยคภาษามคธที่ได้แสดงแล้วในบทก่อน

แต่จักแสดงไว้เพื่อประโยชน์แก่การนำมาเทียบเคียงกันให้เห็นเด่นชัด ง่ายต่อการตีความและจับประเด็นเนื้อความ แล้วแต่งเป็นภาษามคธ

ก่อนอื่นนักศึกษาพึงรู้ถึงองคาพยพหรือส่วนประกอบของประโยคภาษาไทยและชื่อเรียกที่ศึกษากันในทางโลกตามสมควร องคาพยพนั้นคือ

  • -บท
  • -วลี
  • -ประโยค

2.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 2)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 2)

 

ประโยค

          ประโยค คือ กลุ่มคำที่มีเนื้อความเกี่ยวเนื่องกันเป็นระเบียบและ มีความสมบูรณ์ในตัว  ประโยคในภาษาไทยกับประโยคในภาษามคธมีหลายลักษณะและหลายชนิดเช่นเดียวกัน เพื่อความแตกฉานและเพื่อเทียบเคียงกัน จักแสดงลักษณะประโยคในภาษาไทยไว้พอสังเขป และจะยกตัวอย่างประโยคภาษามคธคู่กันไปกับประโยคภาษาไทย

 

ชนิดของประโยค

          ประโยคในภาษาไทยแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๓ ชนิด เช่นเดียวกันกับประโยคในภาษามคธ คือ

๑. เอกรรถประโยค

๒. อเนกรรถประโยค

๓. สังกรประโยค

3.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 3)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 3)

 

การแต่งไทยเป็นมคธ

           การที่นักศึกษาจะสามารถแต่งไทยเป็นมคธให้ได้ตามที่สนามหลวง ต้องการ คือให้ได้เนื้อหาตามที่กำหนด ได้อรรถรสทางภาษา และถูกหลักเกณฑ์การแปลไทยเป็นมคธนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ความรู้ความสามารถไม่น้อย เพราะภาษามคธเป็นภาษาที่มีระเบียบ แบบแผนค่อนข้างแน่นอนตายตัว มีความละเอียดอ่อนและสละสลวยอยู่ในตัว ศัพท์ที่ท่านใช้ก็ดี ประโยคที่ท่านใช้ก็ดี มีความหมายอยู่ในตัว หากใช้ผิดไปจะทำให้ความหมายผิดไปด้วย เป็นเรื่องที่จะต้องพิถีพิกันเป็นพิเศษ มิใช่เพียงเขียนให้เป็นประโยคภาษามคธได้ก็ถือว่าใช้ได้ มิใช่เพียงแค่นั้นเลย การนำศัพท์มาเรียบเรียงไว้ในประโยคให้ได้ลูกหลัก ได้อรรถรสและได้ใจความเท่านั้น จึงจะนับว่าแต่งเป็น

          เนื่องจากวิชาแต่งไทยเป็นมคธเป็นวิชาสุดยอดวิชาหนึ่งของการศึกษาภาษามคธในประเทศไทย นักศึกษาจำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการแต่งเป็นอย่างดี แต่ที่สำคัญก็คือความรู้พื้นฐานที่เคยศึกษามาแล้วในชั้นต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชานักธรรมหรือบาลี เพราะจะต้องนำมาใช้ในวิชานี้อย่างเต็มที่และถูกต้อง กล่าวโดยย่อก็คือจะต้องมีความรู้ในเรื่องต่างๆ เหล่านื้ดี คือ

๑. เรื่องไวยากรณ์ ต้องจำแบบไวยากรณ์ได้แม่นยำ นํ้ามาใช้ได้ทันที

๒. เรื่องหลักการเรียงศัพท์เข้าประโยค ซึ่งผ่านมาแล้วในชั้นต้นๆ

๓. เรื่องศัพท์ ความหมายของศัพท์ วิธีใช้ศัพท์ต่างๆ ในประโยค

๔. เรื่องธรรมะ ต้องสามารถจำธรรมะได้มากทั้งหัวข้อและความหมาย

๕. เรื่องอลังการ คือ วิธีการปรุงประโยคภาษาให้สละสลวย กะทัดรัด ได้อรรถรส

          เรื่องเหล่านี้มีความสำคัญ และมีความสัมพันธ์กันตลอดสาย รู้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือขาดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจทำให้เสียได้ เช่น จำศัพท์ได้แม่นยำ แต่ไม่เข้าใจวางศัพท์นั้นในประโยค ก็อาจวางศัพท์ผิดหลัก ทำให้เสียความไป หรือรู้อย่างอื่นทั้งหมด แต่ขาดความรู้ เรื่องอลังการ ประโยคภาษามคธที่แต่งก็มักจะรุงรังซํ้าซ้อน ขาดความ สละสลวย ไม่กระทัดรัด หรือขาดอรรถรสทางภาษาไทย เป็นต้น ดังนั้น จึงจำต้องมีความรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ให้พอๆ กัน เพื่อนำมาใช้ผสมผสานกันไปจนตลอดสายในเวลาแต่งไทยเป็นมคธ

4.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 4)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 4)

 

๒. การตามความ

          ข้อความสำนวนไทยบางส่วนมีความคล้ายคลึงกับสำนวนมคธ สามารถแต่งเป็นสำนวนมคธได้โดยไม่ต้องตัดทอน หรือเพิ่มเติมอีก ข้อความสำนวนไทยที่สามารถตามความได้นั้น โดยมากมักเป็นข้อความที่บรรยายความ คือเล่าเรื่องหรือเดินเรื่องไปเรื่อยๆ เป็นข้อความสั้นๆ มีความชัดเจน ไม่ซับซ้อนมาก หรือเป็นข้อความที่ถ่ายเทมาจากสำนวน ธรรมะหรือสำนวนมคธโดยตรง มิใช่ข้อความที่อธิบายหรือขยายความ ซึ่งมักจะมีประโยคยาวและซับซ้อน เมื่อพบสำนวนอย่างนี้ก็เป็นการสะดวกที่จะแต่งให้เป็นสำนวนมคธ แม้ศัพท์ที่จะใช้ก็หาได้ง่าย  ประโยคก็ไม่ซับซ้อน เป็นเอกรรถประโยคเสียโดยมาก เช่น ข้อความว่า

          “ในที่นั้น มีต้นมะม่วงใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าคงคา มีสาขาอัน งามตระการ บางสาขาก็แผ่ก้านออกไปถึงแม่นํ้าทรงผลอันโอชารสเลิศ ลํ้าเป็นที่น่าปรารถนา บ้างก็หล่นลงในน่านนํ้า”

          สำนวนอย่างนี้สามารถแต่งตามได้โดยไม่ยากนัก เพราะเป็นสำนวนพื้นๆ เมื่อแต่งตามแล้วจะได้ว่า

          ตตฺเถโก มหนฺโต อมฺพรุกฺโข สาขาปตฺตสมฺปนฺโน คงฺคาย ตีเร ปติฏฺฐหิ ฯ ตสฺส สาขาสุ กาจิ นทิยํ ปสาเรสิ ฯ ตสฺส ผลานิ อิฏฺฐานิ กนฺตานิ มธุรานิ หุตฺวา ปตนฺตานิ นทิยมฺปิ ปติ ฯ

(สนามหลวง ๒๕๑๑)

          การตามความไม่มีข้อพิเศษอะไรมาก เพราะเมื่อสำนวนไทยเอื้ออำนวยให้โดยตรง ด้วยมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถแต่งตามสำนวนนั้นได้เลย แม้จะมีตัดแปลงบ้างเล็กน้อย ก็ยังถือได้ว่าแต่งตามความเช่นเดียวกัน พึงดูสำนวนสนามหลวงที่ท่านแต่งไว้เป็นตัวอย่าง ต่อไปนี้เทียบเคียง

5.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 5)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 5)

 

๔. การตัดความ

          สำนวนภาษาไทยที่กำหนดให้แต่งนั้น ในบางตอนอาจมีข้อความ ที่สลับซับซ้อนวกวนบ้าง มีข้อความที่เยิ่นเย้อซํ้าซํ้ากบ้าง มีข้อความที่ซํ้ากับข้อความข้างหน้าบ้าง ถือว่ามีข้อความที่เกินความจำเป็น หากแต่งตามสำนวนภาษาไทยนั้น ก็จะทำให้เยิ่นเย้อและยาวไปโดยไม่ได้สาระอะไรเพิ่มมากนัก ในกรณีอย่างนี้ให้พิจารณาตัดใจความที่เกินไปนั้นออกเสีย เหลือไว้แต่ใจความที่สำคัญและจำเป็น ซึ่งเมื่อขาดไปแล้วจะไม่ทำให้เสียความเท่านั้นก็พอ เช่นข้อความว่า

          “ในเวลาที่พระอาทิตย์อัสดงเย็นวันนี้ ขอให้ท่านจัดข้าวปลาอาหารสำหรับรับประทานให้พร้อมมูลเข้าไว้”

          ข้อความอย่างนี้แม้จะฟังดูไพเราะแต่ก็ซํ้าซาก หากแต่งเป็นภาษามคธไปตามข้อความนี้ จะดูเป็นสำนวน “บาลี-ไทย” ไป ข้อความนี้ อาจตัดให้กระทัดรัดเหลือเพียงว่า “ในตอนเย็นนี้ ขอให้ท่าจัดอาหาร ไว้ให้พร้อมมูล” ก็พอแล้ว เมื่อแต่งเป็นสำนวนมคธก็จะได้ประโยคภาษามคธที่กระทัดรัดและได้ความชัดเจนว่า

: อชฺช สายํ อาหารํ สมฺปาเทหิ ฯ   หรือว่า

: อชฺช สายณฺเห โภชนํ สมฺปาเทหิ ฯ

          ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในเรื่องตัดความ นักศึกษาพึงทราบความนิยมทางภาษาเกี่ยวกับการตัดความ ดังนี้

6.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 6)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 6)

 

การปรุงประโยค

          นักศึกษาได้ทราบมาแล้วว่า การแต่งไทยเป็นมคธนั้นจะต้องอาศัย หลักและวิธีการหลายอย่าง จึงจะสามารถแต่งได้ดี ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ควรจะได้ทราบในเรื่องนี้อีกมาก โดยเฉพาะในเรื่องการปรุงศัพท์ต่างๆ เข้าเป็นประโยค หรือที่รู้กันว่าวิธีการเรียง ศัพท์ในประโยคแต่ละศัพท์หรือแต่ละกลุ่มศัพท์ ยังมีลีลาและแบบแผน เฉพาะตัวอีกต่างหาก ซึ่งศัพท์หรือกลุ่มศัพท์ในลักษณะนี้เมื่อนำมาปรุงเป็นประโยค จะต้องพิถีพิถันให้ถูกต้องตามลีลาแบบแผนทางภาษา มิเช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นมคธไทยหรือไม่ได้อรรถรสทางภาษาของเขาไป

          ข้อนี้จึงจำเป็นต้องนำเรื่องการปรุงประโยคนี้ มาแสดงเพิ่มเติมเป็นพิเศษจากวิธีการแต่งไทยเป็นมคธที่แสดงไว้แล้วในบทก่อน ในบทนี้จักแสดงเฉพาะวิธีการและลีลาแบบแผนการปรุงประโยคบางประโยค

ที่เห็น และพบกันบ่อยในปกรณ์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประโยค แบบ เพราะถือว่ามีแบบแผนที่ค่อนข้างตายตัวแล้ว หากจะแต่งเป็นอย่างอื่นไป แม้จะได้ความหมายตามที่ต้องการ แต่ก็ผิดความนิยมทางภาษา เมื่อผิดความนิยมไปอย่างนี้ก็ถือว่าแต่งผิดไม่เป็นที่ยอมรับ ของผู้รู้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นนักศึกษาจำต้องทราบความนิยมทางภาษาเช่นนี้ไว้ด้วย เพื่อจะได้ชื่อว่าเป็นนักแต่งไทยเป็นมคธที่ดี และรักษาแบบแผนไว้ได้ โดยจะแสดงประโยคเช่นนี้เป็นประโยคๆ ไป

7.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 7)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 7)

 

ประโยคกาลาติปัตติ

         ในกรณีที่สำนวนไทยมีข้อความซึ่งนำเรื่องราวความเป็นไปที่ล่วง เลยมาแล้วมาเล่า หรือมาพรรณนาใหม่ เป็นการกล่าวเรื่องย้อนหลัง ในอดีต แต่เรื่องที่เล่าหรือพรรณนานั้นมิได้มีหรือมิได้เกิดขึ้นตามนั้น เป็นเพียงสมมติเอาว่าถ้าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะมีหรือได้อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ให้ปรุงประโยคเป็นรูปกาลาติปัตติ คือให้มิกิริยาหมวดกาลาติปัตติคุมพากย์ เช่น ข้อความว่า

  • - ถ้าผมขยันเรียนหนังสือมาเรื่อยๆ ผมคงสอบประโยค ป.ธ.๙ ได้ไปนานแล้ว ฯ
  • - เขาคงเป็นเศรษฐีร้อยล้านไปแล้ว ถ้าเขารู้จักกิน รู้จักใช้เงินทองที่ได้มา ฯ

          ข้อความนี้เป็นการตั้งสมมติฐานเอาว่า ถ้าขยันเรียนก็คงสอบได้ แล้ว ซึ่งแสดงว่าความจริงไม่ได้ขยันเรียน และยังสอบไม่ได้ หรือสมมติเอาว่า ถ้ารู้จักกินรู้จักใช้ ก็คงเป็นเศรษฐีไปแล้ว แสดงว่าปัจจุบันเขาไม่ได้เป็นเศรษฐีอย่างที่ว่า

          ในการปรุงประโยคกาลาปัตตินี้ มีเกณฑ์ความนิยม ดังนี้

 

          ๑. ข้อความนั้นจะต้องเป็นข้อความที่ผ่านเลยมาแล้ว แต่ถูกนำมา เล่าใหม่โดยมีข้อแม้หรือเหมือนมีข้อแม้อยู่ด้วย และจะต้องมีเนื้อความเป็นสองตอน ในแต่ละตอนนั้นเนื้อความจะตรงข้ามกับเรื่องจริงเสมอ และจะต้องมีข้อความที่แสดงว่าผ่านเลยมาแล้วปรากฏอยู่ในอีกตอน หนึ่งเสมอ

          ๒. ปรุงประโยคภาษามคธให้เป็นสองประโยค โดยประโยคที่บอก ความที่ผ่านเลยมาแล้ว ให้มีกิริยาหมวดกาลาปัตติคุมพากย์ และมีนิบาตบอกปริกัป คือ ยทิ สเจ หรือ เจ หรือมีนิบาตอื่นที่ทำหน้าที่คล้ายนิบาตบอกปริกัปอยู่ต้นประโยค ซึ่งแล้วแต่เนื้อความ ส่วนอีกประโยค หนึ่งจะมีกิริยาหมวดกาลาปัตติ หมวดภวิสสันติ หรือหมวดอื่นใด คุมพากย์ก็แล้วแต่เนื้อความเช่นกัน

         

          พึงทำความเข้าใจโดยศึกษาจากตัวอย่าง ดังนี้

 

- สจายํ ปุริโส อิตฺตรสตฺโต อภวิสฺส น อมฺหากํ อาจริโย เอวรูปํ อุปมํอาหริสฺสติ ฯ (๑/๑๐๒)

(เรื่องจริง บุรุษนี้ไม่ได้ตํ่าต้อย และอาจารย์นำอุปมามาพูด)

 

- สเจหิ เตน ปิตา ฆาติโต นาภวิสฺส, ตสฺมึเยวาสเน โสตาปนฺโน อภวิสฺส ฯ (มงฺคล ๑/๔๒)

(เรื่องจริง พระเจ้าอชาติศัตรูปลงประชนม์พระราชบิดา และ มิได้เป็นโสดาบัน)

 

- ภิกฺขเว สจายํ เอกสาฏโก ปฐมยาเม มยฺหํ ทาตุํ อสกฺขิสฺส, สพฺพโสฬสกํ อลภิสฺส ; สเจ มชฺฌิมยาเม ทาตุํ อลภิสฺส, สพฺพฏฺฐกํ อลภิสฺส ฯ (๕/๔)

(เรื่องจริง จูเฬกสาฎกพราหมณ์ใม่ได้ถวายในปฐมยามหรือ ในมัชฌิมยามและไม่ได้ของอย่างละ ๑๖ หรือ ๘)

 

- รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส, นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย ฯ

(เรื่องจริง รูปไม่ได้เป็นอัตตาและเป็นไปเพื่ออาพาธ)

 

- สเจ ปนานนฺท นาลภิสฺส มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺม­วินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชํ, จิรฏฺฐิติกํ อานนฺท พรหฺมจริยํ อภวิสฺส ; วสฺสสหสฺสํ สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย ฯ (วิ.มหา. ๒/๕๑๘/๓๒๖)

 

- โส จ หิ เต มหานาม ธมฺโม อชฺฌตฺตํ ปหีโน อภวิสฺส, น ตฺวํ อคารํ อชฺฌาวเสยฺยาสิ น กาเม ปริภุญฺเชยฺยาสิ ; ยสฺมา จ โข เต มหานาม โส เจว ธมฺโม อชฺฌตฺตํ อปฺปหีโน, ตสฺมา ตฺวํ อคารํ อชฺฌาวสฺสิ กาเม ปริภุญฺชสิ (ม.มู. ๑๒/๒๑/๑๗๙)

 

                ข้อสังเกต เรื่องที่นำมาเล่าใหม่ แม้เป็นเรื่องที่ล่วงมาแล้วและมีข้อแม้อยู่ แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง เป็นไปอย่างนั้นจริงก็ไม่เข้าลักษณะประโยคกาลาติปัตติ ต้องแต่งไปตามปกติธรรมดา เช่น

 

ไทย

: ถ้าเขาทำงานนั้นเสร็จแล้ว เขาก็ไปธุระที่อื่นได้ ฯ

มคธ

: สเจ หิ โส กมฺมนฺโต เตน นิฏฐาปิโต อภเวยฺย,

 

  โส อญฺญตฺถ กิจฺจํ กาตุํ ลภติ ฯ (ประโยคปกติ)

ไม่ใช่

: สเจ หิ โส กมฺมนฺโต เตน นิฏฐาปิโต อภวิสฺส, โส

 

  อญฺญตฺถ กิจฺจํ กาตุํ อลภิสฺส ฯ

 

  (เป็นประโยคกาลาติปัตติที่ผิดความ ประโยคนี้จะมี

 

  ความหมายว่า เขามิได้ทำงานเสร็จและเขาไม่ไปธุระที่อื่น)

ไทย

: แต่เติมข้าพเจ้าเข้าใจว่า เรื่องนี้เกิดที่ประเทศพม่า

 

  เป็นครั้ง แรก แต่ที่จริงเกิดที่ประเทศไทยนี่เอง ฯ

มคธ

: อิโต ปุพฺเพ มยฺหํ อภินิเวโส อโหสิ “อิทํ การณํ

 

  สพฺพปฐมํ มรมฺมรฏฺเฐ ฯ อุปฺปนฺนํ, อถโข ทยฺยรฏฺเฐเยว

 

  อุปฺปนฺนํ โหตีติ ฯ (ประโยคปกติ)

ไม่ใช่

: อิโต ปุพฺเพ มยฺหํ อภินิเวโส อโหสิ “อิทํ การณํ

 

  สพฺพปฐมํ มรมฺมรฏฺเฐ อุปฺปนฺนํ อภวิสฺส, อถโข

 

  ทยฺยรฏฺเฐเยว อุปฺปนฺนํ อโหสีติ ฯ

 

   (ประโยคกาลาติปัตติที่ผิดหลัก)

 

          เรื่องประโยคกาลาติปัตตินี้ นักศึกษาจำต้องศึกษาและทำความ เข้าใจให้ถ่องแท้ จึงจะสามารถจับใจความและแต่งให้ถูกหลักทางภาษา ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือศึกษาและทำความเข้าใจจากตัวอย่างที่มีอยู่ในปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ท่านแต่งและใช้กันมาแต่โบราณ หรือจากพระไตรปิฎกโดยตรง ก็จะได้แบบที่ถูกต้องถือเป็นตัวอย่างได้

8.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 8)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 8)

 

ประโยค หิ นาม

           “ประโยค หิ นาม” หรือที่โบราณเรียกชื่อเต็มว่า “ประโยค ภวิสสันติ หิ นาม” ถือว่าเป็นประโยคพิเศษในภาษามคธ เพราะมีลักษณะการปรุงประโยคผิดไปจากประโยคทั่วไป กล่าวคือ ประโยคที่มี หิ นาม วางไว้ต้นประโยค นิยมปรุงกิริยาคุมพากย์ในประโยคนั้นเป็น รูปภวิสสันติวิภัตติ แม้ว่าเนื้อความจะไม่บ่งบอกว่าเป็นอนาคต แต่เวลาแปลจะต้องแปลเป็นอดีต คือแปลเป็นอัชชัตตนวิภัตติ

          ประโยค หิ นาม จึงถือว่าเป็นประโยคพิเศษในภาษามคธที่น่าจะต้องศึกษาให้รู้ เมื่อเห็นรูปประโยคแบบนี้เข้าจะได้แปลได้ถูกและได้ใจความตามที่ต้องการ ประโยค หิ นาม นี้ มีที่ใช้มากในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในพระวินัยปิฎก แม้ในปกรณ์อื่นๆ ก็มีใช้ทั่วไป ตัวอย่างเช่น

: กถํ หิ นาม อายสฺมา ธนิโย กมฺมารปุตฺโต รญฺโญ ทารูนิ อทินฺนํ อาทิยิสฺสติ ฯ (วิ.มหา. ๑/ ๘๓/ ๘๒)

 : ปณฺฑิโต ภิกฺขเว อานนฺโท มหาปญฺโญ ภิกฺขเว อานนฺโท ยตฺร หิ นาม มยา สงฺขิตฺเตน ภาสิตสฺส วิตฺถาเรน อตฺถํ อาชานิสฺสติ ฯ (มฺงคล. ๑/ ๑๓๐/ ๑๕๐)

: เตสํ หิ นาม ภิกฺขเว ราชูนํ อาทินฺนทณฺฑานํ อาทินฺนสตฺถานํ เอวรูปํ ขนฺติโสรจฺจํ ภวิสฺสติ (๑/๕๔)

 

          ประโยค หิ นาม ที่ไม่เป็นไปตามความนิยมนี้ คือมีกิริยาเป็น อัชชัตตนีวิภัตติตามปกติ เท่าที่เห็นมีเพียง ๒ ที่เท่านั้น และเป็นข้อความเดียวกัน คือ

: สตฺถาปิ เอวํ อตีตํ อาหริตฺวา ภิกฺขู โอวทนฺโต เต หิ นาม ภิกฺขเว ติรจฺฉานคตา อญฺญมญฺญํ สคารวา สปฺปติสฺสา วิหรึสุ ฯ

(อรรถกถาชาดก เอกนิบาต และ มงฺคล. ๒/ ๒๘๔/ ๒๑๕)

 

          เพาะฉะนั้น ขอให้นักศึกษาผู้จะแต่งไทยเป็นภาษามคธ โดยใช้ ประโยค หิ นาม พึงถือเอาความนิยมที่เป็นไปโดยมากเป็นดีที่สุด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นภูมิปัญญาของผู้แต่ง ว่าเข้าถึงหลักภาษามคธ อย่างไรแค่ไหน

9.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 9)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 9)

 

ประโยค ย ต

          ความจริงประโยค ย ต หรือที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า สังกรประโยคนี้ นักศึกษาได้ศึกษากันมาและมีความเข้าใจกันพอสมควรแล้ว แต่ก็เป็นไปในลักษณะตามแบบ คือ เข้าใจและจำได้ตามแบบเท่านั้น เมื่อ คิดแต่งเองโดยที่ไม่เคยเห็นแบบมาก่อน ย่อมจะมีความลำบากพอสมควรเพราะจะต้องตีความให้แตก แยกประเด็นเนื้อความให้ออกก่อน ว่าตอนใดควรจะแต่งรูปประโยค ย ต ตอนใดไม่ควร เพราะไม่จำเป็น ดังนั้น จึงแยกมากล่าวไว้โดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง

          ขอให้นักศึกษาพลิกกลับไปทบทวนเรื่องสังกรประโยค ทั้งในภาษามคธและในภาษาไทยที่แสดงไว้แล้วในบทต้นๆ ให้เข้าใจให้ดีก่อน เพื่อจะได้ทำความเข้าใจในเรื่องการปรุงประโยค ย ต ตรงกัน กล่าวคือ ประโยค ย ต หรือสังกรประโยคนี้ ประกอบด้วยส่วนของประโยค ๒ ประโยค คือ ประโยค ย เรียกว่าอนุประโยค หรือประโยคย่อย ทำหน้าที่ขยายความ คล้ายกับเป็นวิเสสนะของบทที่ตนขยาย และประโยค ต เรียกว่า มุขยประโยค หรือประโยคใหญ่ ทำหน้าที่เป็นประโยคประธาน ในการตีความและปรุงแต่งให้เป็นประโยค ย ต ต้องอาศัยความชำนาญ และความเข้าใจในภาษาไทยและภาษามคธรวมกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความที่กำหนดให้แต่งด้วย นักศึกษาพึงยึดหลักเบื้องต้น ดังนี้

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search