การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี

การศึกษาในยุคนี้ แรกๆ ถูกปล่อยปละละเลย ต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ทรงเห็นพระพุทธศาสนาถูกลัทธิภายนอกย่ำยีประชาชนมัวเมาหลงใหลเห็นผิดเป็นชอบจึงทรงรับอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ทรงโปรดจัดการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นเหมือนครั้งสุโขทัย ให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรม นับว่าเป็นการสอบไล่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย

ต่อมากรุงศรีอยุธยาแตกพ่าย ถูกพม่าทำลายวัดวาอารามและเผาคัมภีร์พระไตรปิฎกไปด้วย พระภิกษุสงฆ์แตกกระจัดกระจายหนีภัยสงคราม ภายหลังเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชครองกรุงธนบุรีแล้ว ทรงใส่พระทัยพัฒนาการพระพุทธศาสนา รวบรวมอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ให้ให้มาอยู่รวมกันอีกครั้งหนึ่ง ทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์ แลสถาปนาพระอารามขึ้นหลายแห่ง ให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนคันถธุระ และวิปัสสนาธุระพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกวาระหนึ่ง

หลักสูตรการศึกษา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้คณะสงฆ์อาภารธุระในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง โดยกำหนดหลักสูตร เวลาเรียน การประเมินผล และฐานะของผู้สอบไล่ได้อย่างชัดเจน ได้ใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นหลักสูตร โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น ๓ ชั้น หรือ ๓ ประโยค ดังนี้

  1. บาเรียนตรี ต้องแปลจบพระสูตร
  2. บาเรียนโท ต้องแปลจบพระสูตรและพระวินัย
  3. บาเรียนเอก ต้องแปลจบพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม

ผู้เรียนจบบาเรียน ตรี-โท-เอก “มหาบาเรียนบาลี” โดยใช้อักษรย่อ บ.บ.

สถานศึกษา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ การเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ใช้บริเวณพระบรมมาราชวังเป็นหลัก ส่วนวัดต่างๆ ได้แก่ พระมาหากษัตริย์บ้างราชบัณฑิตบ้าง พระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกบ้าง

การวัดผลการศึกษา

เริ่มแรกผู้เรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ (หลักของภาษา) ใช้เวลาประมาณ ๒-๓ ปี จึงเรียนแปลพระไตรปิฎกที่จารึกในใบลานเป็นหนังสือแบบเรียน เมื่อมีความรู้ความสามารถในการแปลได้ดีแล้ว ครูบาอาจารย์และเจ้าสำนักก็จะกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงกราบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศการสอบไล่ความรู้ของพระภิกษุสามเณร เรียกว่า “สอบสนามหลวง” แปลว่าเป็นการสอบในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงยกย่องผู้สอบได้ให้มีสมณศักดิ์ “มหา” นำหน้าชื่อ แล้วพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะ เป็นเกียรติแก่พระพุทธศาสนาสืบไป

สถานที่สอบใช้พระบรมมหาราชวังเป็นที่สอบและใช้ระยะเวลาเรียน ๓ ปี จึงมีการสอบ ๑ ครั้ง

วิธีสอบ

เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงประกาศให้มีการสอบพระปริยัติธรรมขึ้นแล้ว พระมหาเถระและราชบัณฑิตทั้งหลายก็แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นโดยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นประธาน การสอบแปลผู้สอบต้องต้องจับสลากตามที่คณะกรรมการกำหนดให้ถ้าจับได้ผูกใดก็แปลผูกนั้น โดยเริ่มจากพระสูตรก่อน ต้องแปลปากเปล่าต่อหน้าคณะกรรมการผิดศัพท์หรือประโยชน์ได้เพียง ๓ ครั้ง ถ้ากรรมการทักท้วงเกิน ๓ ครั้ง ถือว่าตก ถ้าแปลได้คล่องเป็นที่พอใจไม่มีการทักท้วงถือว่าสอบได้ในประโยคนั้นๆ เมื่อผ่านพระสูตร ก็ให้เกียรติคุณเป็น “บาเรียนตรี” เรียนพระวินัยปิฎกต่อไปอีก ๓ ปี สอบผ่านก็เป็น “บาเรียนโท” จากนั้นศึกษาพระอภิธรรมปิฎกอีก ๓ ปี สอบผ่านก็ได้เป็น “บาเรียนเอก”


หนังสืออ้างอิง : ประวัติการศึกษาคณะสงฆ์ ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์เมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๒๗





 


46858656
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
8730
32297
8730
46606637
344994
1172714
46858656

Your IP: 44.220.255.141
2024-11-10 09:10
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search