ประวัติการศึกษาการของคณะสงฆ์

การศึกษาสมัยพุทธกาล

การศึกษาของคณะสงฆ์สมัยพุทธกาลศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงบ้าง  จากพระอรหันตสาวกบ้าง  แล้วท่องจำไว้ด้วยปาก (มุขปาฐะ) นี้เป็นการเรียนหลักธรรมเรียกว่า คันถธุระ เรียนแล้วนำไปปฏิบัติเรียกว่า วิปัสสนาธุระ ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จดับขันปรินิพพานแล้ว พระสงสาวกได้ประชุมกันทำสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยไว้เป็นหมวดหมู่ มี ๓ หมวด คือ

การศึกษาสมัยล้านนาไทยและสุโขทัย

การศึกษาสมัยนี้ พระภิกษุเป็นผู้บริหารและจัดการศึกษา คือเป็นครูผู้สอนกันเอง สมัยพ่อขุนรามคำแหง การปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายคามวาสีและฝ่ายอรัญญวาสี ทรงส่งเสริมให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก แม้พระองเองก็ทรงสั่งสอนประชาชนตามหลักธรรมเช่นกัน

การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี

การศึกษาในยุคนี้ แรกๆ ถูกปล่อยปละละเลย ต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ทรงเห็นพระพุทธศาสนาถูกลัทธิภายนอกย่ำยีประชาชนมัวเมาหลงใหลเห็นผิดเป็นชอบจึงทรงรับอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ทรงโปรดจัดการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นเหมือนครั้งสุโขทัย ให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรม นับว่าเป็นการสอบไล่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย

การศึกษาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ยุครัชกาลที่ ๑-๔

หลังจากสร้างกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์แล้ว พระมหากษัตริย์ก็ทรงใส่พระทัยถึงการพระศาสนา ทรงแก้ไขปัญหาต่างๆเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.๒๓๓๑ ทรงปรารภที่จะสังคายนาพระไตรปิฎก จึงทรงอาราธนาพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และราชบัณฑิตเป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก จารึกเป็นอักษรขอมขึ้น ใช้เวลา ๕ เดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ เป็นจำนวน ๕๓๔ คัมภีร์ คือ พระวินัย ๘๑ คัมภีร์ พระสูตร ๑๑๐ คัมภีร์ พระอภิธรรม ๖๑ คัมภีร์ และสัททวิเสส ๕๐ คัมภีร์ เป็นหนังสือใบลาน ๓๖๘๖ ผูก เรียกชื่อว่า ฉบับทองใหญ่ ต่อมาทรงโปรดให้สร้างอีก ๒ ฉบับ คือ ฉบับรองทรง มีจำนวน ๓๐๕ คัมภีร์ เป็นหนังสือใบลาน ๓,๖๔๙ ผูก และฉบับทองชุบ มีเพียง ๓๕ คัมภีร์ ทั้ง ๓ ฉบับเป็นแม่แบบในการพิมพ์ครั้งต่อมา

การศึกษายุคปัจจุบัน

ปัจจุบันการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีแม่กองบาลีสนามหลวงเป็นผู้รับผิดชอบแบ่งเป็น ๙ ชั้น เหมือนครั้งตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา และจะถือว่าเป็น “เปรียญธรรม” ได้ก็ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยค ถึง ๙ ประโยค และผู้ที่สอบได้ ถ้าเป็นพระก็ได้เป็นมหาให้เรียกคำว่า “พระมหา” นำหน้าชื่อ   สมัยก่อนผู้สอบได้ ป.ธ. ๓ พระมหากษัตริย์พระราชทานพัดยศเอง แต่ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะ ป.ธ. ๖ และ ป.ธ. ๙ ส่วนป.ธ. ๓ ทรงมอบให้สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพัดยศแทน

บาลี ภาษาแห่งพุทธะ

 

ผู้เขียน : ยอดชาวไร่

ว/ด/ป : 30 ธันวาคม 2561

บาลี ภาษาแห่งพุทธะ

 

          ภาษาบาลี หรือ ภาษามคธ เราอาจเคยได้ยินจนคุ้นหู เพราะเป็นชื่อเมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แม้สมัยนี้ก็ยังปรากฎชื่อเมืองนี้อยู่ในอินเดีย 
          เล่ากันมาว่าในชมพูทวีป (อินเดีย) มี 2 ชนชาติ คือ ชาวอริยกะและชาวมิลักขะ ชาวอารยันหรืออริยกะ ได้เข้ายึดครองอินเดียก่อนพุธทกาลราว 1500 ปี ชาวอารยันพวกเขาถือว่าตนเป็นชนชาติที่เจริญแล้วมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรมและภาษาเป็นของตนเอง 
          โดยชาวอารยันมีถิ่นที่อาศัยเดิมก่อนเข้ายึดครองอินเดีย แถบประเทศอิหร่าน คือเป็นพวกแขกขาวนั้นเอง ดังนั้นเราจะเห็นคนอินเดียในปัจจุบัน มีทั้งแขกขาวและแขกผิวสีพวกดาราผิวขาวส่วนมากจะมีเชื้อสายอารยัน
          ทีนี้ขอพูดถึงภาษาของชาวอารยันใช้กันบ้างนะครับ ภาษาที่ชาวอารยันใช้กัน คือ ภาษาสันสกฤต संस्कृता वाक् หน้าตาอักษรของภาษาสันสฤตก็ประมาณนี้ครับ สันสกฤต แปลว่า กลั่นกรองแล้ว เป็นภาษาที่กลั่นกรองแล้ว เป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกอีกอย่าง คือ ภาษาพระเวท ชนชั้นสูง เช่น พวกพราหมณ์เท่านั้น ที่จะได้ศึกษาคัมภีร์พระเวท กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี พวกชนชั้นสูงเกรงว่า ภาษาของตนจะปนเปื้อนถูกนำไปใช้ กลัวว่าจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้คิดหลักไวยากรณ์ขึ้นมา โดยฤษีตนหนึ่ง นามว่า ปาณีนิ ได้แต่งคัมภีร์ ชื่อ อัษฏาธยายี ขึ้น ก่อนสมัยพุทธกาล ราว100-200 ปี
          ต่อจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จอุบัติขึ้นในเมืองกบิลพัสด์ุ แคว้นสักกะ (เนปาล) และทรงออกผนวชที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงตรัสรู้หลังจากนั้น ๖ ปี ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี เมื่อได้ตรัสรุ้แล้ว พระพุทธองค์ทรงเลือกที่จะแสดงธรรมด้วยภาษามคธ อันเป็นภาษาราชการในแคว้นมคธ ซึ่่งแคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นมหากษัติรย์ปกครองเมือง เป็นเมืองมหาอำนาจทั้งด้านการทหารและด้านเศษฐกิจในอินเดียสมัยนั้น
          พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนนับตั้งแต่ไปโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ทรงแสดงปฐมเทสนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ด้วยภาษามคธ เช่นกัน
          ภาษามคธก็มีวิวัฒนาการทางด้านไวยากรณ์ มาพร้อมๆ กับภาษาสันสกฤต มีแบบแผนที่คล้ายคลึงกัน บางอาจารย์ก็ว่า ภาษามคธมาจากสันสกฤต บ้างก็ว่าเกิดพร้อมกัน แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดสรุปไว้แน่ชัด และมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เรียกว่า มาคธีบ้าง มาคธิกาบ้าง แต่มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ มีคัมภีร์ทางไวยากรณ์ ชื่อ ปทรูปสิทธิ เป็นคัมภีร์ค่อนข้างโบราณมากๆ ท่านได้เเสดงพระคาถาไว้ว่า
 
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search