หลักการแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.4-9

31.บทที่ ๖ การแปลงประโยคและการล้มประโยค (การล้มประโยคโดยวิธีขยายประโยค)

 

การล้มประโยค โดยวิธีขยายประโยค

          เนื้อความไทยในบางประโยคอาจขยายเป็น ๒ ประโยค ในภาษา มคธได้ โดยวิธีแยกตอนใดตอนหนึ่งออกมาตั้งประโยคใหม่ มีบทประธาน บทกิริยาครบถ้วน เป็นประโยคโดยสมบูรณ์ การทำเช่นนี้ เรียกว่า ล้มประโยคโดยวิธีขยายประโยค ซึ่งก็ได้แก่การเพิ่มประโยค ย ต เข้ามานั่นเอง

          เนื้อความที่อาจขยายประโยคได้ ได้แก่ เนื้อความของบทที่มีบทขยายอยู่ เช่น ขยายประธาน ขยายกิริยา ขยายกรรม เป็นต้น บทขยายเหล่านี้อาจนำมาสร้างเป็นประโยคใหม่ซ้อนขึ้นมา โดยวิธีเพิ่ม ย ไว้ต้นประโยค และเพิ่ม ต ไว้ประโยคท้ายเท่านั้น ส่วนจะมีรูป ย ต เป็นอย่างไรนั้น ก็แล้วแต่เนื้อความในตอนนั้นจะบ่ง

ขอให้ดูตัวอย่างจากประโยคภาษาไทยก่อน เช่น ประโยคว่า

: นายแดงผู้กำลังป่วยหนักได้รับการรักษาอย่างดี

อาจแยกเป็น ๒ ประโยคได้ว่า

(๑) นายแดงกำลังป่วยหนัก

(๒) นายแดงได้รับการรักษาอย่างดี

 

: พระภิกษุดำได้ทำกรรมอันหนักซึ่งทำได้ยาก อาจแยกเป็น ๒ ประโยคได้ว่า

(๑) พระภิกษุดำได้ทำกรรม

(๒) กรรมอันหนักซึ่งทำได้ยาก

 

ดูประโยคภาษาไทยกับภาษามคธเปรียบเทียบกัน

        : บุคคลผู้ทำบาปกรรมไว้มาก ย่อมไปสู่ทุคติ

: พหุํ ปาปกมฺมํ กโรนฺโต ทุคฺคติ คจฺฉติ ฯ

(๑) บุคคลทำบาปกรรมไว้มาก

         (โย) พหุํ ปาปกมฺมํ กโรติ ฯ

(๒) บุคคลย่อมไปสู่ทุคติ

         (โส) ทุคฺคต คจฺฉติ ฯ

 

: ข้าพเจ้าจะให้สิ่งที่ท่านต้องการทุกอย่าง

: สพฺพํ ตยา อิจฺฉิตํ ทมฺมิ ฯ

(๑) ข้าพเจ้าจะให้ทุกสิ่งทุกอย่าง

(ตํ) สพฺพํ ทมฺมิ ฯ

(๒) สิ่งที่ท่านต้องการ

(ยํ) ตยา อิจฺฉิตํ ฯ

เมื่อกลับแล้วจะเป็น ยํ ตยา อิจฺฉิตํ, ตํ สพฺพํ ทมฺมิ ฯ ต่อไปนี้จักแสดงวิธีการโดยละเอียด

 

32.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้คำ)

 

บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ

          ในวิชาแปลไทยเป็นมคธชั้นต้นๆ ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับท้อง นิทาน มีวิธีการเรียงศัพท์การใช้ศัพท์ ตลอดจนกระทั่งการเดินประโยค ตามปกติธรรมดาแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนมากนัก เพียงจำศัพท์และระเบียบ การเรียงได้ ก็พอจะเรียงให้มีรูปประโยคที่ถูกต้องได้ แต่ในชั้นประโยคสูงๆ วิชานี้จะเพิ่มความยากขึ้น ทั้งนี้เพราะมิได้แต่งเรื่องที่เป็นนิทาน แต่แต่งอธิบายความ ขยายความ หรือที่เรียกกันในหมู่นักศึกษาบาลีว่า “ประโยคแก้อรรถ” ซึ่งมีทั้ง “แก้คำ” และ “แก้ความ” มีเหตุมีผลอยูในตัวเสร็จ แถมยังมี “การไขความ” เป็นทอดๆ ไปอีก ทั้งการเดินประโยค ก็ซับซ้อนวกวนยิ่งขึ้น มีประโยคสังกร (ประโยค ย ต) มากขึ้น

          ดังนั้น นักศึกษาส่วนมากจึง “กลัว” วิชานี้กัน ทั้งที่ความจริงก็ใช้ หลักเกณฑ์ต่างๆ ตามที่เคยศึกษามาแต่ชั้นต้นๆ เหมือนกัน จะต่างกันนิดหน่อยก็ตรงที่ประโยคอธิบายความเช่นนี้ มักจะซับซ้อนและมีประโยคยาวขึ้นเท่านั้น

          อนึ่ง ถ้านักศึกษา “เป็น” ในวิชาแปลไทยเป็นมคธในชั้นต้นๆ มาดีแล้ว ก็จะสามารถแปลไทยหรือแต่งไทยเป็นมคธในชั้นสูงๆ ได้โดยไม่ยากนัก เท่าที่สังเกตดูใบตอบของนักเรียนชั้นสูงๆ ที่ตอบในสนามหลวง มักจะแสดงถึงความไม่ค่อย “เป็น” ในกระบวนการแปลไทยหรือแต่งไทยเป็นมคธนัก ไม่ใช่ผิดศัพท์ ไม่ใช่ผิดประโยค แต่ใช้ศัพท์ผิดบ้าง วางศัพท์ผิดบ้าง ใช้สํานวนภาษาผิดบ้าง ใช้กาลผิดบ้าง ใช้ลิงค์ วจนะ วิภัตติผิดบ้าง ใช้นิบาต ใช้ปัจจัย เช่น โต ตฺตา ตา ปัจจัยผิดบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าให้ผิด แต่ก็ทำผิดไป อันแสดงถึงความไม่รู้ไม่เข้าใจ เป็นส่วนสำคัญ ที่ผิดเพราะเผลอก็มีบ้าง ผิดเพราะเข้าใจผิดก็มีบ้าง แต่ผิดเพราะไม่รู้เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดายว่าในชั้นสูงๆ ไม่น่าจะ ผิดเช่นนั้น แม้บางครั้งจะไม่ผิดรุนแรง แต่ก็เสียภูมิมากอยู่ อาจทำให้ เสียคะแนนโดยใช่เหตุ

          ในบทที่ว่าด้วยการเรียงประโยคอธิบายความบทนี้ จึงจักแสดง ข้อปลีกย่อยที่สังเกตเห็นได้จาก “ผิด” ที่นักศึกษา “ทำ” ไว้เพื่อเป็นแนวทาง ให้เป็น “ถูก” ต่อไปในกาลข้างหน้า โดยจะเน้นเฉพาะอย่างเฉพาะเรื่อง ไป คือ

33.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 1

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 1)

          การแก้ความ ก็คือการอธิบายความโดยยกบทตั้งขึ้นแสดงเพียงบทเดียว แล้วอธิบายความคลุมไปถึงบทอื่นๆ ด้วยอย่างหนึ่ง กับยกบทตั้งขึ้นอธิบายความไปทีละบท จนหมดกระแสความอย่างหนึ่ง

          ในการอธิบายความนั้น อาจมีเนื้อความเพียงประโยคเดียว หรือ สองประโยคหรือกว่านั้น หรืออาจมีประโยค ย ต เข้ามาแทรก เพื่อให้ เนื้อความกระจ่างขึ้น อาจมีประโยคอุปมาอุปไมย มีข้อความเปรียบเทียบ เข้ามาแสดงร่วมด้วย ซึ่งในลักษณะเช่นนี้แหละที่ทำให้เกิดความสับสน หรือความเข้าใจผิดขึ้นได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเป็นการยากที่จะประกอบศัพท์และวางศัพท์ให้ถูกหลักเกณฑ์วิธีการได้ ในที่นี้จักชี้แจงพอเป็นข้อสังเกต และพอเป็นแนวทาง ดังนี้

34.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 2

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 2)

          (๓) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบเป็นประโยคอุปมาอุปไมย ซึ่งมี สำนวนไทยว่า “เปรียบเหมือน, เหมือน, ดังเช่น, เปรียบดัง” เป็นต้น มีข้อความที่ควรศึกษาและคำนึงถึงหลายประการ เช่น

๓.๑ จะใช้ศัพท์อะไรให้ตรงกับสำนวนไทยนั้น ในบรรดาศัพท์ เหล่านี้ คือ อิว วิย ยถา ยถาตํ ยถา-ตถา เสยฺยถาปิ

๓.๒ ต้องเข้าใจความหมายในประโยคว่า เป็นการเปรียบเทียบอะไร เปรียบทำนองไหน เปรียบกับบทไหนในประโยค

๓.๓ ต้องประกอบกับศัพท์อย่างไร แล้ววางไว้ตรงไหนใน ประโยค

๓.๔ จะต้องใส่ศัพท์เต็มประโยคหรือควรละศัพท์ใดไว้ ไม่ต้องใส่เข้าไป แต่สามารถรู้ได้ว่าได้ละศัพท์ใดไว้

          ในปกรณ์ทั้งหลาย ที่มีการเปรียบเทียบเช่นนี้ท่านมีวิธีใช้ศัพท์และ วางศัพท์ไม่แน่นอนตายตัวว่าจะต้องเป็นศัพท์นี้เท่านั้น หรือจะต้องวางไว้ ตรงนั้นเท่านั้น ใช้อย่างอื่นเป็นผิด แต่เมื่อท่านใช้ไว้แล้ว ก็สามารถรู้ ความหมายได้ทันที ดังนั้น จึงไม่อาจวางกฎระเบียบที่ตายตัวลงไปได้ใน เรื่องนี้ แต่ก็พอชี้แจงเป็นแนวทางได้ ดังต่อไปนี้

35.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 3

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 3)

 

๓. ในประโยคอธิบายความ...

          ในประโยคอธิบายความ หากมีบทอุปมา แล้วมีเรื่องเล่า (นิทาน) ตามบทอุปมานั้นมาด้วย นิยมเรียงบทอุปมานั้นไว้ท้ายกิริยาคุมพากย์ ส่วนนิบาตอุปมาโชตกนั้น ท่านใช้ทั้ง วิย ยถา ยถาตํ และ เสยฺยถา ใช้ได้ทั้งหมด แปลกแต่ว่า

: วิย วางไว้ต้นประโยคไม่ได้ ต้องวางไว้ท้ายประโยค

: ยถา วางไว้ต้นหรือท้ายประโยคก็ได้

: ยถาตํ และ เสยฺยถา วางไว้ต้นประโยค

36.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 4

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 4)

 

(๔) ในกรณีที่การแก้ความเป็นรูปวิเคราะห์...

          ในกรณีที่การแก้ความเป็นรูปวิเคราะห์โดยมีสำนวนไทยว่า “เพราะว่า, เพราะอรรถว่า, เพราะวิเคราะห์ว่า” แล้วพิมพ์ข้อความต่อไป โดยเว้นวรรคไว้ เช่น “ชื่อว่ามงคล เพราะอรรถว่า เป็นเหตุถึง อธิบายว่า เป็นเครื่องบรรลุถึงความสำเร็จและความเจริญ แห่งสัตว์ทั้งหลาย” การเว้นวรรคระหว่าง เพราะอรรถว่า กับ เป็นเหตุถึง นั้น เป็นการแสดงให้รู้ว่าเป็นรูปวิเคราะห์

          อีกกรณีหนึ่ง ที่บ่งว่าความตอนนั้นเป็นรูปวิเคราะห์หรือใกล้เคียงรูปวิเคราะห์คือคำที่มีสำนวน ว่า “เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า........ ”

          ในกรณีแรกเป็นการแปลเข้า คือ แปลจากรูปสำเร็จเข้าไปหารูป วิเคราะห์ ในกรณีหลังเป็นการแปลออก คือ แปลรูปวิเคราะห์ออก ไป หารูปสำเร็จซึ่งอยู่ข้างนอก ทั้งนี้ท่านนับ อิติ ศัพท์เป็นประตูคั่นกลาง

          เมื่อสังเกตแล้วรู้ชัดว่าข้อความตอนนั้นเป็นรูปวิเคราะห์แน่นอน แล้ว จะต้องดำเนินการขั้นต่อไป คือ

 

          ๔.๑ รูปวิเคราะห์ที่น่ามาใช้จะต้องประกอบศัพท์และธาตุให้ตรง กับรูปสำเร็จ คือเป็นศัพท์ หรือเป็นธาตุตัวเดียวกัน ถ้าต่างกัน นิยมให้เป็นคำไขหรือคำอธิบายไป

          ๔.๒ ต้องวางศัพท์ที่ปรากฏในรูปสำเร็จทุกศัพท์ (ยกเว้นปัจจัย) ไม่ ว่าศัพท์นามหรือศัพท์กิริยาไว้ในรูปวิเคราะห์ ถ้าศัพท์ใดไม่มีในรูปวิเคราะห์ รูปสำเร็จจะออกศัพท์นั้นด้วยไม่ได้ แต่ศัพท์ในรูปวิเคราะห์ทุกศัพท์ไม่จำ ต้องนำมาเป็นรูปสำเร็จทุกศัพท์

          ๔.๓ ต้องคำนึงว่าจะประกอบรูปวิเคราะห์เป็นสาธนะอะไร เป็นวจนะอะไร เป็นรูปวิเคราะห์ในกิตก์ ในสมาส หรือในตัทธิต ข้อนี้ย่อมสังเกตได้จากคำที่ท่านแปล หรือจาการเทียบเคียงตามแบบที่ศึกษามาแล้ว

          ๔.๔ จะต้องวางศัพท์ต่างๆ ให้ถูกตำแหน่งตามแบบของรูปวิ เคราะห์นั้นๆ หากมีศัพท์เกินเข้ามา เช่น บทประธาน บทวิเสสนะ ต่างๆ ต้องวางหลบตำแหน่งของศัพท์ที่อยู่กับที่ แม้จะผิดหลักการวางศัพท์ก็ไม่ถือเป็นผิด

          ๔.๕ ทำเสร็จแล้วตรวจดูประธาน กิริยา รูปสำเร็จ เป็นต้น ว่า มีวจนะตรงกันหรือไม่ แล้วทดลองแปลโดยพยัญชนะดูว่าความจะเป็นไปอย่างไร ได้ความตามที่ต้องการหรือไม่

37.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 5 (จบ)

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 5) (จบ)

 

(๕) ในกรณีที่สำนวนไทยมีข้อความซํ้ากัน...

          ในกรณีที่สำนวนไทยมีข้อความซํ้ากันหรือมีข้อความสั้นๆ ห้วนๆไม่บ่งว่าเป็นวิภัตติอะไร ท่านมีวิธีเรียงศัพท์ใช้ศัพท์โดยเฉพาะ คือ ตัดคำที่ซํ้ากันออกเสีย เหลือไว้เฉพาะที่ไม่ซํ้ากัน ทั้งนี้ เพื่อความสละสลวยของภาษาซึ่งมีเช่นนี้ทุกภาษา เช่น ในภาษาไทยว่า

ถาม : คุณจะไปไหน

ตอบ : วัดครับ (คำเต็ม ไปวัด)

ถาม : ไปทำไมล่ะ

ตอบ : ธุระ ครับ (คำเต็ม ทำธุระ)

          เพียงเท่านี้ก็เข้าใจความหมายกันได้แล้ว ลักษณะเช่นนี้ แม้ในภาษาบาลีท่านก็นิยมใช้ แต่เวลาแปลท่านมักจะแปลออกศัพท์ทั้งหมด เพื่อทดสอบภูมิของผู้ศึกษาดู หรือแปลห้วนๆไม่ออกสําเนียงอายตนิบาต ท่าให้นักศึกษางงได้เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาให้เข้าใจในความนิยม ของภาษาเช่นนี้ คือ

          ๕.๑  ข้อความจะต้องมีความบริบูรณ์ในประโยคใดประโยคหนึ่ง จะเป็นประโยคแรกหรือประโยคหลังก็ได้ แต่นิยมแต่งประโยคแรกสมบูรณ์ ส่วนประโยคหลังใส่เฉพาะคำไม่ซํ้ากับประโยคแรก

          ๕.๒ ถ้าข้อความทีไม่ซํ้านั้น มีเพียงคำเดียว ศัพท์เดียว จะ ใช้เพียงศัพท์เดียวเท่านั้น ไม่เป็นที่นิยมนัก จะต้องใส่ที่ซํ้าเข้ามาอีก ๑ ศัพท์ รวมเป็น ๒ เพราะประโยคบาลีนิยมศัพท์ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ในแต่ละประโยค ที่มีเพียงศัพท์เดียวก็มีบ้าง แต่น้อยเต็มที

          ๕.๓ ในประโยคที่ไม่เต็มนั้น ศัพท์ที่ใช้ จะต้องประกอบรูปศัพท์ ให้ถูกต้อง คือ มีวิภัตติเช่นเดียวกับประโยคต้น โดยทำหน้าที่อย่างเดียว กับคำที่ตัวเองมาอยู่แทน

          ๕.๔ ศัพท์ที่จะไม่ใส่เข้าไปนั้น จะต้องเหมือนกับประโยคต้น หรือ ประโยคเต็ม ทั้งการประกอบศัพท์และความหมาย คือต้องเป็นศัพท์เดียว กันนั่นเอง

 

38.เบ็ดเตล็ด ตอนที่ ๑

 

เบ็ดเตล็ด ตอนที่ ๑

          ในบทส่งท้ายนี้จักว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ทั้งที่กล่าวไว้บ้าง แล้วในบทต้นๆ ทั้งที่ยังมิได้กล่าวถึง ซึ่งเป็นข้อที่นักศึกษาชอบทำผิดพลาดบ่อยๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้จักรวมกล่าวไว้ในบทนี้เลยให้สิ้นเชิง ซึ่งถือว่าเป็นข้อปลีกย่อย หรือเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่นักศึกษาควรทราบไว้ แม้บางครั้งทำผิดพลาดไปแล้วจะไม่ถึงกับทำให้เสียคะแนนโดยตรง แต่ก็จัดเป็นผิดความนิยมของภาษา และไม่ทำให้เกิดความไพเราะในอรรถรสของภาษา

 

39.เบ็ดเตล็ด ตอนที่ ๒ (จบเล่ม)

 

เบ็ดเตล็ด ตอนที่ ๒

 

ข้อควรปฏิบัติในการสอบ

          การสอบ ถือว่าเป็นกระบวนการชั้นสุดท้ายของการศึกษา ในแต่ละปีแต่ละชั้น เป็นการวัดผลว่าผู้เรียนมีความรู้เพียงใดแค่ไหน มี ความสามารถเหมาะสมกับภูมิชั้นนั้นๆ หรือไม่ เพราะการสอบเป็นการตัดสินว่า ผู้นั้นสมควรได้รับการพิจารณาให้เลื่อนชั้น เลื่อนประโยคได้

          ดังนั้น การสอบ จึงถือว่าเป็นกิจอันสำคัญสุดท้ายที่นักศึกษา จะต้องตระหนักให้ดี ไม่ควรทำเล่นๆ หรือ ทำเป็นเล่น แบบที่พูดกัน สนุกๆ ปากว่า “สอบได้เป็นเรื่องตลก สอบตกเป็นเรื่องธรรมดา” เพราะ การทำเช่นนั้น นอกจากจะไม่ให้ผลดีอะไรแก่ตัวผู้สอบแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลา และทรัพย์สินด้วย

          ในการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลดีนั้น ผู้ศึกษาพึงดำเนินตามข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

<<  1 2 [3
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search