หลักการแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.4-9

16.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง วิภัตติ)

เรื่อง วิภัตติ

         การประกอบศัพท์ด้วยวิภัตติต้องให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ และ ใช้ให้ถูกสำนวนนิยม หากประกอบผิดจะทำให้เสียความทันที และหากใช้ผิดสำนวนนิยม ก็จะทำให้เสียอรรถรสของภาษาไป เช่น

  • : ภิกษุถวายบาตรของตัวแก่สามเณร
    : ภิกฺขุ อตฺตโน ปตฺตํ สามเณรํ อทาสิ ฯ
    (ปตฺตํ สามเณรสฺส อทาสิ)
  • : ทีนั้น พระเถระห้ามเธอว่า เธออย่าทำอย่างนี้
    : อถ นํ เถโร “มา เอวรูป กโรสีติ นิวาเรสิ ฯ
    (มา เอวรูป กโรหีติ..)
  • : การสั่งสมบุญนำสุขมาให้
    : ปุญฺญํ อุจฺจโย สุโข ฯ
    (สุโข ปุฌฺฌสฺส อุจจโย)

         ดังนั้น พึงสังเกตดูหลักเกณฑ์ที่ท่านใช้ในที่ต่างๆ ว่าท่านใช้วิภัตติ อะไรในที่เช่นไร ทั้งวิภัตตินาม ทั้งวิภัตติอาขยาต ในที่นี้จักให้ข้อสังเกต เรื่องวิภัตติพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

 

17.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง กาล)

เรื่อง กาล

         ความจริง เรื่องกาลนี้หากไม่สังเกตให้ดีหรือมองเผินๆแล้ว ก็อาจ จะเห็นว่าไม่เป็นเรื่องสัาคัญและไม่ร้ายแรงนัก แต่พอมาถึงวิชาแปลไทยเป็นมคธเข้า กลับเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมาทีเดียว เพราะเมื่อใช้กาล ผิด ก็อาจทำให้เสียอรรถรสของภาษาได้ แม้บางทีจะไม่ถึงกับทำให้เสียความก็ตาม

         เพราะฉะนั้น นักศึกษาจึงต้องสำเหนียกจดจำ และศึกษา เรื่องกาลให้ “เข้าถึง” จริงๆ จึงจะสามารถแต่งหรือเขียนภาษามคธ ได้ดี

         การสังเกตกาล หากสำนวนไทยออกกาลไว้ให้ชัดเจน เช่น “อยู่, ย่อม, กำลัง, แล้ว, ได้แล้ว” ก็มักจะไม่มีปัญหา ถ้าสำนวนไทยมิได้ แปลออกกาลไว้ให้ จำต้องศึกษาให้เข้าใจว่าเป็นกาลอะไรจึงจะใช้ถูก

         กาลที่ใช้ในภาษามคธ มีที่มา ๒ แห่ง คือ กาลในอาขยาต กับ กาลในกิตก์ กาลในอาขยาตรู้ได้ด้วยวิภัตติซึ่งประกอบกับธาตุในศัพท์ กิริยาคุมพากย์นั้นๆ กาลในกิตก์รู้ได้ด้วยปัจจัยซึ่งประกอบกับธาตุใน ศัพท์กิริยานั้นๆ ซึ่งขอแยกขี้แจงและวิธีใช้โดยละเอียด ดังนี้

 

 

18.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง วาจก)

 

เรื่องวาจก

         ข้อความหรือคำพูดต่างๆ จะรู้กันได้ชัดเจนว่า หมายความว่า อย่างไรต้องอาศัย “วาจก” เป็นหลักใหญ่ การประกอบศัพท์ขึ้นเป็น วาจกหรือเป็นประโยคจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากประกอบศัพท์ผิดวาจก หรือใช้วาจกผิดแล้ว จะทำให้ไม่รู้ความหมายของข้อความหรือคำพูดนั้นๆ หรือทำให้ความหมายผิดวัตถุประสงค์ไปเลย

         ยกตัวอย่างเช่น ภาษาไทยว่า เขาทำงาน ต้องเรียงเป็นมคธ ว่า โส กมฺมนฺตํ กโรติ ฯ แต่ประกอบศัพท์ผิดไปว่า โส กมฺมนฺตํ กโต หรือเป็นว่า ตํ กมฺมนฺโต กโรติ เป็นอันผิดทั้งนั้น เพราะไม่ได้ความ ชัดเจนบ้าง แปลไม่ได้บ้าง

         ดังนั้น เรื่องวาจกจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงให้มากอย่างหนึ่งและ พยายามใช้ให้ถูกต้องด้วย หากประกอบวาจกผิดแล้ว อาจถึงทำให้ เสียคะแนน ถูกปรับตก หรือปรับผิดเป็นประโยคได้ จึงต้องระวังให้ดี

         เท่าที่สังเกตมา ได้พบว่านักศึกษาประกอบวาจกผิดบ่อยๆ อาจ เพราะไม่รู้ว่าผิดบ้าง นึกว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นได้บ้าง เผลอไปบ้าง โดยมากก็ใช้กิริยาในประโยคผิด ทำให้เสียความทันที คือ ในประโยคกัตตุวาจก แทนที่จะใช้กิริยาในหมวดกัตตุวาจก กลับไปประกอบกิริยาเป็น กัมมวาจก หรือเหตุกัตตุวาจกไปเสีย ส่วนในประโยคกัมมวาจก กลับไปใช้กิริยาในกัตตุวาจก หรือภาววาจกไป กลับกันเสียอย่างนี้

         ดังเช่นตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น ความไทย ว่า “เขาทำงาน” แต่ง ว่า โส กมฺมนฺตํ กโต อย่างนี้ชื่อว่าใช้กิริยาผิด เพราะประโยคนี้ โส เป็นประธาน เป็นรูปกัตตุวาจก กโต เป็นกิริยากัมมวาจก อย่างเดียว ใช้เป็นกัตตุวาจก ไม่ได้

         เพราะมีหลักอยู่ว่า สกัมมธาตุซึ่งประกอบด้วย ต ปัจจัย เป็น กัตตุวาจก ไม่ได้ จึงถือว่าผิดวาจก แต่ถ้าแต่งว่า เตน กมฺมนฺโต กโต อย่างนี้ใช้ได้ เพราะได้ลักษณะกัมมวาจกแท้ทีเดียว

         อนึ่ง ในการประกอบวาจกนี้ให้ยึดถือแบบเป็นเกณฑ์ รวมทั้งการวางศัพท์ในประโยคด้วย ศัพท์ไหนท่านวางตรงไหน ประกอบด้วย วิภัตติอะไร ต้องให้ถูกหลักเข้าไว้ก่อน เป็นไม่ผิด แม้บางทีจะทำให้เสีย อรรถรส ก็ยังดีกว่าใช้ผิดหลัก

         มีปัญหาอย่างหนึ่งที่ทําความหนักใจให้แก่นักศึกษาใหม่ไม่น้อย คือ เมื่อพบความไทยอย่างนี้แล้วจะแต่งเป็นวาจกอะไรดี หรือว่าในกรณีไหน จึงแต่งเป็นกัตตุวาจก ในกรณีไหนจึงแต่งเป็นกัมมวาจก หรือเป็นวาจก อื่นนอกจากนี้

         ในเรื่องนี้ เป็นเรื่องยากเหมือนกันที่จะตัดสินใจว่าต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ เพราะมีข้อยกเว้นมากมาย แต่เท่าที่สังเกตดูมา พอมีข้อกำหนด ในการใช้วาจกต่างๆ ทั้ง ๕ วาจก ดังต่อไปนี้

19.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่องปัจจัย, เรื่องสัมพันธ์)

 

เรื่องปัจจัย

         ปัจจัยในอาขยาตเป็นเครื่องบ่งบอกวาจกได้ ส่วนปัจจัยในกิตก์ เป็นเครื่องบ่งบอกกาลได้ เพราะฉะนั้น การใช้ปัจจัยจึงต้องพิถีพิกัน พอสมควร โดยเฉพาะปัจจัยในอาขยาตซึ่งใช้ประกอบกับวาจก หาก นักศึกษาแต่งภาษามคธไม่เข้าใจใช้ปัจจัย หรือใช้สับกัน โดยนำปัจจัย ในกัตตุวาจกไปใช้ในกัมมวาจก เป็นต้น ก็จะทำให้ผิดวาจก ผิดความ และผิดประโยคในที่สุด

         ดังนั้น นักศึกษาพึงทบทวนปัจจัยประจำในแต่ละวาจกให้ แม่นยำขึ้นใจ และใช้ประกอบให้ถูกต้อง คล่องแคล่ว ก็จะเป็นอุปการะมาก

         ส่วนปัจจัยในกิตก์ซึ่งบ่งบอกกาลได้นั้น แม้บางอย่างจะไม่ถึงกับทำให้ผิดรุนแรง แต่ก็อาจถูกปรับเป็นผิดเหมือนกัน ทำให้เสียคะแนนโดยไม่จำเป็นอีก วิธีใช้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องกาล

         ในเรื่องปัจจัยนี้ พอมีข้อสังเกตและข้อกำหนดหมายไว้ พอสรุปได้ดังนี้

         (๑) ก่อนจะใช้ปัจจัยอะไร ประกอบเป็นศัพท์กิริยาในตอนนั้นๆ พึงอ่านความไทยและสังเกตให้ดีว่า ความไทยตอนนั้น บ่งกาลไว้บ้าง หรือไม่ เช่น คำว่า “อยู่, กำลัง, แล้ว, ได้แล้ว” เป็นต้น เมื่อเห็น ความไทยเช่นนั้น ก็พอจะมองออกได้ว่าควรแต่งในรูปไหน เช่น คำว่า อยู่ กำลัง เมื่อ ก็ใช้ อนฺต มาน ปัจจัย หรือถ้าเป็นกิริยาคุมพากย์ ก็ใช้วิภัตติหมวดวัตตมานา เป็นต้น แล้วแต่กรณี

         (๒) สังเกตความตอนนั้นว่า จะแต่งเป็นรูปวาจกอะไรก่อน แล้ว จึงค่อยใช้ปัจจัยประจำวาจกนั้นๆ

         (๓) ถ้าความไทยไม่มีคำเหล่านั้นอยู่ ให้สังเกตความตอนนั้นว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ใช้ปัจจัยที่ เป็นอดีต ถ้ากำลังเกิดขึ้น ก็ใช้ปัจจัยที่บ่งปัจจุบัน

         (๔) สังเกตความตอนนั้นว่า จะแต่งเป็นรูปวาจกอะไรก่อน แล้ว จึงใช้ปัจจัยประจำวาจกนั้นๆ

         (๕) อนฺต ปัจจัย ใช้ได้ ๓ วาจก เท่านั้น คือ กัตตุวาจก ภาววาจก และเหตุกัตตุวาจก มาน ต ปัจจัย ใช้ใน ๕ วาจก มักจะมีเผลอกันบ่อยๆ ที่ใช้ อนฺต ปัจจัย ประกอบเป็นรูปกัมมวาจก โดยลง ย ปัจจัย และ อิ อาคม หน้า ย ด้วย เช่น อุปฏฐิยนฺโต          

ประโยคว่า : สตฺถา      ปน    เตน หตฺถินา อุปฏฺฐิยมาโน สุขํ วสิ ฯ (๑/๔๓)
แต่งเสียว่า : สตฺถา     ปน เตน หตฺถินา อุปฏฺฐิยนฺโต สุขํ วสิฯ (ผิด)
ประโยคว่า : อตฺตโน ภาคิเนยฺยสฺส ทีฆนขปริพฺพาชกสฺส เวทนาปริคฺคหสุตฺตนฺเต เทสิยมาเน (๑/๘๗)
แต่งเสียว่า   : อตฺตโน ภาคิเนยฺยสฺส ฯเปฯ สุตฺตนฺเต เทสิยนฺเต (ผิด)

         (๖) อนฺต ปัจจัย เมื่อเป็นอิตถีลิงค์ ท่านให้ลง อี เป็น อนฺตี แต่ผู้ศึกษาไม่ได้ลง อี เช่น

: สา อตฺตโน กมฺมนฺตํ กโรนฺตา  เถรํ อทฺทส ฯ (ที่ถูกต้องเป็น กโรนฺตี)

         (๗) ต้องจำรูปศัพท์ให้แม่นยำว่า ถ้าเป็นกิริยาของวาจกอะไร ลงปัจจัยไหน จะได้รูปอย่างไร เช่น กรฺ ธาตุ เมื่อลงกับปัจจัยต่างๆ แล้ว จะมีรูปเป็นต่างๆ กัน เช่น ตัวอย่าง

กรฺ + อนฺต - กโรนฺโต กุพฺพนฺโต กุพฺพํ กรํ  (กัตตุ.)
กรฺ + มาน - กรมาโน กุรุมาโน    (กัตตุ.)
กรฺ + มาน - กริยมาโน (กัมม.)
กรฺ + ตพฺพ - กาตพฺพํ กตฺตพฺพํ     (กัมม.)
กรฺ + ต - กโต (กัมม.)
  - การิโต การาปิโต  (เหตุกัมม.)         
ฯลฯ

         (๘)ปัจจัยที่ประกอบด้วยธาตุแล้วแปลงรูปไปต่างๆ และเป็นวาจกนั้น เป็นวาจกนี้ ต้องใช้ให้เป็นและจำให้ได้แม่นยำ เช่น                                            

ฉนฺโน ชิณฺโณ ตุฏฺโฐ  อาทาย นิสฺสาย นิกฺขมฺม อุปฺปชฺช ปคฺคยฺห เป็นต้น

 

         รวมความว่า ปัจจัยในแต่ละวาจกรวมทั้งอาคมที่ลงกับปัจจัยนั้นๆ ต้องจำให้ได้แม่นยำจริงๆ ทั้งต้องประกอบขึ้นเป็นศัพท์ให้ถูกต้อง คล่องแคล่ว ขอให้จำไว้ว่า ใช้ปัจจัยผิดก็ทำให้ผิดวาจก เมื่อวาจกผิด ก็ทำให้ผิดประโยค

20.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่องการเขียน)

 

เรื่องการเขียน

          มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่เขียนภาษามคธผิดหลักไวยากรณ์ ทั้งๆ ที่ใช้ศัพท์ถูกต้องแล้ว แต่ว่าเขียนผิด จะด้วยความพลั้งเผลอหรืออะไร ก็ตาม ก็อาจทำให้เสียคะแนนได้ ยิ่งเป็นชั้นประโยคสูงๆ ด้วยแล้ว ยิ่งจะถูกเพ่งเล็งจากกรรมการมากเป็นพิเศษ เพราะถือว่าอยู่ในภูมิชั้นสูงแล้ว ไม่ควรเขียนภาษามคธผิดเลย

21.บทที่ ๔ สำนวนนิยม (ประโยคแบบ, ประโยคซํ้าความ, ประโยคคำถาม)

 

บทที่ ๔ สำนวนนิยม

 

          ในทุกชาติทุกภาษาย่อมมีสำนวนภาษาเป็นของตัวเองทั้งสิ้น สำนวนภาษาถือว่าเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษา ซึ่งเข้าใจความ หมายรู้กันเฉพาะในหมู่ผู้ที่ใช้ภาษานั้นๆ และสำนวนภาษานี้ อาจเป็น คำศัพท์เดียว หรือเป็นกลุ่มคำ หรือเป็นประโยคก็ได้ ที่มีความหมาย สละสลวยลึกซึ้งในตัว ซึ่งหากจะแปลถ่ายทอดไปสู่อีกภาษาหนึ่งตรงๆ แล้วย่อมเข้าใจได้ยาก หรือไม่ได้ใจความ

          อย่างเช่น ขมนียํ ถ้าแปลตามตัวก็ได้ความว่า “พอทนได้” แต่ความจริงคำนี้ เป็นสำนวนเท่ากับความไทยว่า “สบายดี” นั่นเอง

          เพราะฉะนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธหรือวิชาแต่งไทยเป็นมคธ จะต้องรู้จักสำนวน ทั้งของภาษามคธ และภาษาไทยได้ดี จึงจะแต่งประโยคบาลีได้ถูกต้องและได้อรรถรส ทางวรรณคดี ในเบื้องต้นขอให้นักศึกษาจำไว้ว่า

          “เมื่อแต่งหรือแปลความไทยเป็นภาษามคธ ต้องให้ถูกหลัก และสำนวนตามภาษามคธ ไม่ใช่ตามภาษาไทยหรือสำนวนไทย หรือ ภาษาบาลีไทย”

          เช่น ความไทยว่า ท่านสบายดีหรือ จะแต่งตามสำนวนไทยไป ทื่อๆ ว่า กึ เต สปฺปาโย โหติ หรือ กึ ตฺวํ สปฺปาโยสิ ย่อมไม่ได้ เพราะสำนวนมคธเขาไม่ใช้อย่างนี้ เขาใช้ว่า “กจฺจิ เต ขมนียํ” หรือ ขมนียํ หรือ ขมนียํ เต ดังนี้

          หรือความไทยว่า หมอรักษาโรค จะแต่งว่า เวชฺโช โรคํ รกฺขติ ไม่ถูก เพราะแต่งอย่างนี้เรียกว่า เป็นภาษาบาลีไทย ต้องแต่งให้ถูก ตามสำนวนมคธว่า “เวชฺโช โรคํ ติกิจฺฉติ” ดังนี้

          ตามตัวอย่างนี้ ก็พอจะมองเห็นได้แล้วว่า สำนวนภาษามคธ นั้นเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย หากใช้ผิดแล้วจะทำให้เสียความหมายและทำให้เจ้าของภาษาฟังไม่รู้เรื่องเอาเลยก็ได้

          ในบทนี้ จึงจะได้กล่าวรายละเอียดในเรื่องสำนวนนิยมตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้

สำนวนมคธ

สำนวนไทยสันทัด

สำนวนสอบภูมิ

สำนวนนิยมทั่วไป

22.บทที่ ๔ สำนวนนิยม (กิมงฺคํ ปน, สำนวนไทยสันทัด)

ประโยค กิมงฺคํ ปน

          กิมงฺคํ ปน นิยมแปลกันว่า “จะป่วยกล่าวไปไยถึง” มีวิธีเรียง ดังนี้

          (๑) ประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องมีเนื้อความเชื่อมต่อกับประโยค ข้างต้น โดยใช้กิริยาตัวเดียวกัน แต่ต่างหมวดวิภัตติกัน คือ ถ้าประโยค ต้นกิริยาเป็นวิภัตติหมวดวัตตมานา กิริยาในประโยคหลัง คือ ประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องเป็นหมวดภวิสสันติ ถ้าประโยคต้นเป็น ภวิสสนฺติ ประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องเป็นวัตตมานา สลับกันเช่นนี้

          (๒) กิมงฺคํ ปน จะต้องเรียงไว้ต้นประโยคเสมอ นอกนั้นให้ เรียงไว้หลัง กิมงฺคํ ปน ทั้งหมด

          (๓) กิริยาในสองประโยคนี้ ให้วางไว้เพียงในประโยคเดียว จะวางไว้ในประโยคต้นหรือในประโยคหลังก็ได้ แม้จะละไว้ก็ตาม เวลา แปลต้องใส่เข้ามา ตามหลักข้อ (๑)

          (๔) ข้อความในสองประโยคนั้น จะต้องเป็นประโยคบอกเล่า ประโยคหนึ่ง เป็นประโยคปฏิเสธประโยคหนึ่ง เช่น ถ้าประโยคต้นเป็น ประโยคบอกเล่าประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องเป็นประโยคปฏิเสธ

ตัวอย่าง

: ตาต มหลฺลกสฺส หิ อตฺตโน หตฺถปาทาปิ อนสฺสวา โหนฺติ, น วเส วตฺตนฺติ, กิมงฺคํ ปน ญาตกาฯ (กิริยาในประโยค กิมงฺคํ ปน คือ วตฺติสฺสนฺติ) (๑/๖)

: เอวรูปสฺส นาม กฏฺฐกลิงฺคสฺสาปิ ชรา อาคจฺฉติ, กิมงฺคํ ปน อตฺตภาวสฺส ฯ (กิริยาในประโยค กิมงฺคํ ปน คือ น อาคมิสฺสติ)

: เอารูโป นาม อรหตฺตสฺส อุปนิสฺสยสมฺปนฺโน ภิกฺขุ เอตฺตกํกาลํ มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ทุกฺขํ อนุโภสิ , กิมงฺคํ ปน อญฺเญ ฯ (๘/๑๔๒) (กิริยาในประโยค กิมงฺคํ ปน คือ น อนุภวิสฺสนฺติ)

23.บทที่ ๔ สำนวนนิยม (สำนวนสอบภูมิ, สำนวนนิยมทั่วไป)

สำนวนสอบภูมิ

          สำนวนสอบภูมิ หมายถึง สำนวนที่สนามหลวงออกสอบภูมิรู้พื้น ฐานของผู้สอบ โดยจะแปลสำนวนไทยยักเยื้องไปในรูปแบบต่างๆ เพื่อทดสอบความรู้ด้านธรรมบ้าง ด้านไวยากรณ์บ้าง ด้านการแปล ศัพท์บ้าง ส่วนมากก็จะเป็นการแปลออกศัพท์ ตามแบบแปลโดยพยัญชนะ หรือแปลตามแบบสัมพันธ์ ซึ่งการแปลอย่างนี้ บางครั้งก็ทำให้ผู้สอบงงงวย และหลงสำนวนได้ง่ายๆ ทั้งๆ ที่เป็นศัพท์ง่ายนิดเดียว หรือเป็นศัพท์ที่เห็นดาษดื่นเจนตา แต่ไม่เคยแปลออกศัพท์เต็มที่กัน จึงทำให้ฉงนไปว่าเป็นศัพท์ใหม่ เลยประกอบศัพท์เอาเองใหม่ตามสำนวนนั้น

          สำนวนสอบภูมินี้มักจะพบบ่อยๆ ในประโยคชั้นสูงๆ เพราะถือว่า เป็นผู้ชำนาญในสำนวนดีแล้ว จึงควรระวังให้ดี

          ต่อไปนี้ จักยกศัพท์ที่ท่านแปลออกสนามหลวงมาแล้ว ในปีนั้นๆ มาแสดงเพื่อเป็นแนวทาง

ศัพท์ว่า

ท่านแปลว่า

 

ภิกฺขเว

ดูก่อนพวกเธอผู้เห็นภัย

(๖/๒๕๑๔)

สํสาโร

การท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ

 

อนาถปิณฺฑิกเสฏฺฐี

เศรษฐี ผู้มีก้อนข้าว เพื่อคนไม่มีที่พึ่ง

(๔/๒๕๑๔)

ตฺวํ (คำกราบทูล)

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

(๕/๒๕๑๔)

นิมนฺเตตฺวา

เผดียง

 

โสสานิกธูตงฺคํ

ธุดงค์สำหรับภิกษุผู้อยู่ในป่าช้าเป็นวัตร

(๔/๒๕๑๕)

รตฺตกมฺพลสาณิยา

ด้วยม่านซึ่งทำด้วยผ้ากัมพลสีแดง

(๕/๒๕๑๕)

พุทฺธเสยฺยาย

จากการบรรทมของพระพุทธเจ้า

(๕/๒๕๑๕)

พุทฺธคารเวน

ด้วยความตระหนักในพระพุทธเจ้า

(๕/๒๕๑๕)

ยาปนมตฺตํ

อาหารที่พอเลี้ยงอาตมา

(๕/๒๕๑๕)

อนาคเต

ในกาลอันยังไม่มาถึง

(๔/๒๕๑๖)

ปณฺฑิตปุริโส

บุรุษผู้ดำเนินกิจด้วยปรีชา

(๕/๒๕๑๖)

ธมฺมกถิโก

พระนักเทศก์

(๖/๒๕๑๖)

กเถหิ อาวุโส

ว่าไปเลย คุณ

(๖/๒๕๑๖)

กถา

วาจาสำหรับกล่าว

(๖/๒๕๑๖)

โหตุ

ไม่เป็นไร

(๖/๒๕๑๖)

วิสภาโค

ไม่ถูกกัน

(๖/๒๕๑๖)

อคุโณ

โทษมิใช่คุณ

(๔/๒๕๑๗)

ปุรตฺถิมวตฺถุมฺปิ

ที่อันมีในทิศตะวันออกบ้าง

(๔/๒๕๑๗)

ขาทนฺโต จ วิกฺกีณนฺโต จ

กินบ้างขายบ้าง

(๔/๒๕๑๗)

วตฺตปฏิวตฺตํ

วัตรปรนนิบัติ

(๕/๒๕๑๗)

นตฺถิภาโว

ภาวะที่ไม่มี...      

(๖/๒๕๑๗)

อลงฺกริตฺวา

แต่งตัวเต็มที่ (ทำจนพอ)

(๖/๒๕๑๗)

อุจจาสทฺทํ มหาสทฺทํ

เสียงเอ็ดเสียงดัง

(๕/๒๕๑๘)

อจฺฉราคณปริปุณฺโณ (ปาสาโท)

ปราสาทที่นางอัปสรเต็มปรี่

(๖/๒๕๑๘)

อิสสรญฺญาตกานํ

พวกญาติที่เป็นใหญ่เป็นโต

(๖/๒๕๑๘)

คพฺโภ

สัตว์ผู้กำเนิดในครรภ์

(๕/๒๕๒๐)

ชาตมงฺคลทิวเส

ในวันมงคลวันเกิด

(๕/๒๕๒๐)

มรณสฺสติ

การระลึกถึงความตาย

(๖/๒๕๒๑)

โพธเนยฺยพนฺธเว

เหล่าสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุที่พอจะแนะนำเพื่อตรัสรู้ได้

(๕/๒๕๒๒)

ชนปทมนุสฺสํ

มนุษย์บ้านนอก (คนบ้านนอก)

(๕/๒๕๒๒)

           ตามที่ยกตัวอย่างมานี้ จะเห็นว่าเป็นศัพท์ธรรมดาๆ นี้เองแต่ท่านแปลยักเยื้องไปตามสำนวนโดยพยัญชนะบ้าง สำนวนคำพูดบ้าง เพราะฉะนั้น เมื่อนักศึกษาพบสำนวนเช่นนี้ พึงใคร่ครวญดูให้รอบคอบก่อนว่า ตรงกับศัพท์อะไร เมื่อพบสำนวนที่ผิดสังเกตแล้ว ไม่ควรคิดว่า ศัพท์นี้เป็นศัพท์ใหม่ ต้องพยายามคิดหาจากศัพท์เก่าๆ ที่ง่ายๆ ซึ่งเคย พบเห็นมานั่นเอง ไม่ใช่คิดแต่งศัพท์ใหม่ตามสำนวนไทยอยู่เรื่อยไป ตัวอย่างเช่น สำนวนว่า ดูก่อนพวกเธอผู้เห็นภัย แต่งเสียใหม่ว่า ภยทสฺสก อะไรทำนองนี้

24.บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (การประกอบศัพท์, การใช้ กึ ศัพท์)

 

บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย

           ผู้ที่จะแต่งประโยคบาลีได้ดีจะต้องจำศัพท์ได้มากพอสมควร การจำศัพท์ได้ถือว่าเป็นอุปการะเบื้องต้น เหมือนมีวัตถุดิบอยู่ในมือพร้อมที่ จะประกอบหรือปรุงรูปเป็นภัณฑะต่างชนิดได้ ฉะนั้น เมื่อจำศัพท์ได้แล้ว ขั้นต่อไปก็จะต้องรู้ความหมายของศัพท์นั้นๆ ว่ามีเพียงใดแค่ไหน รู้จัก วิธีใช้ศัพท์เหล่านั้นว่าศัพท์นี้เขาใช้ในกรณีใด หรือในกรณีใดต้องใช้ศัพท์เช่นใด พร้อมทั้งรู้จักวิธีปรุงศัพท์เหล่านั้น ก่อนที่จะเรียงเข้าเป็นประโยคตามหลักการเรียง

          นอกจากนั้น การใช้ศัพท์พลิกแพลงไปในรูปต่างๆ โดยถูกวิธี ก็จัดเป็นอุปการะอย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะบางทีเนื้อความอย่างเดียว กันนั้น อาจปรุงศัพท์เป็นรูปนั้นรูปนี้ก็ได้ โดยที่ความหมายยังคงเดิม แปล ได้เท่าเดิมดังนี้ เป็นทางออกสำหรับผู้จำศัพท์ไม่ค่อยแม่นยำนัก

          ในบทนี้ จึงจะกล่าวถึงเรื่องศัพท์พร้อมทั้งกระบวนการต่างๆ อัน เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องศัพท์ เพื่อเป็นแนวทางให้รู้จักวิธีต่างๆ ที่กล่าวแล้วนั้น โดยจะแสดงไปเป็นข้อๆ ตามลำดับ ดังนี้

การประกอบศัพท์

การใช้ศัพท์ในประโยค

การใช้ศัพท์เป็นคู่กัน

การใช้ศัพท์แทนกัน

การใช้ศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกัน

การแปลงศัพท์

ความหมายของศัพท์

25.บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (การใช้ อลํ, ปฐมํ และ ตาว)

 

การใช้ อลํ ศัพท์

          อลํ ศัพท์ ใช้ในความหมาย ๒ ประการ คือ ในความหมาย ปฏิเสธ แปลว่า “อย่าเลย, พอละ, พอที, พอกันที” และในความหมาย แห่ง อรห ศัพท์ แปลว่า “ควร, เพียงพอ, อาจ” มีวิธีใช้และหลัก การพอเป็นข้อสังเกตดังนี้

          (๑) ในประโยคที่ปฏิเสธเฉยๆ ว่า อย่าเลย แล้วขึ้นประโยคใหม่ ต่อไป ให้เรียงอลํ ไว้ต้นประโยคทีเดียว

ความไทย

: อย่าเลย พระคุณเจ้า คุณแม่ของผมจะดุเอา

เป็น

: อลํ อยฺย, มาตา เม ตชฺเชสฺสติ (๓/๓๘)

ความไทย

: พอทีเถอะ พวกคุณ พวกคุณอย่าเศร้าโศก อย่ารํ่าไรเลย

เป็น

: อลํ อาวุโส, มา โสจิตฺถ มา ปริเทวิตฺถ (สมนฺต. ๑/๕)

 

           (๒) ในประโยคปฏิเสธ ที่ระบุสิ่งที่ถูกปฏิเสธและผู้ปฏิเสธไว้ด้วย ให้เรียง อลํ ไว้ต้นประโยค เรียงผู้ปฏิเสธเป็นจตุตถีวิภัตติ (สมฺปทาน) ไว้ถัดไป และเรียงสิ่งที่ถูกปฏิเสธ (กรณ)ไว้สุดประโยค หากระบุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เรียงไว้หลัง อลํ ตามปกติ เช่น

ความไทย

: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ให้พระนางบวชเถิด อย่าปรินิพพานเลย

เป็น

: ภนฺเต ปพฺพาเชถ นํ, อลํ ปรินิพฺพาเนน (๘/๒๒)

ความไทย

: สำหรับพวกเรา พอละด้วยคนมีประมาณเท่านี้

เป็น

: อลํ อมฺหากํเอตฺตเกหิ (๓/๘๘)

          (๓) ในประโยคที่มีสำนวนว่า “ควรจะ, พอที่จะ’’ หรือ “ควรเพื่อ” หากใช้ อลํ ศัพท์ จะต้องกำหนดว่า มีบทประธานหรือไม่ ถ้ามีบทประธานอยู่ด้วยนิยมเรียงบทประธานไว้หน้า อลํ และ เรียงคำว่า เพื่อ ไว้หลัง อลํ โดยคำว่า เพื่อ นั้น หากเป็นกิริยาอาการ นิยมมีรูปเป็น ตุํ หากเป็นนาม นิยมมีรูปเป็นจตุตถีวิภัตติ เช่น

ความไทย

: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุไม่เข้าไป ควรที่จะเข้าไปและเข้าไปแล้ว ควรจะนั่งใกล้

เป็น

: นวหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา จ อลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา จ อลํ อุปนิสีทิตุํ (๓/๘) (ในประโยคนี้ อลํ เป็นกิริยาคุมพากย์ กัมมวาจก)

ความไทย

: ดูก่อนชาวกาลามะควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย ควร ที่จะเคลือบแคลง

เป็น

: อลํ หิ โว กาลามา กงฺขิตุํ, อลํ วิจิกิจฺฉิตุํ (ในประโยคนี้ อลํ เป็นกิริยาคุมพากย์)

 

           (๔) อลํ ศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า พอ อาจ ที่เป็นวิเสสนะ ของบทประธาน จะเรียงไว้หน้าบทประธานหรือหลังบทประธานก็ได้ แล้วแต่ว่าจะเน้นความหรือไม่ และคำว่า เพื่อ ที่ตามมานั้น นิยมเรียง ไว้หลัง อลํ เช่นกัน เช่น

ความไทย

: แต่การบูชาพระศาสดา อาจที่จะเป็นประโยชน์แก่ เรา ในโกฏิกัปเป็นอเนก

เป็น

: สตฺถุ ปูชา ปน เม อเนกาสุ กปฺปโกฏิสุ อลํ หิตาย เจว สุขาย จ  (๓/๑๓๔)

ความไทย

: การกระทำเพียงเท่านั้น ก็พอเพื่อประโยชน์แก่พวกเรา

เป็น

: อลํ โน เอตฺตกํ หิตาย สุขาย

           (๕) อลํ ศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า พอละ อาจ ที่เป็นวิกติกัตตา นิยมเรียงไว้หน้ากิริยาว่ามีว่าเป็น หรือ เรียงแบบวิกติกัตตาทั่วๆไป เช่น

ความไทย

: พระโอวาทที่พระวิปิสสีสัมมาลัมพุทธเจ้านั้น  ทรง ประทานแล้วในวันเดียวเท่านั้น ได้เพียงพอไปถึง ๗ ปิ

เป็น

: เอกทิวสํ ทินฺโนวาโทเยว หิสฺส สตฺตนฺนํ สํวจฺฉรานํ อลํ อโหสิ (๖/๑๐๐)

ความไทย

: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกิจที่จะพึงช่วยกันทำ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำอาจจัดได้

เป็น

: อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ฯเปฯ ตตฺถ ทกฺโข โหติ อนลโส

ตตฺรุปายาย วีมํสาย สมนฺนาคโต อลํ กาตุํ อลํ สํวิธาตุํ (มงคล. ๑/๑๕๕)

           

26.บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (การใช้ อิตร อปร อญฺญตร เอก, เอยฺย เอยฺยุํ, ตพฺพ)

 

การใช้ อิตร ศัพท์

          ที่แปลว่า “อีก...หนึ่ง” เช่น อีกคนหนึ่ง เป็นต้น ใช้ในกรณีที่ ข้อความข้างต้นได้เอ่ยถึงคนหลายคน หรือหลายสิ่งแล้ว ต่อมาได้แยกกล่าวกิริยาของแต่ละคนออกไป เมื่อกล่าวถึงคนแรกไปแล้ว จะกล่าวถึงอีกคนที่เหลือสุดท้าย นิยมใช้ อิตร ศัพท์แทนผู้นั้น เช่น

  • : (นารโท) อาจริย ตุมฺหากํ อิธ นิปนฺนภาวํ น ชานามิ, ขมถ เมติ วตฺวา ตสฺส กนฺทนฺตสฺเสว พหิ นิกฺขมิ ฯ อิตโรปิ อยํ ปวิสนฺโตปิ มํ อกฺกเมยฺยาติ ฯ (๑/๓๘)
  • : มรณภเยน ตชฺชิตสฺส ปนสฺส (จุนฺทสูกริกสฺส) พหิ นิกฺขมนํ นิวาเรตุ อสกฺโกนฺโต สพฺโพ เคหชโน ฯเปฯ รกฺขนฺโต อจฺฉติ ฯ อิตโรปิ อนฺโตเคเหเยว นิรยสนฺตาเปน วิรวนฺโต อิโต จิโต จ วิจรติ ฯ (๑/๑๑๘)

          แต่ในสิ่งที่มีเป็นคู่กันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น มือเท้า ตา หู ผัวเมีย เป็นต้น เมื่อกล่าวถึง สิ่งหนึ่ง ข้างหนึ่ง คนหนึ่งแล้ว จะ กล่าวถึงคนหรือสิ่งที่เหลือซึ่งเป็นคู่กันนั้น ก็นิยมใช้ อิตร ศัพท์ แทน แม้ว่าจะยังไม่กล่าวถึงมาก่อนเลยก็ตาม เช่น

  • : โส (ภิกฺขุ) เอเกน หตฺเถน ปตฺตํ คณฺหนฺโต อิตเรน กวาฏํ ปิทหิ ฯ

27.บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (ศัพท์ที่เป็นคู่กัน, ศัพท์แทนกัน, ศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกัน, การแปลงศัพท์)

 

การใช้ศัพท์เป็นคู่กัน

           ศัพท์ในภาษามคธบางศัพท์ บางความหมาย มีศัพท์ที่เป็นคู่กัน เช่นเดียวกับภาษาไทย แต่เวลาใช้ศัพท์เรียงเข้าประโยค จะต้องเลือก ศัพท์ที่มีลักษณะเป็นคู่ๆ คือ คู่ใคร คู่มัน ศัพท์ที่เป็นคู่เช่นนี้ มักมีรูปร่าง คล้ายๆ กัน ประกอบด้วยปัจจัย เป็นต้น อย่างเดียวกัน เช่น ขชฺช คู่กับ โภชฺช ขาทนีย คู่กับ โภชนีย เป็นต้น เวลาใช้นิยมใช้ไม่ให้สลับคู่กัน ตัวอย่างว่า

  • : อุบาสกคนหนึ่ง นำของเคี้ยว ของฉัน ไปวัดแล้ว ได้ ถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
  • : อุปาสโก ขชฺญฺจ โภชนียญฺจ อาทาย วิหารํ คนฺตฺวา อญฺญตรสฺส ภิกฺขุโน อทาสิ ฯ

          ใช้ศัพท์อย่างนี้เรียกว่า ใช้ศัพท์ผิดคู่ หรือผิดฝาผิดตัวกัน แม้จะแปลได้เหมือนกันก็ตาม ก็ถือว่าผิดความนิยมของภาษา ทำให้เสียรสภาษาทางวรรณคดี และไม่สละสลวยด้วยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงควรระวังการใช้ศัพท์ประเภทนี้ให้ถูกต้องไว้เป็นดี

          ต่อไปนี้ จักยกตัวอย่างศัพท์ที่เป็นคู่ไว้ให้ดูพอเป็นอุทาหรณ์ และ เพื่อนำมาใช้ได้ถูกต้อง

ความไทย

ศัพท์คู่

 

 

บุญบาป, ความดีความชั่ว

ปุญฺญ-ปาป, กุสล-อกุสล

ซ้าย ขวา

วาม-ทกฺขิณ

ข้างบน ข้างล่าง

อุปริ-เหฏฺฐา, อุปริม-เหฏฺฐิม

เพียงใด เพียงนั้น

ยาว-ตาว, ยาวตา-ตาวตา

ฉันใด ฉันนั้น

ยถา-ตถา, ยถา-เอวํ

ข้างหน้า ข้างหลัง

ปุรโต-ปจฺฉโต

ก่อน ภายหลัง

ปุรํ-ปจฺฉา

ข้างนอก ข้างใน

พหิ-อนฺโต

เด็กชาย เด็กหญิง

กุมาโร-กุมารี

ขันติ โสรัจจะ

ขนฺติ-โสรจฺจ ขมา-โสรตา

ฯลฯ

 

28. บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (ความหมายของศัพท์)

 

ความหมายของศัพท์

          ดังกล่าวมาบ้างแล้วว่า ศัพท์แต่ละศัพท์นั้นมีความหมายในตัว ซึ่งไม่เหมือนกัน และวิธีใช้ก็ใช้ต่างกรณีกัน ดังนั้น จึงควรจะได้ศึกษา ความหมายของศัพท์ไว้บ้าง เพื่อจะได้นำศัพท์ไปใช้ได้ถูกเรื่อง ถูกความ ที่ประสงค์ ในตอนสุดท้ายของบทนี้ จึงจักแสดงศัพท์ต่างๆ พร้อมทั้ง ความหมายให้ดูพอเป็นอุทาหรณ์ ซึ่งจะได้แสดงให้เห็นว่าใช้ในกรณีไหนด้วย ดังนี้

29.บทที่ ๖ การแปลงประโยคและการล้มประโยค (กัตตุ.-กัมม., กัมม.-กัตตุ.)

 

 

บทที่ ๖ การแปลงประโยคและการล้มประโยค

          การแปลงประโยค หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปประโยคเสียใหม่ โดยเปลี่ยนจากรูปประโยคกัตตุวาจก เป็นกัมมวาจก หรือจากกัมมวาจก เป็นกัตตุวาจก เป็นต้น แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปประโยคเท่านั้น มิได้เปลี่ยนความหมายด้วย เมื่อเปลี่ยนแปลงประโยคแล้ว ความหมายยังมีเท่าเดิม

          ส่วนการล้มประโยคนั้น หมายถึง การย่อ หรือขยายประโยคออก ไป เช่น ความเดิมเป็นประโยคเดียว แต่ขยายไปเป็น ๒ ประโยค หรือ ความเดิมเป็น ๒ ประโยค ย่อให้เหลือเพียง ๑ ประโยค โดยรักษาใจความเดิมเข้าไว้ได้ เป็นต้น

          การแปลงประโยคก็ดี การล้มประโยคก็ดี เป็นอุปการะสำหรับ นักศึกษาผู้จำแบบไม่ได้ว่า ข้อความตอนนี้เป็นประโยคกัตตุวาจก หรือ กัมมวาจก หรือเป็นกี่ประโยค เมื่อชำนาญเรื่องนี้แล้ว ก็อาจแต่งประโยคต่างๆ ได้โดยอิสระ โดยไม่เสียความ แต่การแปลงประโยคและการล้มประโยคนี้ เป็นเรื่องค่อนข้างยาก และอาจมิใช่วิสัยของนักศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธใหม่ๆ ก็ได้ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และซับซ้อน ขั้นสุดยอดของกระบวนการแต่ง หรือแปลไทยเป็นมคธ ผู้ใดเชี่ยวชาญในกระบวนนี้ ก็นับได้ว่าผู้นั้นมีความเชี่ยวชาญในภาษามคธดี และจะสามารถผ่านวิชานี้ได้จนถึงขั้นสูงสุดโดยไม่ยากนัก

          ทั้งนี้เพราะผู้จะเชี่ยวชาญในกระบวนวิชานี้ได้ จะต้องใช้หลักวิชา การต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าไวยากรณ์ สัมพันธ์ หลักการเรียง หลักการใช้ศัพท์และสำนวนภาษา มาผสมกันอย่างกลมกลืน ไม่ผิดเพี้ยน สามารถปรุงประโยคเองได้โดยอิสระ โดยรักษาความไทยไว้มิให้เสีย และตัดต่อ แต่งเติมให้ประโยคถูกต้อง สละสลวยได้เอง โดยมิต้องยึดถือว่า จะต้องถูกตามแบบที่มีอยู่เสมอไป เพียงรักษาความและหลักวิชาไว้ เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ดังนี้ก็พอจะเห็นแล้วว่า กระบวนวิชานี้ยุ่งยาก ซับซ้อนเพียงใด

          แม้ว่าจะเป็นหลักวิชาขั้นสูงดังกล่าว ก็มิได้หมายความว่านักศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธเบื้องต้น จะไม่ควรศึกษาให้รู้ไว้ การศึกษา ให้รู้ไว้นั้นย่อมเป็นอุปการะทั้งปัจจุบันและอนาคต หากเชี่ยวชาญ ชำนาญแต่ขั้นต้นๆ และสามารถใช้ให้เป็นประโยชนได้ ก็เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง และส่อแววว่าจะเป็นผู้ฉลาดสามารถในมคธภาษาผู้หนึ่ง

          ต่อไปนี้จักแสดงวิธีการแปลงประโยค และการล้มประโยค พอ เป็นแนวทางตามสำตับ

 

 

30.บทที่ ๖ การแปลงประโยคและการล้มประโยค (การล้มประโยคโดยวิธีย่อประโยค)

 

การล้มประโยค

          การล้มประโยคโดยวิธีย่อประโยคหลายๆ ประโยค ให้เป็น ประโยคเดียวกันคือ วิธีตัด ย. ต. ออกก็ดี โดยวิธีขยายประโยคยาวๆ ให้เป็น ๒ ประโยค คือ เพิ่ม ย. ต. เข้ามา ก็ดี เหล่านี้มีกระบวนวิธีทำ สลับซับซ้อนมากมาย ไม่อาจชี้แจงให้หมดสิ้นได้ จึงจะแสดงเฉพาะที่เห็นง่ายๆ และทำได้ไม่ยากนักดังนี้

<<  1 [23  >>  
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search