อินทรวิเชียรฉันท์

อินทรวิเชียรฉันท์  แปลตามครูว่า "ฉันท์มีครุหนักมากเหมือนคทาเพชรของพระอินทร์ เพราะมี  ตะคณะ เรียงกัน ๒ คณะ"  ฉันท์ชนิดนี้ เป็น เอกาทสักขรฉันท์บาทหนี่งกำหนดให้มี ๑๑ อักษร (๑๑ คำ) เวลาเขียนกำหนดให้เขียนบรรทัดละ ๑ บาท เรียงลงไปจนครบ ๔ บาท จึงเป็นคาถาหนึ่ง และกำหนดคณะที่ใช้ ๓ คณะคือ ต, ต,​ ช  และมีครุลอย (ครุที่ไม่นับเข้าเป็นคณะ) ๒ อักษรสุดท้ายของทุกบาท มี ยติ ๕-๖ คือเวลาสวดทำนอง ให้หยุดที่อักษรที่ ๕ และหยุดครั้งต่อไปอีก ๖ อักษร คือตัวสุดท้ายบาท

อินทรวิเชียรฉันท์ มีสูตรที่กล่าวถึงในคัมภีร์วุตโตทัย ว่า

อินฺทาทิกา  ตา  วชิรา  ช  คา  โค

มีรูปแบบดังนี้

 

อินทรวิเชียรฉันท์ มีสูตรที่กล่าวถึงในคัมภีร์วุตโตทัย ว่า

โย  จกฺขุมา  โมหมลาปกฏฺโฐ
สามํ ว  พุทฺโธ  สุคโต  วิมุตฺโต
มารสฺส  ปาสา  วินิโมจยนฺโต
ปาเปสิ  เขมํ  ชนตํ  วิเนยฺยํ 
               ฯเปฯ

ข้อสังเกต

ในฉันท์นี้  จะมีครุยาวถึง ๓ คู่  และมี  ลหุ  คั่นกลางทั้งนั้น  ยกเว้นหลักครุคู่ที่ ๒ เป็น ลหุ  คู่  ดังนั้น  ถ้าอักษรตัวที่ ๗ เป็น ครุ ฉันท์นี้  จะมี ลหุ คั่น ครุ คู่ ไว้ทั้งหมด

ข้อยกเว้น

ครุลอยตัวที่ ๒ (โค)  หรืออักษรตัวสุดท้ายของทุกบาทจะแต่งเป็นลหุก็ได้  เป็นข้อยกเว้นพิเศษ  แม้แต่งเป็นลหุ  ก็เป็น  ครุ  เรียกว่า ปาทันตครุ ครุท้ายบาท เช่นตัวอย่างว่า

ยนฺทุนฺนิมิตฺตํ  อวมงฺคลญฺ (ปาทันตครุ)
โย  จามนาโป  สกุณสฺส  สทฺโท (ครุลอย)
ปาปคฺคโห  ทุสฺสุปินํ  อกนฺตํ (ครุลอย)
พุทฺธานุภาเวน  วินาสเมนฺตุ (ปาทันตครุ)

 


ที่มา "หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ" พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙)

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search