วังสัฏฐฉันท์

วังสัฏฐฉันท์  ครูแปลว่า "ฉันท์เป็นที่ตั้งแห่งคณะมีเสียงไม่สม่ำเสมอกันเหมือนดนตรีสุสิระคือปี่หรือขลุ่ย"  (วํส  ปี่, ขลุ่ย)

ฉันท์นี้เป็นทวาทสักขรฉันท์  บาทหนึ่งมี ๑๒ อักษร (๑๒ คำ) มี ยติ ๕-๗ ใช้คณะลง ๔ คณะคือ ช, ต, ช, ร  ไม่มีครุลอย  อักษรสุดท้ายบาทของทุกบาท  จะแต่งเป็นลหุ ใช้เป็นปาทันตครุ ก็ได้เช่นกัน

 

ข้อสังเกต

ฉันท์นี้ต่างจากอินทรวงศ์ฉันท์เพียงอย่างเดียวคือ  อักษรหรือคำแรกของทุกบาท ในฉันท์นี้เป็น ลหุ เสียงสั้น ในอินทรวงศ์ฉันท์เป็น ครุ เสียงยาว เท่านั้น อีก ๑๑ อักษรต่อไป มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ

 

ในคัมภีร์วุตโตทัย แสดงสูตรของอินทรวงศ์ฉันท์ไว้ว่า

วทนฺติ  วํสฏฺฐมิทํ  ช  ตา  ช  รา

 

มีรูปแผนผังดังนี้

ตัวอย่าง

อิมสฺส  กาเล  ตติยสฺส  ราชิโน
พหู  ว  ราชาธิปตี  วิเทสิกา
พหู  สทูเต  วิชิตํ  อเปสยุ๊
ทยฺเยหิ  กาตุํ  สห มิตฺตสนฺถวํ
มมายิตํ  ปตฺถรตุญฺจ  สาสนํ
อยํ  วโร  การณุปายโกวิโท
อิเมธ  ปจฺจุคฺคมิ  สุฏฺฐุ  เมตฺติยา
นิวาสนฏฺฐานมทานุรูปโต ฯ
(ฉันท์เทอดพระเกียรติ ฯ ร.๓)

วังสัฏฐฉันท์นี้ มีครุคู่เพียงคู่เดียว  (วํสฏฺฐ)  นอนนั้นจะมี  ลหุ ครุ ๆ สลับกันไปเป็นการยากที่จะหาศัพท์ให้พอเหมาะพอดีได้  ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว  ฉันท์นี้จะแต่งยากกว่าทุกฉันท์ที่กำหนดให้ศึกษาในชั้นประโยค ป.ธ.๘  แต่หากแต่งให้ดีแล้ว จะมีความไพเราะและมีอรรถรสไม่น้อย  เช่นคาถาในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า

กิกีว  อณฺฑํ  จมรีว  วาลธึ
ปิยํว  ปุตฺตํ  นยนํว  เอกกํ
ตเถว  สีลํ  อนุรกฺขมานกา
สุเปสลา  โหถ  สทา  สคารวา ฯ

 


ที่มา "หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ" พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙)





 


40561715
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
7085
25622
84572
40302836
612740
937182
40561715

Your IP: 49.230.56.157
2024-04-24 05:42
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search