36.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 4

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 4)

 

(๔) ในกรณีที่การแก้ความเป็นรูปวิเคราะห์...

          ในกรณีที่การแก้ความเป็นรูปวิเคราะห์โดยมีสำนวนไทยว่า “เพราะว่า, เพราะอรรถว่า, เพราะวิเคราะห์ว่า” แล้วพิมพ์ข้อความต่อไป โดยเว้นวรรคไว้ เช่น “ชื่อว่ามงคล เพราะอรรถว่า เป็นเหตุถึง อธิบายว่า เป็นเครื่องบรรลุถึงความสำเร็จและความเจริญ แห่งสัตว์ทั้งหลาย” การเว้นวรรคระหว่าง เพราะอรรถว่า กับ เป็นเหตุถึง นั้น เป็นการแสดงให้รู้ว่าเป็นรูปวิเคราะห์

          อีกกรณีหนึ่ง ที่บ่งว่าความตอนนั้นเป็นรูปวิเคราะห์หรือใกล้เคียงรูปวิเคราะห์คือคำที่มีสำนวน ว่า “เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า........ ”

          ในกรณีแรกเป็นการแปลเข้า คือ แปลจากรูปสำเร็จเข้าไปหารูป วิเคราะห์ ในกรณีหลังเป็นการแปลออก คือ แปลรูปวิเคราะห์ออก ไป หารูปสำเร็จซึ่งอยู่ข้างนอก ทั้งนี้ท่านนับ อิติ ศัพท์เป็นประตูคั่นกลาง

          เมื่อสังเกตแล้วรู้ชัดว่าข้อความตอนนั้นเป็นรูปวิเคราะห์แน่นอน แล้ว จะต้องดำเนินการขั้นต่อไป คือ

 

          ๔.๑ รูปวิเคราะห์ที่น่ามาใช้จะต้องประกอบศัพท์และธาตุให้ตรง กับรูปสำเร็จ คือเป็นศัพท์ หรือเป็นธาตุตัวเดียวกัน ถ้าต่างกัน นิยมให้เป็นคำไขหรือคำอธิบายไป

          ๔.๒ ต้องวางศัพท์ที่ปรากฏในรูปสำเร็จทุกศัพท์ (ยกเว้นปัจจัย) ไม่ ว่าศัพท์นามหรือศัพท์กิริยาไว้ในรูปวิเคราะห์ ถ้าศัพท์ใดไม่มีในรูปวิเคราะห์ รูปสำเร็จจะออกศัพท์นั้นด้วยไม่ได้ แต่ศัพท์ในรูปวิเคราะห์ทุกศัพท์ไม่จำ ต้องนำมาเป็นรูปสำเร็จทุกศัพท์

          ๔.๓ ต้องคำนึงว่าจะประกอบรูปวิเคราะห์เป็นสาธนะอะไร เป็นวจนะอะไร เป็นรูปวิเคราะห์ในกิตก์ ในสมาส หรือในตัทธิต ข้อนี้ย่อมสังเกตได้จากคำที่ท่านแปล หรือจาการเทียบเคียงตามแบบที่ศึกษามาแล้ว

          ๔.๔ จะต้องวางศัพท์ต่างๆ ให้ถูกตำแหน่งตามแบบของรูปวิ เคราะห์นั้นๆ หากมีศัพท์เกินเข้ามา เช่น บทประธาน บทวิเสสนะ ต่างๆ ต้องวางหลบตำแหน่งของศัพท์ที่อยู่กับที่ แม้จะผิดหลักการวางศัพท์ก็ไม่ถือเป็นผิด

          ๔.๕ ทำเสร็จแล้วตรวจดูประธาน กิริยา รูปสำเร็จ เป็นต้น ว่า มีวจนะตรงกันหรือไม่ แล้วทดลองแปลโดยพยัญชนะดูว่าความจะเป็นไปอย่างไร ได้ความตามที่ต้องการหรือไม่

 

 

ต้วอย่างที่ ๑

ความไทย

: เหตุเหล่านั้นชื่อว่ามงคล เพราะอรรถว่า เป็นเหตุถึง

 

  (ความสำเร็จและความเจริญ) แห่งสัตว์ทั้งหลาย

เป็น

: มงฺคนฺติ อิเมหิ สตฺตาติ มงฺคลานิ (ตานิ การณานิ)

ชี้แจง

: รูปสำเร็จมาจาก มคิ ธาตุ ลา ปัจจัย รูปสำเร็จ

 

  มีศัพท์อยู่ในรูปวิเคราะห์ ส่วน สตฺตา เรียงไว้ท้าย เพราะ

 

  ถ้าเรียงไว้หน้าเป็นผิดที่ขวางทางรูปวิเคราะห์ จึงถอยมา

 

  อยู่ท้ายวิเคราะห์นี้ จะแต่งว่า

 

  :  สตฺตานํ มงฺคนฺติ อิเมหีติ มงฺคลานิ ฯ ไม่ถูก

 

  เพราะรูปวิเคราะห์นี้ เป็น กรณสาธนะ (อิเมหิ) ดู

 

  จากสำนวนไทยว่า เป็นเหตุ บทประธานในรูปวิเคราะห์

 

  ต้องแปลว่า “แห่ง” ในรูปสำเร็จ

                           

ต้วอย่างที่ ๒

ความไทย

: เจตนาอันยังวิญญัติเหล่านี้ให้ตั้งขึ้น ชื่อว่ามุสาวาท

 

  เพราะทำวิเคราะห์ว่า “เป็นเครื่องอันเขา” กล่าวคือ

 

  พูดคำเท็จ ฯ

เป็น

: ตถาวิญฺญตฺติสมุฏฺฐาปิกา เจตนา มุสาวาโท มุสา

 

  วาทิยติ วุจฺจติ เอตายาติ กตฺวา ฯ (มงฺคล ๑/๒๑๕)

ชี้แจง

: รูปวิเคราะห์นี้เป็นรูปวิเคราะห์พิเศษ มีเฉพาะใน

 

  มงคลทีปนิ วินยกถา เป็นส่วนใหญ่ คือ วางรูป

 

  วิเคราะห์ใว้ท้ายรูปสำเร็จ ถึงกระนั้นก็ตาม ยัง

 

  ต้องวางรูป แบบให้ถูกต้องรูปวิเคราะห์ทั่วไป และ

 

  รูปวิเคราะห์นี้เป็นกรณสาธนะ กัมมวาจก จึงแปลว่า

 

  “เป็นเครื่องอันเขา” บทประธานในรูปสำเร็จ แปลว่า

 

  “ซึ่ง” การวางรูปศัพท์ ท่านวางศัพท์ในรูปสำเร็จ

 

  ทุกคำไว้ในรูปวิเคราะห์

 

- มุสา + วาทิยติ

 = มุสาวาโท ถ้าแต่งเป็นอย่างอื่น เช่น

 

-มุสา กถิยติ วาทิยติ เอตาย หรือ

 

-มุสา วุจฺจติ กถิยติ เอตาย

รูปสำเร็จจะเป็น มุสาวาโท ไม่ได้ จะต้องเป็น มุสากถา และ มุสาวาจา ตามลำดับ

 

ต้วอย่างที่ ๓

ความไทย

: มูลของรูปรสนั้นซึ่งสำเร็จด้วยตัณหา และอวิชชา

 

  ถูกถอนขึ้นเสียแล้วด้วยมีด คืออริยมรรค เพราะเหตุนั้น

 

  จึงชื่อว่ามีมูลอันถูกถอนขึ้นเสียแล้ว ฯ

เป็น

: อริยมคฺคสตฺเถน อุจฺฉินฺนํ ตณฺหาวิชฺชามยํ

 

  มูลเมเตสนฺติ อุจฺฉินฺนมูลา ฯ (สมนฺต ๑/๒๐๗)

ชี้แจง

: สำนวนนี้แปลออกไปหารูปวิเคราะห์ ศัพท์ในรูป

 

  สำเร็จมีอยูในรูปวิเคราะห์ (อุจฺฉินฺนํ + มูลํ) และมี วจนะ

 

  เสมอกับรูปวิเคราะห์ (เอเตสํ = อุจฺฉินฺนมูลา)

 

  รูปวิเคราะห์นี้เป็นวิเคราะห์สมาส เทียบได้กับ                                                                                                                                            เทียบได้กับ

 

  วิเคราะห์ว่า เอกรตฺตึ วาโส อสฺสาติ เอกรตฺติวาโส

 

  เพราะฉะนั้นจะไม่มี เอเตสํ ในรูปวิเคราะห์ไม่ได้

                           

ต้วอย่างที่ ๔

ความไทย

: ก็ธุดงค์เหล่านี้เป็นองค์ของภิกษุผู้ชื่อว่าธุตะ เพราะ

 

  เป็นผู้กำจัดกิเลสได้ด้วยการสมาทานนั้น หรือญาณ

 

  อันได้โวหารว่า ธุตะ เพราะเครื่องกำจัดกิเลสเป็น

 

   องค์แห่งการสมาทานเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น

 

  การสมาทานเหล่านั้นจึงชื่อว่า ธุดงค์ ฯ

 

  (สนามหลวง ป.ธ.๙/๒๕๒๔)

เป็น

: อิมานิ ปน เตน เตน สมาทาเนน ธุตกิเลสตฺตา

 

  ธุตสฺส ภิกฺขุโน องฺคานิ, กิเลสธุนนโต วา ธุตนฺติ

 

  ลทฺธโวหารํ ญาณํ องฺคเมเตสนฺติ ธุตงฺคานิ

 

  (วิสุทฺธิ ๑/๑๐๐)

ชี้แจ้ง

: สำนวนนี้แปลออกไปทางรูปสำเร็จเช่นกัน และมี

 

  รูปวิเคราะห์ ๒ แบบ มี วา ศัพท์เป็นตัวเชื่อม

 

  ท่านเก็บเอา ศัพท์ว่า ธุต กับ องฺค ในรูปวิเคราะห์

 

  ไปเป็นรูปสำเร็จ

 

ต้วอย่างที่ ๕

ความไทย

: ก็ภิกษุย่อมนอนในที่ใดๆ จะเป็นวิหารก็ตาม เป็นเพิง

 

  ก็ตาม ที่นั้นๆ ชื่อว่าที่นอน ท่านย่อมนั่ง คือ พักผ่อน

 

  ในที่ใดๆ ที่นั้นชื่อว่าที่นั่ง รวมคำ ๒ คำ นั้นด้วยกัน

 

  เรียกว่า เสนาสนะ ฯ

เป็น

: ยตฺถ ยตฺถ หิ เสติ วิหาเร วา อฑฺฒโยคาทิมฺหิ

 

  วา ตํ ตํ เสนํ , ยตฺถ ยตฺถ อาสติ นิสิทติ ตํ

 

  ตํ อาสนํ, ตํ เอกโต กตฺวา เสนาสนนฺติ วุจฺจติ ฯ

 

   (วิสุทฺธิ ๑/๔๒)

ชี้แจ้ง

: รูปวิเคราะห์นี้ แม้จะเป็นรูปวิเคราะห์ที่ไม่เต็ม แบบ

 

  ไม่เหมือนรูปวิเคราะห์ทั่วไป แต่ก็พอเป็นแบบ

  พิจารณาได้ในข้อนี้นักศึกษาส่วนมากมักจะแต่งว่า

 

  ยตฺถ ยตฺถ หิ สยติ วิหาเร วา ตํ ตํ เสนํ (หรือ สยนํ)

 

  ยตฺถ ยตฺถ นิสิทติ อิริยติ ตํ ตํ อาสนํ ฯเปฯ

 

  เช่นนี้ รูปวิเคราะห์ คือ สยติ กับ เสนํ และ นิสีทติ

 

  กับ อาสนํ เข้ากันไม่ได้ ถ้ารูปวิเคราะห์เป็น สยติ

 

  รูปสำเร็จต้องเป็น สยนํ แม้เป็น สยนํ รูปรวมกัน

 

  จะต้องเป็น สยนาสนํ ขอนักศึกษา พึงพิเคราะห์

 

  ให้ละเอียดเถิด

          ยังมีตัวอย่างเปรียบเทียบอีกมาก และหลายรูปแบบ ขอให้นักศึกษาพึงทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในทุกๆ แบบ ก็จะเป็นอุปการะต่อไปในการแต่ง เมื่อเข้าใจการเดินรูปประโยคเสียแล้ว ย่อมสามารถจะวิเคราะห์ได้ทุกๆ รูปแบบ ขอให้เข้าใจให้ลึกซึ้งเป็นใช้ได้ 

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search