35.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 3

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 3)

 

๓. ในประโยคอธิบายความ...

          ในประโยคอธิบายความ หากมีบทอุปมา แล้วมีเรื่องเล่า (นิทาน) ตามบทอุปมานั้นมาด้วย นิยมเรียงบทอุปมานั้นไว้ท้ายกิริยาคุมพากย์ ส่วนนิบาตอุปมาโชตกนั้น ท่านใช้ทั้ง วิย ยถา ยถาตํ และ เสยฺยถา ใช้ได้ทั้งหมด แปลกแต่ว่า

: วิย วางไว้ต้นประโยคไม่ได้ ต้องวางไว้ท้ายประโยค

: ยถา วางไว้ต้นหรือท้ายประโยคก็ได้

: ยถาตํ และ เสยฺยถา วางไว้ต้นประโยค

 ดังตัวอย่างเช่น

ความไทย

: เพราะฉะนั้น แม้ศีลของภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วออก

 

  (จากอาบัติ) โดยเทสนาวิธีเป็นต้น ย่อมนำความสุข

 

  มาให้ได้ เหมือนศีลของพระสุธรรมเถระ ฯ

เป็น

: ตสฺมา อาปชฺชิตฺวา เทสนาทินา วุฏฐหโต สีลมฺปิ

 

  สุขาวหํ โหติ สุธมฺมตฺเถรสฺส วิย สีลํ ฯ

หรือ

: มาตาปิตุอุปฏฺฐาโก จ นาม วีสปีเตน สเรน วิทฺโธปิ

 

  มรณทุกฺขโต มุจฺจติ สุวณฺณสาโม วิย ยกฺขสนฺติกํ

 

  คโตปิ มุจฺจติ สุตโน นาม ทุคฺคโต วิย

หรือ

: โย ปน ฯเปฯ อญฺญตฺเรว โอภาสาทีหิ อุปฺปนฺนปจฺจเย

 

  ปฏิเสวติ, เอส ปรมสลฺเลขวุตฺตีติ วุจฺจติ

 

  เสยฺยถาปิ เถโร สารีปุตฺโต ฯ

 

 

๔. ในประโยคที่มีอุปมายาวๆ ...

            ในประโยคที่มีอุปมายาวๆ คือ มีข้อความเปรียบเทียบและคำขยายมาก ทั้งมีกิริยาอาการที่ทำด้วย ไม่นิยมแต่งเป็นรูป วิย แต่นิยมแบ่งประโยคอุปมาออกเป็นประโยคหนึ่งต่างหาก แล้วใช้ ยถา ตถา เอวํ เข้ามารับกัน ประโยคอุปมาใช้ ยถา ประโยคอุปไมยใช้ ตถา หรือ เอวํ และ จะวางประโยค ยถา ไว้หน้าประโยค ตถา เอวํ ก็ได้ วางไว้หลังก็ได้ แต่นิยมวางไว้หน้ามากกว่า

พึงดูตัวอย่าง

ความไทย

: ส่วนโยมชายควรกระทำการให้อาบนํ้า นาดฟั้น เป็นต้น

 

  ด้ายมือของตน บำรุงเหมือนกับ (ทำให้) สามเณร ฯ

 

  (สนามหลวง ป.ธ.๗/๒๕๑๘)

เป็น

: ปิตา ปน ยถา สามเณโร เอวํ สหตฺเถน นฺหาปน-

 

  สมฺพาหนาทีนิ กตฺาา อุปฏฐาตพฺโพ (มงฺคล ๑/๑๘๖)

 ไม่ใช่

: ปิตา ปน ยถา สามเณรสฺส เอวํ……

 

  หรือ ปิตา ปน ยถา สามเณรํ เอวํ……

ความไทย

: แม้ลักษณะของอุปจารบ้านนั้น ก็คือร่วมในแห่ง

 

  สถานที่ตกของก้อนดินที่ถูกขว้างไป ดุจคนหนุ่มๆ

 

  เมื่อจะแสดงพลังของตน เหยียดแขนขว้าง

 

  ก้อนดินไปฉะนั้น ฯ

 เป็น

: ตสฺส ลกฺขณมฺปิ ยถา ตรุณมนุสฺสา อตฺตโน พลํ

 

  ทสฺเสนฺตา พาหุํ ปสาเรตฺวา เลณฺฑุํ ขิปนฺติ

 

  เอวํ ขิตฺตสฺส เลณฺฑุสฺส ปตนฏฐานพฺภนฺตรํ ฯ

ไม่ใช่

: ตสฺส ลกฺขณมฺปิ อตฺตโน พลํ ทสฺเสนฺตา พาหุํ

 

  ปสาเรตฺวา เลณฺฑุํ ขิปนฺติ ตรุณมนุสฺสา วิย

 

  ขิตฺตสฺส เลณฺฑุสฺส ปตนฏฐานพฺภนฺตรํ ฯ

 

  

๕. ในประโยคอุปมาสั้นๆ ...

          ในประโยคอุปมาสั้นๆ จะแยกเป็นประโยค ยถา ตถา หรือ จะใช้ วิย ศัพท์ ก็ได้ ทั้งนี้ ลองพิจารณาดูตามความเหมาะสมว่าควร จะเป็นไปในรูปใด เช่น

ความไทย

: แม้ท่านก็จักตายเหมือนนกตัวนี้ ฯ

เป็น

: เอโส วิย ตฺวํปิ มริสฺสสิ ฯ (๕/๓๓)

หรือ

: ยถา เอโส ตถา ตฺวํปิ มริสฺสสิ ฯ (ใช้ได้)

ความไทย

: บุรุษใด ไม่มีสหายในหมู่บ้าน หมู่บ้านนั้นของเขา

 

  ย่อมเป็นเหมือนป่าทีไร้ผู้คน ฯ

เป็น

: ยสฺส ปุริสฺส คาโม สหาโย นตฺถิ ตสฺส โส คาโม,

 

  ยถา นิมฺมนุสฺสํ อรญฺญํ, ตเถว โหติ ฯ

หรือ

: ฯเปฯ ตสฺส โส คาโม นิมฺมนุสฺสํ อรญฺญํ วิย โหติ ฯ (ใช้ได้)

ความไทย

: บุคคลเหล่าใดเป็นผู้ประมาทแล้ว บุคคลเหล่านั้น

 

  เป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว

เป็น

: เย ปมตฺตา ยถา มตา ฯ

หรือ

: เย ปมตฺตา, เต ยถา มตา โหนฺติ ตถา โหนฺติ ฯ (ใช้ได้)

หรือ

: เย ปมตฺตา เต มตา วิย โหนฺติ ฯ (ใช้ได้)

 

 

๖. ในประโยคอุปมาที่มีกิริยาตัวเดียวกับประโยคอุปไมย...

          ในประโยคอุปมาที่มีกิริยาตัวเดียวกบประโยคอุปไมย คือ มุ่ง ถึงกิริยาอาการที่เหมือนกัน เป็นการเปรียบเทียบลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวกัน มีความนิยมดังนี้

 - ในประโยคอุปมาไม่ต้องใส่กิริยา ที่มีความเช่นเดียวกับกิริยา ในประโยคอุปไมยไว้อีก ให้ละไวในฐานที่เข้าใจ

 - ประโยคอุปมานั้นนิยมประกอบกับ วิย ศัพท์ มากกว่า อุปมาโชตกอื่น

 - นิยมวางเฉพาะศัพท์ที่ไม่เหมือนกับศัพท์ ในประโยคอุปไมย ไว้เท่านั้น

 - ถ้าในประโยคอุปมามีเพียงศัพท์เดียวคู่กับ วิย นิยมเรียงไว้หน้ากิริยาในประโยคอุปไมย ถ้ามีหลายศัพท์นิยมเรียงไว้หลังกิริยาในประโยคอุปไมยและเรียงไปตามหลักการเรียงปกติ แต่ไม่ต้องใส่กิริยาเข้ามารับ คงปล่อยไว้ให้ประโยคห้วนเฉยๆ

ดูต้วอย่างประกอบ

ศัพท์

: อญฺเญปิ โสตาปนฺนสกทาคามิอนาคามิโน อานนฺทตฺเถโร วิย

 

  สตฺถุ ทสฺสนํ สตฺถุ วจนสวนญฺจ ลภนฺติ ฯ (มงฺคล ๑/๙๓

 (ประโยคเต็มเป็น สตฺถุ ทสฺสนํ สตฺถุ วจนสวนญฺจ ลภมาโน อานนฺทตฺเถโร วิย)

:โอภาเสตฺวาติ อาภาย ผริตฺวา จนฺทสุริยา วิย เอโกภาสํ

  กริตฺวาตฺยตฺโถ ฯ (มงฺคล ๑/๘)

 (ประโยคเต็มเป็น เอโกภาสํ กโรนฺตา จนฺทสุริยา วิย)

 

หลายศัพท์วางหน้า

: ยาว หิ อิมา จตสฺโส ปริสา มํ อิมาย ปฏิปตฺติปูชาย ปูเชสฺสติ  ตาว มม

  สาสนํ นภมชฺเฌ ปุณฺณจนฺโท วิย วิโรจิสฺสติ ฯ  (มงฺคล ๑/๗๗)

 (ประโยคเต็ม คือ นภมชฺเฌ วิโรจมาโน ปุณฺณจนฺโท วิย)

 

หลายศัพท์วางหลัง

: อยํ หิ ปิณฺฑปาตปฏิเสวนปจฺจยา กายพลํ นิสฺสาย สิกฺขตฺตยานุโลมวเสน

  ภวกนฺตาร­นิตฺถรณตฺถํ ปฏิปชฺชนฺโต พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย

  ปฏิเสวติ กนฺตารนิตฺถรณตฺถิกา ปุตฺตมํสํ วิย นทีนิตฺถรณตฺถิกา

  กุลฺลํ วิย สมุทฺทนิตฺถรณตฺถิกา นาวมิว จ ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๔๐)

 (ประโยคเต็มเป็น ...ปุตฺตมํสํ ปฏิเสวมานา วิย...กุลฺลํ ปฏิเสวมานา วิย...นาวํ ปฏิเสวมานา อิว จ)

 

ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เปรียบเทียบ

: เอวํ อสมฺปาทิเต หิ เอตสฺมึ ปาฏโมกฺขสีลมฺปิ

  อนทฺธนียํ โหติ อจิรฏฐิติกํ อสํวิหิตาสาขาปริวารมิว

  สสฺสํ ฯ หญฺญเต จายํ กิเลสโจเรหิ วิวฏทฺวาโร วิย คาโม

  ปรสฺส หารีหิ ฯ จิตฺตญฺจสฺส ราโค สมติวิชฺฌติ

  ทุจฺฉนฺนมคารํ วุฏฺฐิ วิย ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๔๔)

 

            พึงสังเกตการวางตำแหน่งศัพท์ในประโยค ท่านวางตำแหน่งศัพท์ ในประโยคอุปมาไว้ในตำแหน่งเดียวกับในประโยคอุปไมยทั้งหมด เช่น

  • - หญฺญเต จายํ กิเลสโจเรหิ

(กิริยา - วิเสสนะ - อนภิหิตกัตตา)

  • - (หญฺญมาโน) วิวฏฺทฺวาโร คาโม ปรสฺส หารีหิ ฯ

(กิริยา - วิเสสนะ - อนภิหิตกัตตา)

  • - อโยนิโส ปวตฺตยโต หิ อิฏฺฐชนมรณานุสฺสรเณ โสโก อุปฺปชฺชติ วิชาตมาตุยา มรณานุสฺสรเณ วิย ฯเปฯ อตฺตโน มรณานุสฺสรเณ สนฺตาโส อุปฺปชฺชติ อุกฺขิตฺตาสิกวธกํ  ทิสฺวา ภีรุกชาติกสฺส วิย ฯ (วิสุทฺธิ ๒/๒)

 

 

๗. ในกรณีที่มีการเทียบเคียงอุปมาอุปไมยเพื่อให้เข้าใจชัดเจน...

          ในกรณีที่มีการเทียบเคียงอุปมาอุปไมยเพื่อให้เข้าใจชัดเจน ส่วนมากจะมีรูปประโยคเป็นลิงคตฺถทั้ง ๒ ประโยค มีความนิยมดังนี้

  • - วางประโยคอุปมาไว้หน้าประโยคอุปไมย ใส่เนื้อความเต็มทั้ง ๒ ประโยค ไม่นิยมละไว้ฐานเข้าใจ
  • - ประโยคแรกนิยมใช้ยถา ตถา รับ ประโยคต่อๆ มาใช้วิย ศัพท์ ทั้งหมด
  • - จะใช้ วิย ศัพท์ทั้งหมด ตั้งแต่แรกก็ได้

ดูติวิอย่างประกอบ

  • - ยถา หิ ตสฺสา กุกฺกุฏิยา อตฺตโน อณุเฑสุ อธิสยิตาทิ­ติวิธกิริยากรณํ, เอวํ โพธิปลฺลงฺเก นิสินฺนสฺส โพธิสตฺตกตสฺส ภควโต อตฺตโน จิตฺตสนฺตาเน อนิจฺจํ ทุกฺขมนตฺตาติ ติวิธานุปสฺสนากรณํฯ กุกฺกุฏิยา ติวิธกิริยาสมฺปาทเนน อณุทานํ อปูติภาโว วิย โพธิสตฺตภูตสฺส ภควโต ติวิธานุปสฺสนาสมฺปาทเนน วิปสฺสนญาณสุส อปริหานิ ฯ (สมนฺต ๑/๑๒๕)
  • - ยถา หิ ตาลวเน ทฺวตฺตึส ตาลา, เอวํ อิมสฺมึ กาเย ทฺวตฺตึส โกฏฐาสา, มกฺกโฏ วิย จิตฺตํ ฯ ลุทฺโธ วิย โยคาวจโร ฯ มกฺกฏสฺส ทฺวตฺตึสตาลเก ตาลวเน นิวาโส วิย โยคโน จิตฺตสฺส ทฺวตฺตึสโกฏฐาสเก กาเย อารมฺมณวเสน อนุสญฺจรณํ ฯ (วิสุทฺธิ ๒/๒๓)
  • - ปลฺลเล อุทกสฺส อภาโว วิย หิ อิเมสํ วสนฏฐานสฺส อภาโว, มจฺฉานํ ขีณภาโว วิย อิเมสํ โภคานํ อภาโว (๔/๑๑๙-๑๒๐)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search