30.บทที่ ๖ การแปลงประโยคและการล้มประโยค (การล้มประโยคโดยวิธีย่อประโยค)

 

การล้มประโยค

          การล้มประโยคโดยวิธีย่อประโยคหลายๆ ประโยค ให้เป็น ประโยคเดียวกันคือ วิธีตัด ย. ต. ออกก็ดี โดยวิธีขยายประโยคยาวๆ ให้เป็น ๒ ประโยค คือ เพิ่ม ย. ต. เข้ามา ก็ดี เหล่านี้มีกระบวนวิธีทำ สลับซับซ้อนมากมาย ไม่อาจชี้แจงให้หมดสิ้นได้ จึงจะแสดงเฉพาะที่เห็นง่ายๆ และทำได้ไม่ยากนักดังนี้

 

การล้มประโยคโดยวิธีย่อประโยค

          ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าประโยค ย ต นั้น เรียกเป็นภาษาไวยากรณ์ ว่าสังกรประโยค ในประโยค ย ต นั้น ประโยค ย ถือว่าเป็นประโยคขยายประโยค ต อีกทีหนึ่ง อาจขยายบทประธานในประโยค ต ก็ได้ หรือขยายบทกิริยา บทวิเสสนะ เป็นต้นก็ได้ ขอให้ดูตัวอย่าง

ขยายบทประธาน :

โย ทุกขา มุจฺจิตุกาโม , โส มยา สทฺธึ อาคจฺฉตุ ฯ (๑/๑๓๒)

ขยายบทกิริยาวิเสสนะ :

ยาวาหํ ชีวามิ,  ตาว เม จตฺตาโร ปจฺจเย อธิวาเสถ ฯ (๑/๙๑)

ขยายบทกิริยาวิเสสนะ (อุปมา) :

ยเถว ตุมฺเห ตํ น ปสฺสถ,  ตถา โสปิ เต ปาเณ น ปสฺสติ ฯ (๑/๑๙)

ขยายบทกรรม :

ยํ อิจฺฉติ, ตํ กโรตุ ฯ (๑/๑๓๖)

          เมื่อเข้าใจว่าประโยค ย คือ ประโยคขยายบทต่างๆ ในประโยค ต ดังนี้แล้ว เวลาล้มประโยคทั้ง ๒ เข้าด้วยกัน เนื้อความในประโยค ย ทั้งหมดจะมีลักษณะเป็นบทขยายบทต่างๆ ในประโยค ต ทันที ขอ ให้ดูวิธีการดังต่อไปนี้

 

ตัวอย่างประโยค ย ขยายบทประธาน

          (๑) ตัด ย ต ออกให้หมดทุกครั้ง เหลือนอกนั้นให้คงไว้ซึ่งในบาง กรณี เพียงแค่นี้ก็สำเร็จประโยชน์แล้ว เช่น

ความไทย

: ผู้ต้องการพ้นทุกข์จงมากับเรา

เดิม

= โย  ทุกฺขา มุจฺจิตุกาโม, โส มยา สทฺธึ อาคจฺฉตุ ฯ

เป็น

= ทุกฺขา มุจฺจิตุกาโม มยา สทฺธึ อาคจฺฉตุ ฯ

ความไทย

: สิ่งของของพ่อแม่ย่อมเป็นของลูกทุกคน

เดิม

= ยานิ มาตาปิตูนํ วตฺถูนิ, ตานิ สพฺเพสํ ปุตฺตานํ สนฺตกานิ ฯ

เป็น

= มาตาปิตูนํ วตฺถูนิ สพฺเพสํ ปุตฺตานํ สนฺตกานิ ฯ

 

           (๒) ถ้าประโยค ย มีกิริยาคุมพากย์อยู่ ให้เปลี่ยนกิริยานั้นเป็น กิริยาซึ่งเป็นบทวิเสสนะของ ต หรือ เป็นอัพภันตรกิริยา โดยประกอบ เป็นกิริยากิตก์ด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัย ตัวใดตัวหนึ่ง ตามกาลเดิม ของกิริยาคุมพากย์ ซึ่งเปลี่ยนมานั้น ส่วนรูปวาจกจะเป็นอย่างไรก็ แล้วแต่เนื้อความเดิม เช่น

ความไทย

: ผู้คบพวกคนพาล ย่อมจะถึงความพินาศ

เดิม

= โย ปุคฺคโล พาเล เสวติ, โส วินาสํ ปาปุณาติ ฯ

เป็น

= ปุคฺคโล พาเล เสวนฺโต วินาสํ ปาปุณาติ ฯ

หรือ

= พาเล เสวมาโน ปุคฺคโล วินาสํ ปาปุณาติ ฯ

ความไทย

: เหตุการณ์ ที่ข้าพเจ้าคิดไว้แล้วครั้งนั้น เป็นจริงขึ้นแล้ว ในบัดนี้

เดิม

= ยํ ตทา จินฺเตสึ, ตํ การณํ อิทานิ ตถา ชาตํ ฯ

เป็น

= ตทา จินฺติตํ การณํ อิทานิ ตถา ชาตํ ฯ

 

           (๓) ถ้าในประโยค ย มีบทขยาย ย มาก เมื่อลบ ย ต แล้ว ศัพท์วิเสสนะต่างๆ อาจเรียงไม่ถูกที่ถูกทางหลักการเรียง ก็ให้จับเรียงเสียใหม่ให้ถูกที่ได้ เช่น

ความไทย

: พ่อ ทรัพย์สินที่มือยูในสกุลนี้ นั้งสวิญญาณกทรัพย์ ทั้งอวิญญาณกทรัพย์ จงเป็นภาระของ พ่อทั้งหมด

เดิม

= ตาต ยํ อิมสมึ กุเล สวิญฺญาณกาวิญฺญาณกํ ธนํ กิญฺจิ อตฺถิ, สพพนฺตํ ตว ภาโร ฯ (๑/๖)

เป็น

= สพฺพํ อิมสมึ กุเล วิชฺชมานํ ฯเปฯ ธนํ  ตว ภาโร ฯ (๑/๖)

 

ตัวอย่างประโยค ย ขยายกิริยาวิเสสนะ (อุปมา)

(๑) ตัด ยถา ตถา หรือ เอวํ ออกเสียทั้งหมด แต่ให้ใส่ วิย เข้ามาแทน ยถา

(๒) ถ้ากิริยาคุมพากย์ ในประโยค ยถา ซํ้ากับกิริยาในประโยคหลัง ก็ให้ตัดออกเสีย ถ้าไม่ซํ้ากัน ต้องแปลงกิริยานั้นเป็นรูป อนฺต มาน ปัจจัย แล้วแต่วาจกเดิม

(๓) ข้อความในประโยค ยถา เดิม นิยมให้อยู่ในวงของ วิย ทั้งหมด

 

ดูตัวอย่างประกอบ

ความไทย

: แม้พระเถระนั้นก็ไม่เห็นสัตว์มีปราณเหล่านั้น เหมือนพวก เธอไม่เห็นพระเถระนั้นนั่นแหละ

เดิม

= ยเถว ตุมฺเห ตํ น ปสฺสถ, ตถา โสปิ เต ปาเณ น ปสฺสติ ฯ (๑/๑๙)

เป็น

= ตุมฺเห ตํ วิย โสปิ เต ปาเณ น ปสฺสติ ฯ

หรือ

= ตุมฺหากํ ตสฺส อปสฺสนํ วิย โสปิ เต ปาเณ น ปสฺสติ ฯ (๑/๑๙)

ความไทย

: ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตพึงเว้นบาปทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อยเสีย เหมือนผู้ต้องการเป็นอยู่ เว้นยาพิษอันร้ายแรง ฉะนั้น

เดิม

= ยถา ชีวิตุกาโม หลาหลํ วิสํ ปริวชฺเชติ, เอวํ ปณฺฑิโต ภิกฺขุ อปฺปมตฺตานิปิ ปาปานิ ปริวชฺเชยฺย ฯ

เป็น

= ชีวิตุกาโม หลาหลํ วิสํ วิย ปณฺฑิโต ภิกฺขุ อปฺปมตฺตานิปิ ปาปานิ ปริวชฺเชยฺย ฯ

 

ตัวอย่างประโยค ย ขยายกิริยาวิเสสนะ (ยาว - ตาว)

(๑) ตัด ตาว ออก ให้เหลือแต่ ยาว ในประโยคหน้า

(๒) แปลงกิริยาคุมพากย่ในประโยค ยาว เป็นกิริยานาม และ ประกอบด้วย ปัญจมีวิภัตดิ ลงท้ายด้วย อา เพื่อรับกับ ยาว

(๓) แปลงบทประธานในประโยค ยาว ให้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ

(๔) บทประธานในประโยค ตาว จะย้ายไปไว้หน้า ยาว ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ดูรูปประโยคเป็นเกณฑ์

 

ตัวอย่างเช่น

ความไทย

: ขอพระองค์ทรงรับปัจจัยลี่ของข้าพระองค์ ตราบเท่าที่ข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่

เดิม

= ยาวาหํ ชีวามิ, ตาว เม จตฺตาโร ปจฺจเย อธิวาเสถ ฯ (๑/๙๑)

เป็น

= ยาว มยฺหํ ชีวนา เม จตฺตาโร ปจฺจเย อธิวาเสถ ฯ

ความไทย

: เทพยดาทั้งหลาย ก็ส่งขนมทิพยใปให้แก่พระกุมารนั้น ตลอดเวลาที่พระกุมาร ยังอยู่ท่ามกลางเรือน

เดิม

= ยาว อคารมชฺเฌ วสิ, ตาวสฺส เทาตา ทิพฺพปูเว ปหิณึสุ ฯ (๑/๑๒๖)

เป็น

= ยาว อคารมชฺเฌ วสนาสฺส เทาตา ทิพฺพปูเว ปหิณึสุ ฯ

หรือ

= ยาวสฺส อคารมชฺเฌ วสนา เทาตา ทิพฺพปูเว ปหิณึสุ ฯ

 

ตัวอย่างประโยค ย ขยายบทกิริยาหรือขยายนาม

          บทขยายกิริยาในที่นี้ ได้แก่ บทที่สัมพันธ์เข้ากับกิริยา เช่น บทตติยาวิภัตดิ ปัญจมีวิภัตดิ เป็นต้น บทขยายนาม คือ บทที่สัมพันธ์เข้ากับนาม เช่น บทฉัฏฐีวิภัตดิ เป็นต้น บทเหล่านี้ ถ้ามีประโยค ย ขยาย และต้องการล้มประโยค ย นั้นเสีย พึงทำดังนี้

(๑) ตัด ย ตที่รับกันออกเสีย เหลือไว้แต่รูปปัจจัย หรือวิภัตดิใน ประโยค ต เท่านั้น

(๒) ให้เอาบทประธานในประโยค ย มาสมาสกับกิริยาเดิมของตน โดยให้วางกิริยาไว้ข้างหน้า แล้วนำบทสมาสนั้นมาประกอบกับปัจจัย หรือวิภัตติที่เหลือไว้ในประโยค ต

(๓) บทประธานในประโยค ต จะย้ายไปไว้ต้นประโยคบ้างก็ได้ ดูที่ความสละสลวยของประโยค

 

ตัวอย่างเช่น

ความไทย

: ทานนี้ มีผลมากกว่า ทานที่ท่านถวาย ด้วยการบริจาคทรัพย์โกฏิหนึ่ง

เดิม

= อิทํ ทานํ, ยํ ตยา โกฏิธนปริจฺจาเคน ทินฺนํ, ตโต มหปฺผลตรํ ฯ

เป็น

= อิทํ ทานํ ตยา โกฏิธนปริจฺจาเคน ทินฺนทานโต มหปฺผลตรํ ฯ

ความไทย

: พระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งสักการะที่ข้าพระองค์ กั้นร่มดอกไม้ตลอดเจ็ดวัน กระทำแล้วนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ หรือ ความเป็นพรหมอย่างอื่น (สนามหลวง ป.๔/๒๕๑๖)

เดิม

= ภนฺเต ยฺวายํ มยา สตฺตาหํ ปุปฺผจฺฉตฺตํ ธาเรนฺเตน สกฺกาโร กโต, อหํ อิมสฺส ผเลน อญฺญํ สกฺกตฺตํ วา พรหฺมตฺตํ วา น ปตฺเถมิ ฯ (๑/๑๐๑)

เป็น

= อหํ ภนฺเต อิมสฺส มยา สตฺตาหํ ปุปฺผจฺฉตฺตํ ธาเรนฺเตน กตสกฺการสฺส ผเลน ฯเปฯ น ปตฺเถมิ ฯ

หรือ

= อหํ ภนฺเต อิมสฺส มยา สตฺตาหํ ปุปฺผจฺฉตฺตํ ธาเรนฺเตน กตสฺส สกฺการสฺส ผเลน ฯเปฯ น ปตฺเถมิ ฯ

 

 

ตัวอย่างประโยค ย ขยายเหตุ (ยสฺมา ตสุมา)

(๑) ตัด ยสฺมา ตสฺมา ออก แล้วใส่ปัจจัยในภาวตัทธิต คือ ตฺต ตา หรือ ภาว ศัพท์ หรือ โต ปัจจัยแทน โดยมีรูปเป็น ตฺตา ตาย ภาเวน โต

(๒) กิริยาคุมพากยในประโยค ย ถ้าเป็นกิริยาอาขยาต ให้แปลง เป็นกิริยากิตก์ รักษากาลไว้ แต่วาจกต้องเปลี่ยนเป็นกัมมวาจก (เว้นไว้แต่ประโยค ย เป็นอกัมมธาตุ) แล้วนำมาประกอบกับ ตฺตา ตาย ภาเวน หรือ โต ตัวใดตัวหนึ่ง

(๓) ถ้าประโยค ย เป็นกัตตุวาจก บทประธานจะต้องเปลี่ยนเป็น ตติยาวิภัตติ บทกรรมต้องเปลี่ยนเป็นฉัฏฐีวิภัตติ ถ้าเป็นประโยคกัมม­วาจก บทประธานต้องเปลี่ยนเป็นฉัฏฐีวิภัตติ

 

ดูตัวอย่าง

ความไทย

: เพราะเขาจะทำกรรมนั้น ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงห้ามเขาไว้

เดิม

= ยสฺมา โส ตํ กมฺมํ กเรยฺย ตสฺมา ตํ นิวาเรสิ ฯ

เป็น

= เตน ตสฺส กมฺมสฺส กตฺตพฺพตฺตา (กตฺตพฺพ­ภาเวน) ตํ นิวาเรสิ ฯ

ความไทย

: เพราะบัดนี้ ภิกษุนั้นบังเกิดที่ดุสิตวิมานแล้ว ดังนั้นเรา จึงอนุญาตให้พวกเธอถือเอาจีวรได้

เดิม

= ยสฺมา ปเนโส อิทานิ ตุสิตวิมาเน นิพฺพตฺโต, ตสฺมา มยา ตุมฺหากํ จีวรคฺคหณํ อนุญฺญาตํ ฯ (๗/๑๐)

เป็น

= อิทานิ ปนสฺส ตุสิตวิมาเน นิพฺพตฺตตฺตา (นิพฺพตฺตตาย), มยา ตุมฺหากํ จีวรคฺคหณํ อนุญฺญาตํ ฯ

 

ตัวอย่างประโยค ย ขยายกาลสัตตมี (ยทา ตทา)

(๑) ตัด ยทา ตทา ออก ใส่คำว่า กาเล เข้ามาแทน

(๒) กิริยาคุมพากย์ในประโยค ยทา ถ้าเป็นกิริยาอาขยาต ให้ เปลี่ยนเป็นกิริยากิตก์ ประกอบด้วย ต มาน ปัจจัย ตามเนื้อความว่า เป็นอดีต หรือปัจจุบัน ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ ให้เปลี่ยนเป็นกิริยานาม ดังกล่าวมาแล้วในต้นๆ (เรื่อง ยสฺมา-ตสฺมา) แล้วนำมาสมาสกับ คำว่า กาเส

(๓) ถ้าในประโยค ยทา เป็นประโยคมีวิกติกัตตา ให้ตัดกิริยาคุมพากย์ ว่ามี ว่าเป็น ออก แล้วนำบทวิกติกัตตานั้นสมาสกับคำว่า กาเล แทน กิริยา

(๔) บทประธานในประโยค ยทา ต้องประกอบเป็นฉัฏฐีวิภัตติ

 

ดูตัวอย่างประกอบ

ความไทย

: ในเวลาที่ครรภ์ ตั้งขึ้น ในท้องของเธอ เธอพึงบอกฉัน (ป.๔/๒๕๐๖)

เดิม

= ยทา เต กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาติ, ตทา เม อาโรเจยฺยาสิ ฯ (๑/๔๓)

เป็น

= ตว (ไมใช่ เต) กุจฺฉิยํ คพฺภสฺส ปติฏฺฐมานกาเล มยฺหํ อาโรเจยฺยาสิ ฯ

ความไทย

: คราวเมื่อทุพภิกขภัย เกิดขึ้น ในเมืองเวสาลี พวกภิกษุ เป็นอยู่กันด้วยความลำบาก

เดิม

= ยทา เวสาลิยํ ทุพฺภิกฺขภยํ อุปฺปชฺชิ, ตทา ภิกฺขู กิจฺเฉน ชีวึสุ ฯ

เป็น

= เวสาลิยํ ทุพฺภิกฺขภยสิส อุปฺปนฺนกาเล ภิกฺขู กิจฺเฉน ชีวึสุ ฯ

ความไทย

: บิดามารดาของพระเถระ สิ้นชีวิตเสียแต่เวลาที่ พระเถระยังเด็ก

เดิม

= ยทา เถโร กุมารโก, ตทา ตสฺส มาตาปิตโร กาลมกํสุ ฯ

เป็น

= เถรสฺส กุมารกกาเล มาตาปิตโร กาลมกํสุ ฯ

 

ตัวอย่างประโยค ย ขยาย บทกรรม

 

(๑) ตัด ย ต ออก

(๒) กิริยาคุมพากย์ ในประโยค ย ให้ประกอบเป็นรูปกัมมวาจก ต มาน ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเนื้อความว่าเป็นอดีตหรือปัจจุบัน

(๓) บทประธานในประโยค ย ที่เป็นกัตตุวาจก ให้ประกอบเป็น ตติยาวิภัตดิ

 

ดูตัวอย่างประกอบ

ความไทย

: เขาจงทำสิ่งที่เขาปรารถนาเถิด

เดิม

= ยํ อิจฺฉติ, ตํ กโรตุ ฯ

เป็น

= อิจฺฉิยมานํ กโรตุ ฯ

ความไทย

: เธอจงกล่าวคำที่เรากล่าว

เดิม

= ยมหํ วทามิ , ตํ วเทหิ ฯ

เป็น

= มยา วุจฺจมานํ วเทหิ ฯ

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


40473774
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
22218
29341
170938
40100302
524799
937182
40473774

Your IP: 18.224.30.118
2024-04-20 20:09
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search