27.บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (ศัพท์ที่เป็นคู่กัน, ศัพท์แทนกัน, ศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกัน, การแปลงศัพท์)

 

การใช้ศัพท์เป็นคู่กัน

           ศัพท์ในภาษามคธบางศัพท์ บางความหมาย มีศัพท์ที่เป็นคู่กัน เช่นเดียวกับภาษาไทย แต่เวลาใช้ศัพท์เรียงเข้าประโยค จะต้องเลือก ศัพท์ที่มีลักษณะเป็นคู่ๆ คือ คู่ใคร คู่มัน ศัพท์ที่เป็นคู่เช่นนี้ มักมีรูปร่าง คล้ายๆ กัน ประกอบด้วยปัจจัย เป็นต้น อย่างเดียวกัน เช่น ขชฺช คู่กับ โภชฺช ขาทนีย คู่กับ โภชนีย เป็นต้น เวลาใช้นิยมใช้ไม่ให้สลับคู่กัน ตัวอย่างว่า

  • : อุบาสกคนหนึ่ง นำของเคี้ยว ของฉัน ไปวัดแล้ว ได้ ถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
  • : อุปาสโก ขชฺญฺจ โภชนียญฺจ อาทาย วิหารํ คนฺตฺวา อญฺญตรสฺส ภิกฺขุโน อทาสิ ฯ

          ใช้ศัพท์อย่างนี้เรียกว่า ใช้ศัพท์ผิดคู่ หรือผิดฝาผิดตัวกัน แม้จะแปลได้เหมือนกันก็ตาม ก็ถือว่าผิดความนิยมของภาษา ทำให้เสียรสภาษาทางวรรณคดี และไม่สละสลวยด้วยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงควรระวังการใช้ศัพท์ประเภทนี้ให้ถูกต้องไว้เป็นดี

          ต่อไปนี้ จักยกตัวอย่างศัพท์ที่เป็นคู่ไว้ให้ดูพอเป็นอุทาหรณ์ และ เพื่อนำมาใช้ได้ถูกต้อง

ความไทย

ศัพท์คู่

 

 

บุญบาป, ความดีความชั่ว

ปุญฺญ-ปาป, กุสล-อกุสล

ซ้าย ขวา

วาม-ทกฺขิณ

ข้างบน ข้างล่าง

อุปริ-เหฏฺฐา, อุปริม-เหฏฺฐิม

เพียงใด เพียงนั้น

ยาว-ตาว, ยาวตา-ตาวตา

ฉันใด ฉันนั้น

ยถา-ตถา, ยถา-เอวํ

ข้างหน้า ข้างหลัง

ปุรโต-ปจฺฉโต

ก่อน ภายหลัง

ปุรํ-ปจฺฉา

ข้างนอก ข้างใน

พหิ-อนฺโต

เด็กชาย เด็กหญิง

กุมาโร-กุมารี

ขันติ โสรัจจะ

ขนฺติ-โสรจฺจ ขมา-โสรตา

ฯลฯ

 

 

การใช้ศัพท์แทนกัน

          ในบางครั้ง นักศึกษาไม่สามารถจำศัพท์ตามแบบได้ หรือไม่อาจตัดสินใจได้ว่า จะต้องใช้ศัพท์เช่นไร ในข้อความตอนนั้น เพราะอาจใช้ได้ หลายศัพท์ ในข้อความอย่างเดียวกัน เมื่อจะต้องตัดสินใจใช้ศัพท์เช่นนี้ ก็เป็นความลำบากอยู่เหมือนกัน

          เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นต้องคำนึงว่า เมื่อจะใช้ศัพท์ที่เหมือน กันมาใช้แทนกันในประโยค จะต้องแน่ใจว่า ศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนกัน และเท่ากันกับที่ต้องการ ทั้งต้องใช้ในกรณีเช่นนั้นได้ด้วย จึงจะ แทนกันได้ มีใช่สักแต่ว่าแปลเหมือนกัน ก็ใช้แทนกันได้เลย เช่น ความ ไทยว่า ภิกษุอยู่ที่บ้าน ก็แต่งไปตามตัวว่า ภิกฺขุ ฆเร วสติ อย่างนี้ ถือว่า ใช้ศัพท์ผิดเพราะกิริยาอยู่ ของพระถ้าอยู่ตามปกติใช้ วิหรติ ถ้าอยู่ในที่ ที่มีใช่ที่อยู่ประจำใช้ โหติ เป็นต้น

          ดังนั้น ก่อนใช้ศัพท์แทนกัน ต้องมั่นใจว่าแทนกันได้จริงๆ และได้ ความหมายเท่าเดิม หรือหย่อนไปบ้างเล็กน้อยก็พอไปได้ ไม่ใช่ถึงกับผิดกันเป็นหน้ามือหลังมือฉะนี้

          ต่อไปนี้ จักแสดงศัพท์ที่ใช้แทนกันได้พอเป็นตัวอย่าง

 

ความไทย

ศัพท์ที่ใช้แทนกันได้

 

ครั้งนั้น

อถ ตโต

ในระหว่าง

อนฺตรา

เสมอ เนืองๆ ประจำ

นิจฺจํ สทา อภิณฺหํ อภิกฺขณํ

ไม่นาน ไม่นานนัก

นจิรํ นจริสฺเสว

เวลาเย็น

สายํ สายณฺเห สายณฺหสมเย สายณฺหกาเล

ศรีษะ

สิร สีส

ร่างกาย

กาโย เทโห สรีรํ คตฺตํ อตฺตภาโว

ญาติพี่น้อง

ญาติ ญาติกา ญาตกา พนฺธุ

น้องชาย

กนิฏฺโฐ กนิฏฺฐภาตา อนุโช

เพื่อน

สหาโย มิตฺโต สุหชฺโช

พระราชา

ขตฺติย ราชา ภูปาโล ฯเปฯ

งู

อหิ สปฺโป อาสีวิโส

ช้าง

หตฺถี กรี กุญฺชโร นาโค ฯเปฯ

ลิง

มกฺกโฏ วานโร กปิ

นก

สกุณี สกุโณ วิหโค ทฺวิโช

ทะเล

สมุทฺโท อรณฺณโว สาคโร

นํ้า

ทกํ อุทกํ อุทํ ชลํ อมฺพุ ฯเปฯ

ศัตรู

สตฺตุ ริปุ อมิตฺโต อริ ฯเปฯ

เมฆ

เมโฆ วลาหโก อพฺภํ ฯเปฯ

ดวงจันทร์

จนฺโท จนฺทิมา นกฺขตฺตราชา โสโม สสิ

ดวงอาทิตย์

อาทิจฺโจ ทิวากโร ทินกโร สุริโย รํสิมา ฯเปฯ

ใกล้

อาสนฺน สามนฺต อนฺติก สนฺติก สมีป อวิทูร

กว้าง

วิสาล วิปุล วิตฺถินฺน วิตฺถต วิตฺถาร

เก่าก่อน

โปราณ ปุราคม สนฺนตน

งาม

โสภณ สุภ กลฺยาณ จารุ กนฺต

ใจดี

สุมน สุจิตฺต

ตํ่า ตํ่าช้า เลวทราม

หีน นิหีน ลามก โอมก อิตฺตร ฯเปฯ

ทั้งปวง ทั้งสิ้น

สพฺพ สมตฺต สกล นิสฺเสส อเสส

ทั่วไป

สาธารณ สามญฺญ

เป็นหัวหน้า

ปุพฺพงฺคม ปมุข ปธาน โมกฺข ปาโมกฺข

เร็ว

สีฆ ลหุ

สุดท้าย, ภายหลังสุด, ที่สุด

ปจฺฉิม ปนฺต ปริยนฺต อนฺต อนฺติม

ภายหลัง

อถาปรภาเค อปรภาเค ฯเปฯ

ฯลฯ

 

การใช้ศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกัน

          มีอีกอย่างหนึ่ง ที่นักศึกษามักทำผิดกันโดยมาก คือ ใช้ศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน เขียนเหมือนๆ กัน มาใช้แทนกันในประโยค ทั้งนี้อาจเพราะไม่ได้สังเกตรูปศัพท์ให้ถี่ถ้วนก็เป็นได้ เพราะในภาษามคธ มีศัพท์ที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกันมาก เพราะมีรากศัพท์มาอย่างเดียวกัน แต่ทำหน้าที่ในประโยคต่างกัน และวิธีการปรุงศัพท์ก็ต่างกัน

          เช่น คำว่า ออกไป ถ้าเป็นนามใช้ นิกฺขนฺติ ถ้าเป็นกิริยาคุมพากยใช้นิกฺขนฺโต ถ้าเป็นกิริยาระหว่างใช้ นิกฺขมนฺโต ดังนี้ จะเห็น ได้ว่าทั้ง ๓ ศัพท์ คือ นิกฺขนฺติ นิกฺขนฺโต นิกฺขมนฺโต มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ผิดกันเล็กน้อยเท่านั้น ถ้านักศึกษาเห็นทีละศัพท์ และไม่สังเกตให้ดี อาจนึกว่าเป็นศัพท์เดียวกัน และนำมาใช้ผิดได้

          ดังนั้น เมื่อพบศัพท์ หรือจะต้องใช้ศัพท์ประเภทนี้ นักศึกษา ต้องรอบคอบ พร้อมทั้งใคร่ครวญด้วยว่าศัพท์อย่างนี้ ถ้าใช้เป็นนาม มีรูปร่างอย่างไร ถ้าใช้เป็นคุณนาม มีรูปร่างอย่างไร ใช้เป็นกิริยา มีรูปร่างอย่างไร หรือศัพท์ที่มีรูปอย่างนี้ท่านใช้ เป็นนาม เป็นคุณ หรือเป็นกิริยา เวลาประกอบประโยคแล้ว ต้องตรวจดูอีกครั้งหนึ่งว่า ใช้ในที่ถูกทางหรือไม่ เพราะบางคราวก็ทำให้ผิดโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน เช่น

ความไทย : พวกเธอจงสามัคคีกัน

= ตุมฺเห สามคฺคี โหถ ฯ (ผิด)

= ตุมฺเห สมคฺคา โหถ ฯ (ถูก)

          ต่อไปนี้จักยกตัวอย่างศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกันมาให้ดูพอเป็นที่สังเกต

ศัพท์นาม

ศัพท์คุณ

ศัพท์กิริยา

 

สามคฺคี

สมคฺค

-

ปริหานิ

-

ปริหาน

ทุกฺข

ทุกฺขี, ทุกฺขินี

-

สุข

สุขี, สุขินี

-

โอกฺกนฺติ

-

โอกฺกนฺโต, โอกฺกมนฺโต

นิกฺขนฺติ

-

นิกฺขนฺโต, นิกฺขมนฺโต

วิภตฺติ

-

วิภตฺโต

ปมาโท

ปมตฺโต

-

ปสิทฺธิ

-

ปสิทฺโธ

วินาโส

-

วินฏฺโฐ

วุฑฺฒิ

วุฑฺฒ

-

วิรุฬฺหิ

วิรุฬฺห

วิรุฬฺห

เวปุลฺล

วิปุล

-

มุตฺติ

-

มุตฺต

โกสลฺล

กุสล, โกสล

-

อติกฺกนฺติ

-

อติกฺกนฺโต, อตกฺกมนฺโต

          แสดงพอเป็นเค้า นอกนั้นนักศึกษาพึงค้นคว้า และสังเกตดูจาก ปกรณ์ต่างๆ เองเทอญ

 

การแปลงศัพท์

          ในบางกรณี ศัพท์ที่ท่านใช้ในแบบ นักศึกษาจำไม่ได้ว่าท่านใช้ อย่างไรและตามข้อความภาษาไทยแล้ว อาจประกอบศัพท์เป็นอย่างอื่นได้ โดยที่ความหมายยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง หรือศัพท์เช่นนี้อาจแปลงไปในรูปอื่นได้ ไม่เฉพาะจะต้องเป็นรูปนั้นรูปนี้เท่านั้น

          กรณีเช่นนี้ นักศึกษาผู้ฉลาดสามารถอาจดัดแปลงศัพท์นั้น ให้มีรูปร่างต่างจากแบบได้ แต่การแปลงศัพท์เช่นนี้ผู้ทำต้องมีความรู้ ความเข้าใจในภาษามคธ ไวยากรณ์ และวรรณคดีพอสมควรไม่อย่างนั้น หากแปลงเข้า อาจผิดไวยากรณ์ ผิดความหมายทางวรรณคดีได้

          ส่วนมากศัพท์ที่แปลงได้ มักเป็นข้อความที่เกี่ยวกับกิริยา อาการ ของคน สัตว์ ที่แปลกันว่า การ หรือ ความ ศัพท์ที่แปลอย่างนี้ คือ ศัพท์ ที่เป็นภาวสาธนะ เป็นภาวตัทธิต เช่น ศัพท์ที่ประกอบด้วย ติ ตุํ ยุ ตา ปัจจัย และ ภาวศัพท์ ศัพท์เหล่านี้แปลงจากรูปหนึ่งไปอีกรูปหนึ่งได้ เช่น

ความไทย  :  การที่เขาไปในที่นั้น

= ตสฺส ตตฺถ คมนภาโว

= ตสฺส ตตฺถ คมนํ

= ตสฺส ตตฺถ คนตุํ            
                   

ความไทย : ความเป็นไปของท่าน ข้าพเจ้าอยากฟัง

= ตว ปวตฺตึ โสตุกาโมมฺหิ ฯ

= ตว ปวตฺตนํ โสตุกาโมมฺหิ ฯ    
       

ความไทย : ก็อันบุคคลผู้ได้สหายรูปนี้อยู่ด้วยกัน สมควรแล้ว

= เอวรูปํ หิ สหายกํ ลภนฺเตน เอกโต วสิตุํ ยุตฺตํ ฯ (๑/๕๖)

= เอวรูปํ หิ สหายกํ ลภนฺตสฺส เอกโต วสนํ ยุตฺตํ ฯ

= เอวรูปํ หิ สหายกํ ลภนฺตสฺส เอกโต วสนภาโว ยุตฺโต ฯ

 

ความไทย : เมื่อไม่ได้ การเที่ยวไปคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า

= อลภนฺตสฺส เอกจาริกภาโว ว เสยฺโย ฯ (๑/๕๖)

= อลภนฺตสฺส เอกสฺส จรณํ เสยฺโย ฯ

= อลภนฺตสฺส เอกสฺส จริตํ เสยฺโย ฯ

= อลภนฺตสฺส เอกจาโร เสยฺโย ฯ

          ตามตัวอย่างที่แสดงมานี้ จะเห็นได้ว่าแม้จะแปลงศัพท์ไปในรูป ต่างๆ แล้ว ความก็ยังคงเดิม แม้จะแปลยืดยาดไปบ้าง ก็ไม่เสียความอย่างใด เพราะฉะนั้นหากนักศึกษาจะแปลงศัพท์ใช้ในประโยค ก็ควรดำเนินตามแบบนี้ แต่ต้องปรุงศัพท์ทั้งศัพท์ที่แปลง และศัพท์ที่ประกอบ เช่น บทขยาย และบทกิริยา ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และวางไว้ ให้ถูกหลักการเรียงด้วย มิใช่แปลงเฉพาะศัพท์ที่ต้องการ แต่ศัพท์ ประกอบมิได้แปลงให้เข้ารูปเข้าเรื่องด้วย ก็จะกลายเป็นผิดไปเสีย ตัวอย่าง เช่น

ประโยคเดิม : เอวรูปํ หิ สหายกํ ลภนฺเตน เอกโต วสิตุํ ยุตฺตํ ฯ

แปลงว่า : เอวรูปํ หิ สหายกํ ลภนฺเตน เอกโต วสนภาโว ยุตฺตํ ฯ

          อย่างนี้ถือว่าแปลงแล้วผิด คือผิดทั้ง ลภนฺเตน และ ยุตฺตํ เพราะผิดสัมพันธ์ทั้งคู่ จึงต้องใช้ความชำนาญ และความรู้เป็นพิเศษ จึงจะทำเรื่องนี้ได้ดี

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


40588730
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
5201
28899
111587
40302836
639755
937182
40588730

Your IP: 18.218.254.122
2024-04-25 05:30
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search