23.บทที่ ๔ สำนวนนิยม (สำนวนสอบภูมิ, สำนวนนิยมทั่วไป)

สำนวนสอบภูมิ

          สำนวนสอบภูมิ หมายถึง สำนวนที่สนามหลวงออกสอบภูมิรู้พื้น ฐานของผู้สอบ โดยจะแปลสำนวนไทยยักเยื้องไปในรูปแบบต่างๆ เพื่อทดสอบความรู้ด้านธรรมบ้าง ด้านไวยากรณ์บ้าง ด้านการแปล ศัพท์บ้าง ส่วนมากก็จะเป็นการแปลออกศัพท์ ตามแบบแปลโดยพยัญชนะ หรือแปลตามแบบสัมพันธ์ ซึ่งการแปลอย่างนี้ บางครั้งก็ทำให้ผู้สอบงงงวย และหลงสำนวนได้ง่ายๆ ทั้งๆ ที่เป็นศัพท์ง่ายนิดเดียว หรือเป็นศัพท์ที่เห็นดาษดื่นเจนตา แต่ไม่เคยแปลออกศัพท์เต็มที่กัน จึงทำให้ฉงนไปว่าเป็นศัพท์ใหม่ เลยประกอบศัพท์เอาเองใหม่ตามสำนวนนั้น

          สำนวนสอบภูมินี้มักจะพบบ่อยๆ ในประโยคชั้นสูงๆ เพราะถือว่า เป็นผู้ชำนาญในสำนวนดีแล้ว จึงควรระวังให้ดี

          ต่อไปนี้ จักยกศัพท์ที่ท่านแปลออกสนามหลวงมาแล้ว ในปีนั้นๆ มาแสดงเพื่อเป็นแนวทาง

ศัพท์ว่า

ท่านแปลว่า

 

ภิกฺขเว

ดูก่อนพวกเธอผู้เห็นภัย

(๖/๒๕๑๔)

สํสาโร

การท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ

 

อนาถปิณฺฑิกเสฏฺฐี

เศรษฐี ผู้มีก้อนข้าว เพื่อคนไม่มีที่พึ่ง

(๔/๒๕๑๔)

ตฺวํ (คำกราบทูล)

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

(๕/๒๕๑๔)

นิมนฺเตตฺวา

เผดียง

 

โสสานิกธูตงฺคํ

ธุดงค์สำหรับภิกษุผู้อยู่ในป่าช้าเป็นวัตร

(๔/๒๕๑๕)

รตฺตกมฺพลสาณิยา

ด้วยม่านซึ่งทำด้วยผ้ากัมพลสีแดง

(๕/๒๕๑๕)

พุทฺธเสยฺยาย

จากการบรรทมของพระพุทธเจ้า

(๕/๒๕๑๕)

พุทฺธคารเวน

ด้วยความตระหนักในพระพุทธเจ้า

(๕/๒๕๑๕)

ยาปนมตฺตํ

อาหารที่พอเลี้ยงอาตมา

(๕/๒๕๑๕)

อนาคเต

ในกาลอันยังไม่มาถึง

(๔/๒๕๑๖)

ปณฺฑิตปุริโส

บุรุษผู้ดำเนินกิจด้วยปรีชา

(๕/๒๕๑๖)

ธมฺมกถิโก

พระนักเทศก์

(๖/๒๕๑๖)

กเถหิ อาวุโส

ว่าไปเลย คุณ

(๖/๒๕๑๖)

กถา

วาจาสำหรับกล่าว

(๖/๒๕๑๖)

โหตุ

ไม่เป็นไร

(๖/๒๕๑๖)

วิสภาโค

ไม่ถูกกัน

(๖/๒๕๑๖)

อคุโณ

โทษมิใช่คุณ

(๔/๒๕๑๗)

ปุรตฺถิมวตฺถุมฺปิ

ที่อันมีในทิศตะวันออกบ้าง

(๔/๒๕๑๗)

ขาทนฺโต จ วิกฺกีณนฺโต จ

กินบ้างขายบ้าง

(๔/๒๕๑๗)

วตฺตปฏิวตฺตํ

วัตรปรนนิบัติ

(๕/๒๕๑๗)

นตฺถิภาโว

ภาวะที่ไม่มี...      

(๖/๒๕๑๗)

อลงฺกริตฺวา

แต่งตัวเต็มที่ (ทำจนพอ)

(๖/๒๕๑๗)

อุจจาสทฺทํ มหาสทฺทํ

เสียงเอ็ดเสียงดัง

(๕/๒๕๑๘)

อจฺฉราคณปริปุณฺโณ (ปาสาโท)

ปราสาทที่นางอัปสรเต็มปรี่

(๖/๒๕๑๘)

อิสสรญฺญาตกานํ

พวกญาติที่เป็นใหญ่เป็นโต

(๖/๒๕๑๘)

คพฺโภ

สัตว์ผู้กำเนิดในครรภ์

(๕/๒๕๒๐)

ชาตมงฺคลทิวเส

ในวันมงคลวันเกิด

(๕/๒๕๒๐)

มรณสฺสติ

การระลึกถึงความตาย

(๖/๒๕๒๑)

โพธเนยฺยพนฺธเว

เหล่าสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุที่พอจะแนะนำเพื่อตรัสรู้ได้

(๕/๒๕๒๒)

ชนปทมนุสฺสํ

มนุษย์บ้านนอก (คนบ้านนอก)

(๕/๒๕๒๒)

           ตามที่ยกตัวอย่างมานี้ จะเห็นว่าเป็นศัพท์ธรรมดาๆ นี้เองแต่ท่านแปลยักเยื้องไปตามสำนวนโดยพยัญชนะบ้าง สำนวนคำพูดบ้าง เพราะฉะนั้น เมื่อนักศึกษาพบสำนวนเช่นนี้ พึงใคร่ครวญดูให้รอบคอบก่อนว่า ตรงกับศัพท์อะไร เมื่อพบสำนวนที่ผิดสังเกตแล้ว ไม่ควรคิดว่า ศัพท์นี้เป็นศัพท์ใหม่ ต้องพยายามคิดหาจากศัพท์เก่าๆ ที่ง่ายๆ ซึ่งเคย พบเห็นมานั่นเอง ไม่ใช่คิดแต่งศัพท์ใหม่ตามสำนวนไทยอยู่เรื่อยไป ตัวอย่างเช่น สำนวนว่า ดูก่อนพวกเธอผู้เห็นภัย แต่งเสียใหม่ว่า ภยทสฺสก อะไรทำนองนี้

 

สำนวนนิยมทั่วไป

          นอกจากสำนวนต่างๆ ดังกล่าวตามสำดับนั้นแล้ว สำนวนนิยม ในภาษามคธยังมีอีกจำนวนมาก ซึ่งจะยกมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง ดัง ต่อไปนี้

สำนวนไทย

สำนวนมคธ

ฉันขอโทษท่าน

อหนฺตํ ขมาเปทิ, อหํ ขมามิ

ฉันจะฆ่าเธอ

อหนฺตํ มาเรมิ

หมอรักษาโรค

เวชฺโช โรคํ ติกิจฺฉติ

จุดไฟ

อคฺคึ เทติ

ก่อไฟ

อคฺคึ กโรติ

ตามไฟ

อคฺคึ ชาเลติ, ทีปํ ชาเลติ

ลั่นกุญแจ, ใส่กุญแจ

ยนฺตกํ เทติ, กุญฺจิกํ เทติ

ตั้งชื่อ

นามํ กโรติ, นามํ คณฺหาติ

ส่งเส่ยงดังลั่น

มหาสทฺทํ กโรติ

ร้องลั่น, ร้องเอ็ดตะโร

มหาวิรวํ รวิ

หัวเราะลั่น, หัวเราะครื้นเครง

มหาหสิตํ หสิ

รับรองว่า ได้

สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิ

รับนิมนต์

อธิเวเสติ, นิมนฺตนํ อธิวาเสติ

วิ่งบ่ายหน้าไปยัง........

....อภิมุโข ปกฺขนฺทติ, ธาวติ

ยืนให้ลูกกินนมอยู่

ปุตฺตํ ปายมานา ฐิตา

นอนคลุมโปง

สสีสํ ปารุปิตฺวา นิปชฺชติ

เลี้ยงชีวิต, เลี้ยงชีพ

ชีวติ, ชีวิตํ กปฺเปติ

ไกล่เกลี่ย

สามคฺคึ กโรติ

ขี้ (คน)

อุจฺจารํ กโรติ

ขี้ (ไก่)

วจฺจํ กโรติ, วจฺจํ ปาเตติ

ขี้ (ช้าง)

ลณฺฑํ ปาเตติ

ขึ้นราคา, โก่งราคา

มูลํ วฑฺเฒติ

คดข้าว

ภตฺตํ วฑฺเฒติ, โอทนํ วฑฺเฒติ

คุกเข่า

ชนฺนุเกหิ ปติฏฺฐหติ

หมอบ

อุเรน นิปชฺชติ

ป้องหน้า

นลาเฏ หตฺถํ ฐเปติ

แหงนดู

อุทฺธํ โอโลเกติ

นั่งก้มหน้า

อโธ โอโลเกนฺโต นิสีทติ

เตะ, ถีบ

ปาเทน ปหรติ

คาบ

มุเขน คณฺหาติ

หยักรั้ง โจงกระเบน

กจฺฉํ พนฺธติ

ซื้อหา

กีณาติ, มูเลน คณฺหาติ

รักษาอุโบสถ

อุโปสถกมฺมํ กโรติ

ตายเอง

มรติ, กาลํ กโรติ, มรณํ คณฺหาติ,

ฆ่าเขาตาย

ชีวิตกฺขยํ ปาปุณาติ, มาเรติ, ชีวิตกฺขยํ ปาเปติ

ถูกบั่นคอ

ลีสจฺเฉทํ ปาปุณาติ

ประนมมือ, ประคองอัญชลี

อญฺชลึ ปคฺคณฺหาติ, อญฺชลึ กโรติ

ประชุมชาดก, ประมวลชาดก

ชาตกํ สโมธาเนติ

ยักคิ้ว

ภมุกํ อุกฺขิปติ

ลุกพร้อมกัน

เอกปฺปหาเรน อุฏฐหึสุ

สนทนากัน

กถํ สมุฏฐาเปสุํ

เสวยราชย์

รชฺชํ กาเรสิ

จุ่มมือลง

หตฺถํ โอตาเรติ

จูงมือไป

หตฺถํ คเหตฺวา คจฺฉติ

ใส่เอวไป

องฺเกนาทาย คจฺฉติ

แล่นเรือออกทะเลไป

นาวาย สมุทฺทํ ปกฺขนฺทติ

ตีกลองป่าวประกาศ

เภริญฺจาราเปสิ

ร่วมกันทำ

เอกโต กโรนฺติ, เอกโต หุตฺวากโรนฺติ

ผุดลุกผุดนั่ง

อุฏฐาย สมุฏฐาย

ผู้ฉลาดในธรรม

ธมฺมานํ โกวิโท

ทีนั้น เขามีความปริวิตกว่า

อถสฺส เอตทโหสิ

ฉันมีทรัพย์

ธนํ เม อตฺถิ, อหํ ธนวา, สธโนมฺหิ

จับกลุ่ม (ของคนหลายพวก)

วคฺควคฺคา หุตฺวา, คุมฺพคุมฺพา หุตฺวา

นั่ง (นอน) รวมกัน, ร่วมกัน (ของคนพวกเดียว)

เอกโต นิสีทึสุ (นิปชฺชึสุ)

พร้อมหน้าพร้อมตา

เอกจฺฉนฺทา หุตฺวา, เอกโต หุตฺวา

นั่งพร้อมๆ กัน

เอกปฺปหาเรน นิสีทติ, นิสีทนฺติ

เพื่อเผชิญหน้า

สมฺมุขา ภวิตุํ

ฯลฯ

          สำนวนเช่นนี้ ทำความยุ่งยากให้กับนักศึกษาไม่ใช่น้อย ถ้าหากจำไม่ได้ ก็อาจทำให้กำลังใจตกและทำข้อสอบไม่ได้ดีเท่าที่ควร ในข้อนี้จึงขอให้ข้อกำหนดไว้อย่างหนึ่ง คือ เมื่อพบสำนวนภาษาไทยแล้ว นึกเป็นภาษามคธไม่ออก ก็ให้นึกถึงท่าทางหรือนึกถึงกิริยาอาการตาม สำนวนภาษาไทยนั้นว่าทำอย่างไร

          เช่น สำนวนว่า “แหงนดู” ก็ลองนึกกิริยาท่าทางว่าแหงนดูเขา ทำอย่างไรก็จะเห็นภาพว่า การแหงน คือ การเงยหน้าขึ้นข้างบนแล้วดู ก็เท่ากับความภาษามคธว่า อุทฺธํ โอโลเกติ แลดูข้างบนนั่นเอง

          อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น ความไทยว่า “ป้องหน้าดู” ก็นึกภาพ การป้องหน้าว่าทำอย่างไร นั่นก็คือ ยกมือข้างหนึ่งวางแตะที่หน้าผาก พร้อมแลดู        ซึ่งก็ได้ความเป็นภาษามคธว่า นลาเฏ หตฺกํ ฐเปตฺวา โอโลเกติ แปลตรงตัวว่า วางมือไว้ที่หน้าผากแลดู ซึ่งกลับเป็นสำนวนไทยสันทัดว่า ป้องหน้าดู ตรงตัว

          มีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า เมื่อเรียงเป็นภาษามคธแล้ว ลองแปลดูตามตัว พร้อมทั้งนึกภาพด้วยว่า ถ้าทำอย่างที่แปลนั้นแล้ว จะถูกกิริยาอาการที่แท้จริงหรือไม่ ถ้าถูกและเป็นไปได้ก็เป็นอันใช้ได้ แม้จะไม่ถูกตรงตัวทีเดียวนักก็พอไปได้ แต่บางทีก็เผลอไปเหมือนกัน

          เช่นความไทยว่า เตะ นึกถึงภาพว่า เตะ คือการประหารด้วยเท้า แต่งไปว่า ปาเทหิ ปหรติ อย่างนี้ แม้ใช้ถูก แต่ผิดที่วจนะ ก็ถือ ว่าเป็นผิดศัพท์ เพราะคนเราจะเตะทีเดียว ๒ เท้า เป็นไปไม่ได้

           ดังนี้ เป็นต้น จึงควรพินิจพิจารณาให้รอบคอบด้วย

อ้างอิง

 

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


40470179
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
18623
29341
167343
40100302
521204
937182
40470179

Your IP: 18.191.211.66
2024-04-20 16:09
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search