22.บทที่ ๔ สำนวนนิยม (กิมงฺคํ ปน, สำนวนไทยสันทัด)

ประโยค กิมงฺคํ ปน

          กิมงฺคํ ปน นิยมแปลกันว่า “จะป่วยกล่าวไปไยถึง” มีวิธีเรียง ดังนี้

          (๑) ประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องมีเนื้อความเชื่อมต่อกับประโยค ข้างต้น โดยใช้กิริยาตัวเดียวกัน แต่ต่างหมวดวิภัตติกัน คือ ถ้าประโยค ต้นกิริยาเป็นวิภัตติหมวดวัตตมานา กิริยาในประโยคหลัง คือ ประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องเป็นหมวดภวิสสันติ ถ้าประโยคต้นเป็น ภวิสสนฺติ ประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องเป็นวัตตมานา สลับกันเช่นนี้

          (๒) กิมงฺคํ ปน จะต้องเรียงไว้ต้นประโยคเสมอ นอกนั้นให้ เรียงไว้หลัง กิมงฺคํ ปน ทั้งหมด

          (๓) กิริยาในสองประโยคนี้ ให้วางไว้เพียงในประโยคเดียว จะวางไว้ในประโยคต้นหรือในประโยคหลังก็ได้ แม้จะละไว้ก็ตาม เวลา แปลต้องใส่เข้ามา ตามหลักข้อ (๑)

          (๔) ข้อความในสองประโยคนั้น จะต้องเป็นประโยคบอกเล่า ประโยคหนึ่ง เป็นประโยคปฏิเสธประโยคหนึ่ง เช่น ถ้าประโยคต้นเป็น ประโยคบอกเล่าประโยค กิมงฺคํ ปน จะต้องเป็นประโยคปฏิเสธ

ตัวอย่าง

: ตาต มหลฺลกสฺส หิ อตฺตโน หตฺถปาทาปิ อนสฺสวา โหนฺติ, น วเส วตฺตนฺติ, กิมงฺคํ ปน ญาตกาฯ (กิริยาในประโยค กิมงฺคํ ปน คือ วตฺติสฺสนฺติ) (๑/๖)

: เอวรูปสฺส นาม กฏฺฐกลิงฺคสฺสาปิ ชรา อาคจฺฉติ, กิมงฺคํ ปน อตฺตภาวสฺส ฯ (กิริยาในประโยค กิมงฺคํ ปน คือ น อาคมิสฺสติ)

: เอารูโป นาม อรหตฺตสฺส อุปนิสฺสยสมฺปนฺโน ภิกฺขุ เอตฺตกํกาลํ มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ทุกฺขํ อนุโภสิ , กิมงฺคํ ปน อญฺเญ ฯ (๘/๑๔๒) (กิริยาในประโยค กิมงฺคํ ปน คือ น อนุภวิสฺสนฺติ)

 

สำนวนไทยสันทัด

          สำนวนไทยสันทัดในที่นี้หมายถึงข้อความที่แปลเป็นภาษาไทยนั้น เป็นสำนวนไทยแท้ๆ เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน และไม่ได้แปล ไปตามหลักเกณฑ์การแปลทั่วๆ ไป แม้จะแปลไม่ตรงตามศัพท์บาลีก็ไม่ถือว่าผิด เพราะไม่ทำให้เสียความอะไร แต่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

          ยกตัวอย่างเช่น ความไทยว่า “อาหารนั่น รับประทานเสีย” กลับเป็น ภาษามคธว่า “เอตํ อาหารํ ภุญฺชาหิ ฯ ถ้าแปลตามหลักการ แปลก็จะได้ว่า “รับประทานอาหารนั่นเสีย”

          การแปลแบบสำนวนไทยสันทัดนี้ สนามหลวงชอบแปลให้ผู้สอบ ทำ เพื่อทราบภูมิความรู้ว่า เข้าถึงสำนวนไทยและสำนวนมคธดีหรือไม่ หากแต่งตามใจชอบแล้วจะทำให้ผิดง่าย เช่นตัวอย่างนั้น ถ้าแยกประโยค เป็นว่า เอโส อาหาโร, ภุญฺชาหิ ฯ เช่นนี้ก็ทำให้ประโยคยืดยาดยาวออกไปอีกประโยคหนึ่ง ซึ่งประโยคลิงคัตถะข้างต้นนั้นก็มิได้ความหมาย อะไรเลย จึงถือว่าผิดความประสงค์ อย่างน้อยก็ทำให้เสียสัมพันธ์

 

(๑). สำนวนการแปลวิภัตติ

          ความนิยมของสนามหลวงในเรื่องนี้ก็คือ ศัพท์ทุกศัพท์ทุกวิภัตติ ในประโยคอาจแปลก่อนได้ทั้งสิ้น ไม่จำเพาะว่าจะต้องแปลบทประธาน ก่อน แล้วแปลบทขยายประธาน บทกิริยา บทกรรม ไปตามลำดับเหมือน ในวิชาแปลชั้นต้นๆ ถ้าหากแปลวิภัตติใดก่อนจะได้ใจความชัดเจน ไม่เสียความแล้ว สนามหลวงจะนิยมแปลวิภัตตินั้นก่อนทีเดียว และท่านจะไม่ออกสำเนียงอายตนิบาต เช่น ซึ่ง ของ ใน เป็นต้นไว้ให้ด้วย นอกจากจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ซึ่งข้อนี้นักศึกษาต้องคอยสำเหนียกไว้ “ให้รู้ว่าความตรงนี้ ทำหน้าที่อะไรในประโยค”  เป็นบทกรรม บทขยายกิริยา หรืออย่างไร แล้วให้ประกอบวิภัตติให้ถูกตามหลักสัมพันธ์ และ วางให้ถูกที่ตามหลักการเรียงดังกล่าวแล้วข้างต้น

          ศัพท์หรือความที่ท่านชอบแปลก่อนนั้น จะขอนำมาเป็นตัวอย่างให้เห็นเพื่อเป็นแนวทางศึกษา โดยนำมาจากสำนวนสนามหลวงที่ออกเป็นข้อสอบในชั้นนั้นๆ มาแล้ว คือ

(๑) ศัพท์ทุติยาวิภัตติ ที่ท่านแปลก่อน

: ฝ่ายพวกศากยะนอกนี้ พูดอย่างนี้ว่า..... พวกเราไม่อาจเพื่อเที่ยวไป แทบประตูเรือนของท่านได้ แม้ถึงพวกเรา ก็นํ้าคราวเดียวเท่านั้น ข้าวกล้าก็จักทำสำเร็จได้ นํ้านี้กรุณาให้พวกเราเสียเถิด ฯ (ป.๖/๒๕๑๖)

: อิตเรปิ เอวมาหํสุ มยํ น สกฺขิสฺสาม ตุมฺหากํ ฆรทฺวาเร วิจริตุํ, อมฺหากํปิ สสฺสํ เอกอุทเกเนว นิปฺผชฺชิสฺสติ,  อิทํ  อุทกํ อมฺหากํ เทถาติ ฯ

: เด็กพวกนั้นเห็นมันแล้วกระทำความเอ็นดู บอกกันว่า อย่าฆ่ามันเลย (ถึง) ๗ วัน มันอดอาหาร แล้วลูบคลำหลังมันปล่อยไปว่า ไปเป็นสุขเถิดนะเจ้าฯ (ป.๖/๒๕๑๔)

: เต ตํ ทิสฺวา อนุกมฺปํ กตฺวา “มา นํ มาเรถ, สตฺตาหํ ฉินฺนภตฺตา ชาตาติ ตสฺสา ปิฏฺฐึ ปริมชฺชิตฺวา “สุเขน คจฺฉาหีติ วิสฺสชฺเชสุํ ฯ

: ฝ่ายมิคารเศรษฐีกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า ทานที่ถวาย ในพระศาสนานี้ ย่อมมีผลมาก บัดนี้ ข้าพระองค์ทราบ แล้ว เพราะอาศัยลูกสะใภ้ของข้าพระองค์ (ป.๕/๒๕๒๑)

: มิคารเสฏฺฐีปิ “อหํ ภนฺเต เอตฺตกํ กาลํ เอตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลนฺติ น ชานามิ, อิทานิ เม สุณิสํ นิสฺสาย ญาตํ ฯเปฯ

: อย่ากระทำอย่างนี้เลยนะลูก กุมาริกา คนอื่นซึ่งคู่ควรแก่ ตระกูล และโภคะของพวกเรา พ่อแม่จักนำมาให้แก่ลูก ฯลฯ (ป.๖/๒๕๒๑)

: ตาต มา เอวํ กริ, อญฺญํ เต อมฺหากํ กุลสฺส จ โภคานญฺจ อนุรูปํ กุมาริกํ อาเนสฺสาม ฯเปฯ

: พระเถระเข้าไปเที่ยวบิณฑบาต เห็นเขาถูกพวกราชบุรุษนำไปทางประตูด้านทักษิณ จึงให้พวกราชบุรุษกระทำเครื่องมัด ให้หย่อน แล้วพูดว่า กรรมฐาน ที่เธอ (เคย) สั่งสมไว้ในครั้งก่อน เธอจงนึกถึงอีก ฯ (ป.๖/๒๕๒๓)

: เถโร ปิณฺฑาย จริตุํ ปวิสนฺโต ตํ ทกฺขิณทฺวาเรน นีหริยมานํ ทิสฺวา พนฺธนํ สิถิลํ กาเรตฺวา “ปุพฺเพ ตยา ปริจิตํ กมฺมฏฺฐานํ ปุน อาวชฺเชหีติ อาห ฯ

 (๒) ศัพท์ตติยาวิภัตติ ที่ท่านแปลก่อน

: แม้ด้วยทารุณกรรมถึงเพียงนี้ โจรนั้นก็ไม่อาจทำให้ความโกรธเคืองดับได้ จึงกระทำสนิทชิดชอบกับคน รับใช้ของเศรษฐีนี้ ฯลฯ (ป.๖/๒๕๒๐)

: โส เอตฺตเกนาปิ โกปํ นิพฺพาเปตุํ อสกฺโกนฺโต ตสฺส จูฬุปฏฺฐาเกน สทฺธึ มิตฺตสนฺถวํ กตฺวา ฯเปฯ

: ครั้งนั้น เทวดาผู้มีรูปมิปรากฏ บอกอุบาสิกานั้นอย่าง นี้ ว่า บุตรนั้นเราจับไว้แล้ว แม้พลีกรรม เราก็ไม่มีความต้องการ ฯลฯ (ป.๖/๒๕๒๒)

: อถ นํ เทวตา อทิสฺสมานรูปา เอวมาห “มยา เอส คหิโต, พลิกมฺเมนาปิ เม อตฺโถ นตฺถิ ฯเปฯ

(๓) ศัพท์ฉัฏฐีวิภัตติ ที่ท่านแปลก่อน

: ดังจะรู้มา พวกนักฟ้อนประมาณ ๕๐๐ คน เมื่อถึง ๑ ปีหรือ ๖ เดือน ไปยังกรุงราชคฤห์แสดงมหรสพแด่พระราชาตลอด ๗ วัน ได้เงินทองเป็นอันมาก รางวัลที่โยนไว้ในร ะหว่างๆ ไม่มีสิ้นสุด ฯ (ป.๖/๒๕๒๑)

: ปญฺจสตา กิร นาฏกา สํวจฺฉเร วา ฉมฺมาเส วา สมฺปตฺเต ราชคหํ คนฺตฺวา รญฺโญ สตฺตาหํ สมชฺชํ กตฺวา พหุํ หิรญฺญสุวณฺณํ ลภนฺติ, อนฺตรนฺตเร อุกฺเขปทายานํ ปริยนฺโต นตฺถิ ฯ

(๔) ศัพท์สัตตมีวิภัตติ  ที่ท่านแปลก่อน

: คนรับจ้างนั้น ทำงานในป่าตลอดวันนั้น เวลาเย็นจึงมา เมื่อเขาคดข้าวให้ ไม่รีบบริโภคทีเดียวด้วยนึกว่า เราหิว คิดว่า วันอื่นๆ ที่เรือนนี้มีความวุ่นวายใหญ่โตว่า พวกท่านจงให้ข้าว จงให้แกง ฯลฯ (ป.๔/๒๔๒๓)

: โส ตํทิวสํ อรญฺเญ กมฺมํ กตฺวา สายํ อาคนฺตฺวา, ภตฺเต วฑฺเฒตฺวา ทินฺเน, “ฉาโตมฺหีติ สหสา อภุญฺชิตฺวา ว “อญฺเญสุ ทิวเสสุ อิมสฺมึ เคเห ภตฺตํ เทถ พฺยญฺชนํ เทถาติ มหาโกลาหลํ โหติ ฯเปฯ

เท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีวิภัตติอื่น และคำอื่นอีกมาก ไม่อาจนำมาแสดงในที่นี้ให้หมดสิ้นได้ คัดมาเป็น ตัวอย่างให้เห็นว่าวิภัตติต่างๆ นั้นอาจแปลไว้ต้นประโยคก็ได้

 

๒. สำนวนการแปลตามแบบไทยๆ

          ในความไทยนั้น ท่านนิยมแปลตามแบบไทยๆ คือตามคำพูด จริง หรือตามความรู้สึกจริงที่ใช้กันทั่วไป แต่เวลากลับเป็นภาษามคธ แล้วจะเรียงตามแบบสำนวนไทยที่แปลนั้นไม่ได้ จะต้องให้ถูกตาม สำนวนนิยมของภาษามคธเป็นหลัก เช่น

มาตาปิตโร  ท่านแปลว่า พ่อแม่  ไม่ใช่ แม่พ่อ
รตฺตินฺทิวํ ท่านแปลว่า ทั้งวันทั้งคืน    ไม่ใช่ ทั้งคืนทั้งวัน
ชายปติกา  ท่านแปลว่า ผัวเมีย  ไม่ใช่ เมียผัว

 

                 อหํ ถ้าพ่อพูดกับลูก แปลว่า “พ่อ” ลูกพูดกับพ่อ แปลว่า “ลูก” แม่พูดกับลูก แปลว่า “แม่” น้องพูดกับพี่ แปลว่า “น้อง” พระพูดกับโยม แปลว่า “อาตมา” เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าแปลอย่าง ที่พูดกันจริงๆ

                 ตฺวํ ถ้าพ่อพูดกับลูก แปลว่า “ลูก” ลูกพูดกับพ่อ แปลว่า “พ่อ” เป็นต้น

                 มยํ ถ้าพ่อแม่พูดกับลูก แปลว่า พ่อและแม่ ถ้าลูกพูดกับพ่อ แม่ แปลว่า “ลูกๆ” เป็นต้น

          เมื่อพบท่านแปลอย่างนี้ นักศึกษาต้องระวัง อย่าประกอบศัพท์ ไปตามรูปภาษาไทยที่แปลไว้ จะทำให้ไม่ได้ความที่ประสงค์ เช่น

ประโยคว่า

: ท่านสัญชัยเห็นสหายทั้งสองนั้น จึงถามว่า พ่อทั้งสอง ใครๆ ที่แสดงทางอมตะ พวกพ่อได้แล้วหรือ ฯ ขอรับ ท่านอาจารย์ ใครๆ ที่แสดงทางอมตะ กระผมทั้งสอง ได้แล้ว ฯลฯ ท่านอาจารย์ ประพฤติธรรมเปล่า ไร้สาระ เชิญท่านอาจารย์ มาเถิด พวกเราจักพากันไป ยังสำนักพระบรมศาสดา ฯ ท่านสัญชัยตอบว่า พวกพ่อ ไปเถิด ตัวเราจักไม่อาจ ฯ (ป.๔/๒๕๑๙)

: สญฺชโย เต ทิสฺวา “กึ ตาตา โกจิ โว อมตมคฺเคเทสโก ลทฺโธติ ปุจฺฉิ ฯ “อาม อาจริย ลทฺโธ ฯเปฯ ตุมฺเห ตุจฺเฉ อสาเร วิจรถ, เอถ, สตฺถุ สนฺติกํ คมิสฺสามาติ ฯ คจฺฉถ ตุมฺเห, อหํ น สกฺขิสฺสามีติ ฯ (๑/๘๔)

ไม่ใช่แต่งไปตามความไทยว่า

: สญฺชโย เต ทิสฺวา “กึ ตาตา โกจิ ปิตเรหิ ลทฺโธติ ปุจฺฉิ ฯ อาม อาจริย ลทฺโธ ฯเปฯ อาจริโย ตุจฺเฉ อสาเร วิจรติ, เอตุ สตฺถุ สนฺติกํ คมิสฺสามาติ ฯ คจฺฉนฺตุ ปิตโร, อหํ น สกฺขิสฺสามีติ ฯ

 

๓. สำนวนการแปลนิบาต/ศัพท์

          (๑) สำนานไทยว่า จัด นัก ใช้ อติ อุปสัคนำหน้าศัพท์นั้นๆ เช่น

เช้าจัด เช้านัก : กินฺนุโข มหาราช อติปฺปเคว อาคโตสิ ฯ
เย็นจัด เย็นนัก : อิทานิ อติสายญฺโห, เมโฆ จ อุฏฺฐิโต, ปาโต อาคนฺตฺวา ปสฺสิสฺสาม ฯ
เร็วจัด เร็วนัก  : อติขิปฺปํ ภควา ปรินิพฺพุโต, อติขิปฺปํ สุคโต ปรินิพฺพุโต ฯ
ชั่ว จัด ชั่ว นัก : อิทานิ ตฺวํ อติปาโป ชาโตสิ ฯ
เย็นจัด ร้อนจัด  : สา ตโต ปฏฺฐาย ยาคุํ ททมานา อจฺจุณฺหํ วา อติสีตลํ วา อติโลณํ วา อโลณํ วา เทติ ฯ

           (๒) สำนวนไทยว่า จนถึง จนกระทั่งถึง ตราบเท่า จนกว่า ใช้ ยาว ศัพท์ วางไว้หน้า ตามด้วยศัพท์ปัญจมีวิภัตติ ซึ่งลงท้ายด้วย อา  เช่น

ยาว อกนิฏฺฐภวนา ปน เอกนินฺนาทํ โกลาหลํ อโหสิ ฯ ยาวชฺชตนา อญฺญตรํ รมณียํ ฐานํ ทิสฺวา สุธมฺมา เทวสภาติ วทนฺติ ฯ

ตํ โว อหํ ทสฺสามิ,  ยาว มมาคมนา อิเธว ติฏฺฐถ ฯ โสปิ ยาว สตฺถุ นิกฺขมนา ตตฺเถว ฐตฺวา ฯเปฯ

           (๓) สำนวนไทยว่า ตั้งแต่...จนถึง ตั้งแต่...จนกระทั่งถึง ใช้ ปฏฺฐาย คู่กับ ยาว หรือ อาทึ กตฺวา คู่กับ ยาว มีหลักการวางประโยค ดังนี้

...(นาม)...โต ปฏฐาย  ยาว...(นาม)...
....(ทุติยา)...อาทึ กตฺวา  ยาว...(นาม)...

เช่น    มหาภินิกฺขมนโต ปฏฐาย ยาว อชปาลนิโคฺรธมูลา มาเรน อนุพนฺธภาวํ ฯเปฯ อาจิกฺขิตฺวา.... (๒/๔๐)

หรือเป็น มหาภินิกฺขมนํ อาทึ กตฺวา ยาว อชปาล­นิโคฺรธมูลา ฯเปฯ ก็ได้

และ ภุมฺมเทเว อาทึ กตฺวา ยาว พฺรหฺมโลกา สพฺพา เทวตา.....

หรือเป็น ภุมฺมเทวโต ปฏฐาย ยาว พฺรหฺมโลกา สพฺพา..ก็ได้

          (๔) สำนวนไทยว่า “ตั้งแต่ จนถึง, ตั้งต้นแต่ จนกระทั่งถึง” หากแยกเป็น ๒ ประโยค จะต้องใช้ ยาว คู่กับ ตาว เช่น

:     ปฐมสมนฺนาหารโต ปฏฐาย, ยาว ตสฺส ตสฺส ฌานสฺส อุปจารํ อุปฺปชฺชติ, ตาว ปวตฺตา สมาธิภาวนา ปฏิปทาติ วุจฺจติ, อุปจารโต ปน ปฏฐาย ยาว อปฺปนา, ตาว ปวตฺตา ปญฺญา อภิญฺญาติ วุจฺจติ ฯ (วิสุทธิ.๑/๑๐๘)

:     ยาว ตุมุเห ซีวถ, ตาว โว สหตุถา ว อุปฏจายิส.สามิ ฯ (๕/๕๖)

          (๕) สำนวนไทยว่า เท่าไร ใช้ กีว และ กิตฺตก ศัพท์ ดังนี้ หากถามระยะทาง ระยะเวลา ว่า นานเท่าไร ไกลเท่าไรใช้ กีว ไว้ หน้าศัพท์บอกทาง และบอกเวลานั้น เป็น กีวทูโร กีวจีรํ ไกลเท่าไร นานเท่าไร เป็นต้น เช่น

- ปุรโต คาโม กีวทูโร ฯ

- กีวจีรํ อิธ วสิสฺสามิ อาวุโส ฯ

          หากถามจำนวนว่ามีเท่าไร  ใช้ กิตฺตก วางไว้หน้านามเป็นเจ้าของ เช่น

- กิตฺตเกหิ เต ภิกฺขูหิ อตฺโถ อุปาสก ฯ

- กิตฺตกา ภิกฺขู อิธ วสนฺติ ภนฺเตฯ

          (๖) สำนวนไทยว่า นานนักหนอ เป็นเวลานาน นานแท้ๆ ใช้ จิรสฺสํ วต เช่น

- สุนโข จิรสฺสํ วต เม อชฺช มธุรกถา ลทฺธาติ นงฺคุฏฺฐํ  จาเลนฺโต ตํ อุปสงฺกมิ ฯ

- จิรสฺสํ วต รูปนนฺทาย สตฺถุ อุปฏฺฐานํ คนฺตุกามตา อุปฺปนฺนา ฯ (๕/๑๐๔)

          (๗) สำนวนไทยว่า โดยลำดับ ใช้ อนุกฺกเมน อนุปุพฺเพน ปฏิปาฏิยา ดังนี้

อนุกฺกเมน โดยลำดับชั้น ลำดับฐานะ ลำดับส่วนต่างๆ เช่น

- อิตโร ปน อหํ คนฺถธุรํ ปูเรสฺสามีติ อนุกฺกเมน เตปิฏกํ พุทธวจนํอุคฺคณฺหิตฺวา คตคตฏฺฐาเน ธมิมํ กเถติ ฯ

- โส อนุกุกเมน ยาว โคป.ผกา ยาว ซนุนุกา กฏิโต ฯเปฯ คาถมาห ฯ

อนุปุพฺเพน โดยลำดับปกติทั่วไป โดยลำดับขนาด เวลา การ ถึง เช่น

- ตา อนุปุพฺเพน มุคฺคมตฺตา กฬายมตฺตา ฯเปฯ หุตฺวา ปภิชฺชึสุ ฯ

- เต ฯเปฯ อายาม ตํ ตโต วิหารา นิกฺกฑฒิสฺสามาติ ปกฺกมิตฺวา อนุปุพฺเพน ตํ วิหารํ อคมํสุ ฯ

ปฏิปาฏิยา โดยลำดับบุคคล กาลเวลา สถานที่ ที่มาถึงหรือ ผ่านไป เช่น

- มณิกาโร ภริยญฺจ ปุตฺตญฺจ ธีตรญฺจ ปฏิปาฏิยา ปุจฺฉิตฺวา ฯเปฯ ภริยาย สทฺธึ มนฺเตสิ ฯ

- ปฏิปาฏิยา ตโย ทิวสา อติกฺกนฺตา, จตุตฺเถ ทิวเส สรีรํ อุทฺธุมายิ ฯ

          (๘) สำนวนไทยว่า ทุก ทุกๆ เช่น ทุกๆ วัน ทุกๆ เวลา เป็นต้น ให้ใช้ซ้อนกัน ๒ ศัพท์ปร ะกอบวิภัตติเป็นอย่างเดียวกันตาม เนื้อความ เช่น

ความไทย : พราหมณ์ ธรรมดาบัณฑิตทั้งหลาย กระทำอยู่ซึ่ง กุศล ทีละน้อยๆ ทุกๆ ขณะ ย่อมขจัดมลทินอกุศล ของตนออกได้โดยลำดับ
มคธเป็น : พฺราหฺมณ ปณฺฑิตา นาม ขเณ ขเณ โถกํ โถกํ กุสลํ กโรนฺตา อนุปุพฺเพน อตฺตโน อกุสลมลํ นีหรนฺติเยว ฯ (๗/๗)
ความไทย

: จีวรพึงพิจารณาทุกๆ ขณะที่ใช้สอย บิณฑบาต ทุก คำกลืน เสนาสนะทุกขณะที่ใช้สอย

มคธเป็น

: จีวรํ ปริโภเค ปริโภเค ปจฺจเวกฺขิตพฺพํ, ปิณฺฑปาโต อาโลเป อาโลเป, เสนาสนํ ปริโภเค ปริโภเค ฯ (มงคล ๑/๑๙๗)

          (๙) สำนวนไทยว่า วันละ...ครั้ง เดือนละ...วัน ปีละ...เดือน ให้ประกอบศัพท์ว่า วัน เดือน ปี นั้น เป็นรูปฉัฏฐีวิภัตติ แล้วตามด้วย วารา ทิวสา (แล้วแต่ความ) เช่น

วันละ ๒ ครั้ง เป็น ทิวสสฺส เทฺว วารา
เดือนละ ๘ วัน เป็น มาสสฺส อฏฺฐ ทิวสา
ปีละ ๖ เดือน เป็น สวจฺฉรสฺส ฉ มาสา

- อนาถปิณฺฑิโกปิ วิสาขาปิ มหาอุปาสิกา นิพทฺธํทิวสสฺส เทฺว วาเร ตถาคตสฺส อุปฏฺฐานํ คจฺฉนฺติ ฯ (๑/๔)

- ปญฺจมี อฏฺฐมี จาตุทฺทสี ปณฺณรสี ชุณหปกฺเข จตฺตาโร, ตถา กาฬปกฺเขติ มาสสฺส อฏฺฐ ทิวสา ปกติอุโปสถสฺส กาโล ฯ (มงฺคล ๒/๙๔)

         (๑๐) สำนวนไทยว่า สรรเสริญ ชมเชย สดุดี ให้ประกอบ เป็นรูป สรรเสริญแก่... ชมเชยแก่... ไม่ใช่ สรรเสริญซึ่ง... เช่น

สรรเสริญพระพุทธเจ้า

ใช้ พุทฺธสฺส โถเมติ
ไม่ใช่ พุทฺธํ โถเมติ

สรรเสริญอาจารย์

ใช้ อาจริยสฺส โถเมติ
ไม่ใช่ อาจริยํ โถเมติ

 

          (๑๑) สำนวนไทยว่า ประทุษร้าย ให้ใช้ ประทุษร้ายต่อ ไม่ใช่ ประทุษร้ายซึ่ง...  เช่น

โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
ไม่ใช่ โย มิตฺเต น ทุพุภติ

โย อปฺปทุฏฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
ไม่ใช่ โย อปฺปทุฏฐสฺส นรํ ทุสฺสติ

 

          (๑๒) สำนวนไทยว่า อิจฉา ริษยา ให้ใช้ อิจฉาริษยาต่อ...  ไม่ใช่ อิจฉาริษยาซึ่ง... เช่น

ติตฺถิยา อิสฺสยนฺติ สมณานํ

ไม่ใช่ ติตฺถิยา อิสฺสยนฺติ สมเณ

ทุชฺชนา คุณวนฺตานํ อุสูยนฺติ

ไม่ใช่ ทุชฺชนา คุณฺวนฺเต อุสูยนุติ

 

           (๑๓) สำนวนไทยว่า กระหยิ่ม ให้ใช้ กระหยิ่มต่อ...  ไม่ใช่ กระหยิ่มซึ่ง.. เช่น

ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทโน

ไม่ใช่ ปหีนมานํ อนาสวํ เทวาปิ ตํ  ปิหยนฺติ ตาทินํ

 

              (๑๔) สำนวนไทยว่า โกรธ ให้ใช้ โกรธต่อ...ไม่ใช่ โกรธซึ่ง... เช่น

ตสฺส มา กุชฺฌ มหาวีร
ไม่ใช่ ตํ มา กุชฺฌมหาวีร

 

    (๑๕) สำนวนไทยว่า กลัว ให้ใช้ กลัวแต่... หรือ กลัวต่อ...  ไม่ใช่ กลัวซึ่ง...  เช่น

โจรสฺมา ภายติ, โจรสฺมา อุตฺตสติ
ไม่ใช่ โจรํ ภายติ, โจรํ อุตฺตสติ สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ ภายิตฺถ

 

(๑๖) สำนวนไทยว่า เต็มด้วย ให้ใช้ เต็มแห่ง ไม่ใช่ เต็ม ด้วย ตามสำนวนไทย เช่น

ปูรติ พาโล ปาปสฺส
ไม่ใช่ ปูรติ พาโล ปาเปน

ปตฺตํ โอทนสฺส ปูเรตฺวา
ไม่ใช่ ปตฺตํ โอทเนน ปูเรตฺวา อิมเมว กายํ ปูรํ นานปฺปการสฺส อสุจิโน ปจฺจเวกฺขติ

 

(๑๗) สำนวนตัวอย่าง

สำนวนไทย สำนวนมคธ
จนพอกับความต้องการ  ยาวทตฺถํ
เพียงเพื่อ...เท่านั้น ยาวเทว
ตลอดอายุ  ยาวตายุกํ
ตลอดชีวิต     ยาวชีวํ
จนถึง ๓ ครั้ง    ยาวตติยํ
ตราบใดที่ ยาวกีวํ
ถ้ากระไร, ถ้าอย่างไร ยนฺนูน
โดยยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก ภิยฺโยโส มตฺตาย

โดยยิ่ง

ภิยฺโย, ภิยฺโยโส
ก่อน ก่อนกว่า  ปุรา, ปุเรตรํ, ปุเรตรเมว
ในกาลก่อน ปุรา, ปุพฺพกาเล
ข้างหน้า ล่วงหน้า ก่อน ปุรโต, ปฏิกจฺจ, ปฏิกจฺเจว
ข้างหลัง ทีหลัง ปจฺฉโต
ในภายหลัง ปจฺฉา
แน่นอน ธุวํ
นาน จิรํ  จิเรน
ไม่นาน ไม่นานนัก น จิรํ, น จิรสฺเสว
แต่ยังวัน ทิวา, ทิวสฺส
ด่วน เร็ว ตุวฏํ, ตุริตตุริตํ, สีฆสีฆํ
ขวาง ติริยํ
ในทันใดนั้นเอง ตาวเทว, ตํขณญฺเญว

อย่างเดียว สิ้นเชิง

เกวลํ
ด้วย...ประมาณเท่าไร กิตฺตาวตา
ด้วย...ประมาณเท่านี้ เอตฺตาวตา
โดยวิธีใด ว่าอย่างไร กินฺติ
บ้างหรือ บ้างไหม กจฺจิ
ก็จริง แม้ก็จริง

กามญฺจ, กามํ, กิญฺจาปิ

ตํ่ากว่า    โอรโต
น้อยกว่า    โอเรน
รวมเป็นอันเดียวกัน   เอกชฺฌํ
รวมกัน ด้วยกัน  เอกโต
ต่อไป     อายตึ
ห่างไกล ห่างเหิน   อารกา, อารา
อย่างแน่นอน แน่แท้  อวสฺสํ
เสมอๆ เนืองๆ    อภิกฺขณํ, อภิณฺหํ
บางครั้งบางคราว    อปฺเปกทา
(คาดว่า) ไฉนหนอ, บางที อปฺเปว, อปฺเปว นาม
บ้างไหม        อปิ
ในระหว่าง   อนฺตรา, อนฺตเร
โดยที่สุด     อนฺตมโส
แน่แท้ เป็นแน่    อทฺธา
โดยแท้  อญฺญทตฺถุ

                               

 

อ้างอิง

 

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search