14.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง ลิงค์)

เรื่อง ลิงค์

         เรื่องลิงค์นี้ทำความยุ่งยากให้แก่นักศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธไม่ น้อย ด้วยบางครั้งแม้จำศัพท์ได้แล้ว แต่ไม่อาจตัดสิ้นใจได้ว่า เป็น ลิงค์อะไร ฉะนั้นจึงจำเป็นอยู่เองที่ต้องใช้ความสังเกตให้มาก โดยสังเกตจากบทที่เป็นบริวารของศัพท์นั้น เช่น บทวิเสสนะ และอัพภันตรกิริยา เป็นต้น ซึ่งก็พอให้ทราบได้ ถ้าจำลิงค์ผิดหรือใช้ลิงค์ผิด แล้วก็อาจทำให้ปรุงบทวิเสสนะและบทอัพภันตรกิริยาผิดไปด้วย เช่น

: เทวดาเหล่านั้นเที่ยวไปในสวนนันทวันนั้นอยู่ ได้พบพระ เถระแล้ว

: เต เทวตา ตสฺมึ นนฺทวเน วิจรนฺตา เถรํ อปสฺสึสุ ฯ

: แก้วมณีที่วางอยู่บนเตียงนั้น กลิ้งตกลงบนพื้นแล้ว

: ตสฺมึ มญฺเจ ฐปิตํ มณิ ปริวตฺเตตฺวา ตเล ปติ ฯ

 

         จะเห็นได้ว่า ตัวอย่างนี้ใช้วิสสนะ และอัพอันตรกิริยาผิดประโยคแรกอาจเช้าใจว่า เทวตา เป็น ปุํ. จึงใช้วิเสสนะเป็น เต และใช้ กิริยาเป็น วิจรนฺตา ประโยคหลังอาจเข้าใจว่า มณิ เป็น นปุํ. จึงใช้ วิเสสนะเป็น ฐปิตํ ที่ลูก เทวตา เป็น อิต. มณิ เป็น ปุํ.

         อนึ่ง บางครั้งจำลิงค์ได้แม่นยำ แต่ประกอบอัพภันตรกิริยา คือ อนฺต ปัจจัยผิด โดยเฉพาะในรูป อิต. ไม่ได้ลง อี ตามหลักไวยากรณ์ เช่น

๑) : พระเถระเห็นหญิงนั้นง่วนทำงานของตนอยู่ จึงไม่เข้าไปหา
     : เถโร ตํ อิตฺถึ อตฺตโน กมฺมนฺตํ กโรนฺตํเยว  ทิสฺวา น อุปสงฺกมิ ฯ

๒) : แม่โคนมทั้งหลายได้ยืนเบียดก้นในที่ประมาณอุสภะหนึ่ง
     : อุสภมตฺเต ฐาเน คาวิโย อญฺญมญฺญํ อุปนิฆํสนฺตา อฏฺฐํสุ ฯ

         กรณีเช่นนี้ รวมถึงศัพท์ที่เป็นวิกติกัตตาด้วย ซึ่งบางทีก็ใช้ผิด ลิงค์กัน เช่น

๓) : ภิกษุทั้งหลาย ในหญิงเหล่านั้น พวกอุบาสิกาที่เป็นโสดาบันก็มี ที่เป็นสกิทาคามีก็มิ ที่เป็นอนาคามี ก็มี         
    : สนฺเตตฺถ ภิกฺขเว อุปาสิกาโย โสตาปนฺนา, สนฺติ สกทาคามี, สนฺติ อนาคามี...(ผิด)

๔) : ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าจงเป็นสุข มีอายุยืนเกิด
     : อมฺม สุขี โหหิ ทีฆายุกา ฯ

Next...

         ในตัวอย่างทั้ง ๔ ประโยคนี้ ใช้อัพภันตรกิริยาและวิกติกัตตาผิด ลิงค์ทั้งสิ้น ที่ถูกต้องเป็นตังนี้

ประโยคที่ ๑)  กโรนฺตํ            ต้องเป็น      กโรนฺตึ

ประโยคที่ ๒)  อุปนิฆํสนฺตา      ต้องเป็น      อุปนิฆํสนฺติโย

ประโยคที่ ๓)  สกทาคามี        ต้องเป็น      สกทาคามินิโย

   อนาคามี           ต้องเป็น      อนาคามินิโย

ประโยคที่ ๔) สุขี                   ต้องเป็น      สุขินี

          นอกจากนี้แล้วยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องการใช้ลิงค์อีก คือ

         (๑) ศัพท์ใดที่ใช้เป็น ๒ ลิงค์ได้ ให้ถือเอาลิงค์ที่ท่านใช้มากใน ปกรณ์ทั้งหลายเป็นเกณฑ์ เช่น

สํวจฺฉโร-สํวจฺฉรํ    ท่านใช้    สํวจฺฉรํ    มากกว่า

อคาโร-อคารํ        ท่านใช้    อคารํ     มากกว่า

ทิวโส-ทิวสํ          ท่านใช้    ทิวโส    มากกว่า เป็นต้น

          (๒) การใช้ศัพท์เหล่านี้ คือ ก คต  รูปชาต มาต่อท้ายศัพท์ มิได้นิยมใช้กับทุกศัพท์ และกำหนดว่าเป็นลิงค์อะไรแน่นอนไม่ได้ เพียง พอสังเกตได้ว่า

: ถ้าใช้ ก ต่อท้าย มักเป็นลิงค์ตามศัพท์เดิม เช่น สหายโก ยานกํ การโก โคปาลโก
: ถ้าใช้ คต ต่อท้าย มักเป็น ปุํ. เช่น ติรจฺฉานคโต และ นปุํ. เช่น ทิฏฐิคตํ
: ถ้าใช้ รูป ต่อท้าย มักเป็น นปุํ. เช่น โครูป อิตฺถีรูปํ
: ถ้าใช้ ชาต ต่อท้าย มักเป็น นปุํ. เช่น ธมฺมชาตํ สทฺทชาตํ

         (๓) วิสามัญวิเสสนะ คือ ศัพท์วิเสสนะที่เป็นอสาธารณนาม เดิม เป็นลิงค์อะไร ให้คงลิงค์ไว้ไม่ต้องเปลี่ยนไปตามนามเจ้าของ มีคติ คล้ายกับวิกดิกัตตานาม ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น

  • : สตฺถริ อนุปิยํ นาม มลฺลานํ นิคโม ตํ นิสฺสาย...(๑/๑๒๔)
  • : ปุรตฺถิมาย ทิสาย กชงฺคลํ นาม นิคโม ตสฺสาปเรน มหาสาลา... (มงคล ภาค ๑)

         (๔) ศัพท์ที่ท่านใช้ในปกรณ์ทั้งหลาย แม้จะผิดความนิยมและผิด หลักที่ศึกษามา ก็อย่าถือว่าของท่านผิด เพราะไวยากรณ์เกิดทีหลัง แต่ไม่ควรใช้ตามแบบท่าน ควรใช้ให้ถูกความนิยมดีกว่า เช่น

  • : ยสฺส เอตา ธนา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา ฯ (๓/๑๒๙)

         (๕) ในประโยคคำถาม ผู้ถามถามถึงสิ่งหรือบุคคลที่มองไม่เห็น กัน หรือมองเห็นแต่ไม่แน่ใจหรือด้วยความเข้าใจผิด มีความนิยม ดังนี้

            ก. ถ้ามุ่งถามถึงบุคคล อย่างที่ในภาษาไทยทักกันในที่มืดๆ ว่า “ใคร” นั่นแหละ อย่างนี้ให้ใช้รูปศัพท์เป็น ปุํ. คือ โก อย่างเดียว แม้ผู้ถูกถามจะเป็นลิงค์อะไรก็ตาม เช่น ตอนพระนางมัทรีมาเคาะประตู เรียกพระเวสสันดรกลางดึก

พระเวสสันดร : โก เอโส (ใครน่ะ)

พระนางมัทรื : อหํ มทฺที (หม่อมฉันเอง มัทรี)

            ข. ถ้ามุ่งถามถึงสิ่งของวัตถุ อย่างนี้ ให้ใช้ นปุํ. คือ กึ อย่าง เดียว แม้สิ่งที่ถูกถามถึงนั้น จะเป็นศัพท์ลิงค์อื่นก็ตาม เช่น

ถาม : กึ ปน อิมสฺมึ คพฺเภ โหติ ฯ
ตอบ : มญฺจา ภนฺเต, เอตฺเถเต สามเณเรหิ หิยฺโย ฐปิตา ฯ

ถาม : ปุรตฺถิมาย ทิสาย กึ นิมิตฺตํ ฯ
ตอบ : ปาสาโณ ภนฺเต ฯ

         (๖) ศัพท์สัพพนาม คือ อิม มักใช้ผิดโดยสับลิงค์กันเสมอ เช่น

: เขาพบเพื่อนคนนี้แล้วจักเป็นอยู่ได้
: โส อิทํ สหายํ ทิสฺวา ชีวิสฺสติ ฯ
(อิทํ - นปุํ.   สหายํ – ปุํ.)

: โอหนอ ทานนี้น่าอัศจรรย์จริง
: อโห วตายํ ทานํ อจฺฉริยํ ฯ (อยํ - ปุํ. ทานํ - นปุํ.)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search