3.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (อาลปนะ, วิเสสนะ)

วิธีเรียงอาลปนะ

       บทอาลปนะ มีหลักแน่นอนอยู่ คือต้องเรียงไว้ในประโยคเลขใน เท่านั้นห้ามเรียงไว้นอกเลขในเด็ดขาด แต่วิธีการเรียงในประโยคเลขในนั้นไม่แน่นอน อาจเรียงไว้เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ที่ ๓ ในประโยค หรือเรียงไว้ท้ายประโยคก็ได้ ทั้งนี้สุดแต่เนื้อความในประโยคหรือศัพท์ประกอบ ในประโยค เช่น นิบาตต้นข้อความ และกาลสัตตมี เป็นต้น ซึ่งพอมีหลักสังเกต ดังนี้

๑. ถ้าเป็นข้อความสั้นๆ เป็นแบบบอกเล่า นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น

: ภนฺเต อหํ มหลฺลกกาเล ปพฺพซิโต คนฺถธุรํ ปูเรตุํ น สกฺขิสฺสามิ ฯ (๑/๗)

        ๒. ถ้าเป็นข้อความแสดงความประสงค์ หรือตอบคำถาม หรือ ต้องการเน้นความในประโยคให้ชัด นิยมเรียงไว้สุดประโยค เพื่อไม่ให้ขวางศัพท์อื่น เช่น

  • : กนิฏฺฐภาตา เม อตฺถิ ภนฺเต ฯ (๑/๖)
  • : สาธุ ภนฺเต, อปฺปมตฺตา โหถ ฯ (๑/๘)

        ๓. อาลปนะที่เป็นนิบาต เช่น ภนฺเต อาวุโส อมฺโภ เป็นต้น ถ้ามาคู่กับอาลปนะที่เป็นนาม คืออาลปนะที่แจกมาจากวิภัตติ นิยมเรียง อาลปนะนิบาตไว้หน้าอาลปนะนาม เช่น

  • : วเทหิ ตาว อาวุโส  ปาลิต ฯ (๑/๑๐)
  • : โภ  โคตม  ตุมฺหากํ ทานํ อทตฺวา ปูชํ อกตฺวา ฯเปฯ (๑/๓๑)
  • : อชฺชตคฺเคทานาหํ อาวุโส อานนฺท อญฺญเตฺเรว ภควตา ฯเปฯ อุโปสถํ กริสฺสามิฯ (๑/๑๓๒)

       การเรียงบทอาลปนะนี้มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คือให้สังเกตดู ที่คำแปล ถ้าสำนวนไทยแปลขึ้นต้นก่อน ก็ให้เรียงไว้ต้นประโยค หรือที่ ๒ ที่ ๓ ในประโยค แล้วแต่ศัพท์ใกล้เคียงจะอำนวยให้หรือไม่

       ถ้าสำนวนไทยแปลทีหลัง ก็เรียงไว้สุดประโยค ทั้งนี้เพราะบท อาลปนะเท่ากับคำไทยว่า ท่านครับ ท่านขา ขอรับ เจ้าค่ะ ครับ ค่ะ เป็นต้นนั่นเอง เมื่อแปลไว้ต้นก็แสดงว่าอยู่ต้น เมื่อแปลไว้หลังก็แสดง ว่าอยู่หลัง นี่ว่าโดยวิธีการแปลโดยสันทัด เช่น

  • : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระศาสนานี้ มีธุระเท่าไร ฯ มีธุระ ๒ อย่างเท่านั้นแหละ ภิกษุ คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ ฯ
  • : ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน กติ ธุรานีติ ฯ คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ เทฺวเยว ธุรานิ ภิกฺขูติ ฯ (๑/๗)
  • : คุณทั้งหลาย พวกคุณจะให้ไตรมาสนี้ผ่านไปด้วยอิริยาบถ เท่าไร ฯ สี่ขอรับฯ ก็ข้อนี้สมควรละหรือ คุณทั้งหลาย
  • : อาวุโส อิมํ เตมาสํ กตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถาติ ฯ จตูหิ ภนฺเตติ ฯ กึ ปเนตํ อาวุโส ปฏิรูปนฺติ ฯ (๑/๘)

 

วิธีเรียงวิเสสนะ

       บทวิเสสนะ จัดเป็นบทขยายเนื้อความของบทที่ตนขยายให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น วิธีสังเกตว่าศัพท์ใดเป็นบทวิเสสนะ ให้สังเกตที่ความในภาษาไทย ส่วนมากจะนิยมแปลว่า “ผู้ ที่ ซึ่ง มี อัน” อย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อเห็นคำแปลอย่างนี้หน้าคำใด พึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่าคำนั้นเป็นวิเสสนะ ส่วนศัพท์วิเสสน สัพพนาม และศัพท์สังขยาคุณไม่นิยม แปล เพราะบ่งชัดว่าเป็นวิเสสนะอยู่แล้ว บทวิเสสนะนี้มีวิธีการเรียง ไม่ยุ่งยากนัก ดังนี้

       ๑. ทำหน้าที่ขยายบทใด ต้องปรุงศัพท์วิเสสนะให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนกับบทนั้นเสมอไป

       ๒. สามัญวิเสสนะ คือ วิเสสนะทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นคุณนามบ้าง วิเสสนสัพพนามบ้าง เป็นศัพท์ที่ปรุงมาจาก ต อนฺต มาน ปัจจัยบ้าง ให้เรียงไว้หน้าบทที่ตนขยาย เช่น

  • : กมฺมสริกฺขโก อากาโร อุปปขฺซิ ฯ (๑/๑๑๘)
  • : อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตาติ ฯ (๑/๓)
  • : คจฺฉานนฺท ตํ ยกฺขินึ ปกฺโกสาติ ฯ (๑/๔๖)

       ๓. วิสามัญวิเสสนะ คือ วิเสสนะที่ไม่ทั่วไป เป็นวิเสสนะแสดง ยศ ตำแหน่ง ตระกูล หรือความพิเศษอื่นใดที่ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ให้เรียงไว้หลังบทที่ตนขยาย เช่น

  • : สมโณ โคตโม สกฺยปุตฺโต สกฺยกุลา ปพฺพชิโต
  • : วิสาขาปิ มหาอุปาสิกา นิพทฺธํ ทิวสสฺส เทฺว วาเร... (๑/๔)
  • : ทิฏฺโฐ โข เม มหาลิ สกฺโก เทวานมินฺโทติ ฯ (๒/๙๖)

       ๔. ถ้านามที่ตนจะขยายความมีหลายศัพท์ ให้ประกอบวิเสสนะ ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนกับนามตัวที่อยู่ใกล้ที่สุด เช่น

  • : สีลวตี อิตฺถี วา ปุรีโส วา...................... ฯ
  • : สีลวา ภิกฺขุ วา ภิกขุนี วา........................ ฯ

       ๕. ถ้านามที่จะขยายมีหลายศัพท์ และประกอบด้วย จ หรือ ปิ ศัพท์ ให้ประกอบศัพท์วิเสสนะเป็นพหูพจน์เสมอ เช่น

  • : ตสฺมึ อาวาเส วสนฺตา ภิกฺขุ จ ภิกขุนี จ นิพทฺธํ สมาคจฺฉนฺติ ฯ

       ๖. ถ้าในประโยคนั้นมีวิเสสนะหลายศัพท์ ให้เรียงลำดับก่อนหลัง ดังนี้ อนิยม-นิยม-คุณนาม-สังขยา-นาม

  • : ยา ปนายํ อวเสสา ปชา ฯ (๔/๕๐)
  • : เย จตฺตาโร โยคา มหาชนํ วฏฺเฏ โอสีทาเปนฺติ ฯ
  • : เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา....ฯ

       ๗. วิเสสนะ ที่ประกอบด้วย ต อนฺต และมาน ปัจจัย ในวิภัตติ ต่างๆ เว้นปฐมาวิภัตติ จะเรียงไว้ข้างหน้าบทที่ตนขยายก็ได้ เรียงไว้หลังก็ได้ แต่นิยมเรียงไว้หลังพร้อมกับข้อความที่สัมพันธ์เข้ากับตนทั้งหมด เช่น

  • : อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก คนฺธมาลาทิหตฺเถ วิหารํ คจฺฉนฺเต ทิสฺวา.... (๑/๔)
  • : เอกสฺส ปจฺเจกพุทฺธสฺส ชาตสฺสรํ โอรุยฺห นหายนฺตสฺส ตีเร ฐปิเตสุ กาสาเวสุ จีวรํ เถเนตฺวา (๑/๗๒)

       ๘. วิเสสนะที่ประกอบด้วย อนฺต มาน ปัจจัย ที่ทำหน้าที่ ขยายบทประธานในประโยคกัตตุวาจก นิยมเรียงไว้หน้าบทประธาน ในประโยคกัมมวาจก นิยมเรียงหลังบทประธาน เช่น

  • : ภตฺตุฏฺฐานฏฺฐานํปิ อชานนฺโต  กุลปุตุโต กมฺมนฺตํ นาม กึ ชานิสฺสติ ฯ (๑/๑๒๖)
  • : สกลํปิ หิ เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ อาหริตฺวา กถิยมานํ อปฺปมาทเมว โอตรติ ฯ (๒/๖๓)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


40598445
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
14916
28899
121302
40302836
649470
937182
40598445

Your IP: 66.249.71.96
2024-04-25 13:27
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search