4.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (วิกติกตฺตา, กิริยา)

 

วิธีเรียงวิกติกตฺตา

       บทวิกติกตฺตาหรือบทที่นิยมแปลกันว่า “เป็น” และสัมพันธ์ เข้ากับกิริยาที่มาจาก ภู ทุ อสฺ ชนฺ ธาตุ เป็นบทที่มาจากนามบ้าง คุณนามบ้าง กิริยาบ้าง มีข้อควรทราบและวิธีการเรียง ดังนี้

       ๑. วิกติกตฺตาที่มาจากนาม คือ เป็นนามโดยกำเนิดใช้เป็นบท ประธานได้ เมื่อมาทำหน้าที่เป็นวิกติกตฺตาไม่ต้องเปลี่ยนไปตามนาม เจ้าของ คือให้คงรูปลิงค์ และวจนะเติมของตนไว้ เช่น

  • : อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ฯ ไม่ใช่ อปฺปมาโท อมโต ปโท
  • : สจฺจํ เว อมตา วาจา ฯ ไม่ใช่ สจฺจํ เว อมตํ วาจํ

       ๒. วิกติกตฺตาที่เป็นคุณนามแท้ ต้องเปลี่ยนลิงค์ วจนะ วิภัตติ ไปตามรูปนามเจ้าของ คือ มีคติเหมือนเป็นวิเสสนะของนามนั้น เช่น

  • : โส ปิตุ ปิโย โหติ ฯ
  • : สา อภิรูปา โหติ ฯ

       ๓. วิกติกตฺตาที่มาจากกิริยากิตก์ซึ่งแจกด้วยวิภัตติได้ มีคติ เหมือนคุณนาม จึงต้องเปลี่ยนรูปไปตามนามเจ้าของ เช่น

  • : ปาโป ชาโตติ สามเณร ฯ
  • : ตฺวํ นฏฺฐาติ อมฺม ฯ
  • : อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสติ ฯ (๑/๓)

       ๔. วิกติกตฺตาที่มีบทเดียว ให้เรียงไว้หลังตัวประธานหน้ากิริยา ที่ตนสัมพันธ์เข้าด้วย เช่น

  • : เถโร “เอโส สปฺปุริโส ภวิสฺสตีติ จินฺเตตฺวา (๑/๑๗)
  • : ทีปินีปิ ตโต จุตา สาวตฺกิยํ กุลธีตา หุตฺวา นิพฺพตฺติ ฯ (๑/๔๔)

       ๕. วิกติกตฺตาที่มีมาร่วมกันตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป มีนามเจ้าของบท เดียวกัน นิยมเรียงไว้หน้ากิริยาเพียงตัวเดียว นอกนั้นให้เรียงไว้หลังกิริยา เช่น

  • : สาปิ ตโต ปฏฺฐาย สพฺเพสํ กมฺมนฺเต โอโลเกนฺตี ลาภคฺคปฺปตฺตา อโหสิ มหาปริวารา ฯ (๑/๔๙)
  • : เอกสฺมึ หิ สมเย เวสาลี อิทฺธา โหติ ผีตา พหุชฺชนา อากิณฺณมนุสฺสา ฯ (๗/๘๗)

       ๖. วิกติกตฺตา ที่มีบทประธานเป็นเอกวจนะหลายๆ บท และควบ ด้วย จ หรือ ปิ ศัพท์ นิยมประกอบเป็นพหุวจนะ รวมทั้งกิริยาด้วย เช่น

  • : พิมฺพิสาโร จ ปเสนทิโกสโล จ อญฺญมญฺญํ ภคินีปติกา โหนฺติ ฯ (๓/๔๗)

       ๗. วิกติกตฺตาที่เป็นอุปมา นิยมใช้กับ วิย ศัพท์ ไม่นิยมใช้กับ อิว ศัพท์ เช่น

  • : สุชาตา โถกํ อากุลา วิย หุตฺวา ฯเปฯ ปฏิวจนํ อทาสิ ฯ (๓/๘๒)

       ๘. วิกติกตฺตา ในประโยค กัมมวาจก และ ภาววาจก มีรูปเป็น ตติยาวิภัตติเท่านั้น และมีวิธีการเรียงเหมือนที่กล่าวแล้ว เช่น

  • : อสเฐน อมายาวินา  หุตฺวา กลฺยาณชฺฌาสเยน ภวิตพฺพํ ฯ (๑/๖๓)

       ๙. วิกติกตฺตา ตามปกติจะพบในรูปปฐมาวิภัตติ แต่วิกติกตฺตา ที่มาในรูปวิภัตติอื่นก็มี เช่น

ในรูปทุติยาวิภัตติ : อถ นํ สา ฯเปฯ อาลิงฺคิตฺวา ปมตฺตํ หุตฺวา ปพฺพตนฺเต ฐิตํ
                       ปิฏฺฐิปสฺเส ฐตฺวา เอเกน หตฺเถน ขนฺเธ คเตฺวา.... (๔/๑๐๒)

ในรูปตติยาวิภัตติ : ปุพฺพงฺคมาติ เตน ปฐมคามินา หุตฺวา สมนฺนาคตา ฯ (๑/๒๐)

: อกุสีเตน ภวิตพฺพํ อารทฺธวิริเยนฯ (๑/๖๓)

ในรูปฉัฏฐีวิภัตติ   : สกฺกสฺส  มหาลิ  เทวานมินฺทสฺส  ปุพฺเพ  มนุสฺสภูตสฺส
           
            สมานสฺส สตฺต วตฺตปทานิ สมตฺตานิ สมาทินฺนานิ อเหสุํ ฯ  
                       (๒/๙๖)

       วิธีเรียงวิกติกตฺตาดังกล่าวมานี้ เป็นแบบหลักทั่วไป แต่ในปกรณ์ แบบเรียนอาจมีนอกเหนือจากกฎนี้บ้าง ถ้าจำไม่ได้ ก็ขอให้ยึดวิธีที่ว่านี้ เข้าไว้ก่อน เป็นไม่ผิดแบบที่ว่านั้น เช่น

               : สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏมฺพิโก อโหสิ อฑฺโฒ มหทฺธโน
                 มหาโภโค
อปุตฺตโก ฯ (๑/๓)
จะเรียงว่า    : สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏมฺพิโก อฑฺโฒ  อโหสิ มหทฺธโน ฯเป ดังนี้ก็ได้

               : ตสฺเสกปุตฺตโก อโหสิ ปิโย  มนาโป ฯ (๑/๒๓)
จะเรียงว่า    : ตสฺเสกปุตฺตโก ปิโย  อโหสิ มนาโป ฯ ดังนี้ก็ได้

 

วิธีเรียงกิริยา

       ดังกล่าวมาแล้วในบทก่อนว่า กิริยาถือว่าเป็นส่วนสำคัญของ ประโยคคู่กับประธาน และกิริยานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ

       ๑. อนุกิริยา หมายถึงกิริยาที่ แทรกอยู่ในระหว่างประโยค ได้แก่ กิริยาที่ประกอบด้วย ต อนฺต มาน และ ตูนาทิ ปัจจัย

       ๒. มุขยกิริยา หมายถึงกิริยาใหญ่ที่ทำหน้าที่คุมประโยค ได้แก่ กิริยาอาขยาตทั้งหมด และกิริยากิตก์ที่ประกอบด้วย ต อนีย ตพฺพ ปัจจัย ในกิริยา ๒ ประเภทนี้ มีหลักการเรียง ดังนี้

 

วิธีเรียงอนุกิริยา

       ๑. เรียงไว้หลังประธาน ในประโยคธรรมดา โดยเรียงเป็นลำดับเรื่อยไป เช่น

  • : โส เอกทิวสํ นหานติตฺถํ คนฺตฺวา นหาตฺวา อาคจฺฉนฺโต (๑/๓)

       ๒. เรียงไว้หน้าประธาน โดยมากก็คือ ศัพท์ที่ประกอบด้วย “ตฺวา” ปัจจัย ที่แปลว่า “เพราะ, เว้น หรือ ครั้นแล้ว” เช่น สุตฺวา ทิสฺวา ฐเปตฺวา กตฺวา นิสฺสาย เป็นต้น เช่น

  • : อิทํ กิร ฐานํ ทิสฺวา ตถาคโต เทวทตฺตํ ปพฺพาเชสิ ฯ
  •   (๑/๑๓๗)
  • : อิทานิสฺส มํ ฐเปตฺวา อญฺญํ ปฏิสรณํ นตฺถิ ฯ
  • : อาจริยํ เม นิสฺสาย ชีวิตํ ลทฺธํ ฯ

และคือ ศัพท์ที่ประกอบด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัย เช่น

  • : วฏฺฏํ ปน เขเปตฺวา ฐิโต ขีณาสโว คตทฺธา นาม ฯ (๔/๕๔)
  • : อากงฺขมาโน หิ ภควา หิมวนฺตํ ปพฺพตราชํ สุวณฺณนฺติ อธิมุจฺเจยฺย ฯ (๗/๑๖๐)
  • : สพฺพรตุตึ ปน ปธานํ ปทหนฺโต โยคาวจโร จ ธมฺมกถํ กเถนฺโต  ธมฺมกถิโก จ ฯเปฯ ชานาติ ฯ (๓/๑๐๙)

       ๓. เรียงไว้หลังกิริยาใหญ่ ในกรณีอนุกิริยาทำหน้าที่พร้อมกับ กิริยาใหญ่ หรือเป็นกิริยาอปรกาล แต่เป็นกิริยาที่รองไปจากกิริยาใหญ่ ซึ่งถืออิริยาบถใหญ่ เป็นประมาณ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น เช่น

  • : ตสฺมึ สมเย สตฺถา ปวตฺติตปวรธมฺมจกฺโก ฯเปฯ เชตวนมหาวิหาเร วิหรติ สคฺคมคฺเค จ โมกขมคฺเค จ ปติฏฺฐาปยมาโน ฯ (๑/๔)
  • : คจฺฉ ตาสํ ทตฺวา
  • : โส เถโร ธมฺมาสเน นิสีทิ จิตฺตวีชนึ คเหตฺวา

       ๔. เรียงไว้หน้ากิริยาใหญ่  ในกรณีใช้แทนปุริสสัพพนาม คือ ทำหน้าที่คล้ายประธานในประโยค เพราะไม่เรียงประธานไว้ด้วย และ อนุกิริยาเช่นนี้ มักมีศัพท์ว่า นาม กำกับไว้ด้วย เช่น

  • : เทาทตฺโต กุหึ นิสินฺโน วา ฐิโต วาติ ปุจฺฉนฺโต นาม นตฺถิ ฯ (๑/๑๒๙)
  • : อหนฺติ วา อหนฺติ วา วทนฺโต นาม นาโหสิ ฯ (๔/๙๘)

 

วิธีเรียงมุขยกิริยา

       ๑.เรียงไว้ท้ายประโยค ในประโยคธรรมดาทั่วๆ ไป ดังตัวอย่าง ทั้งหลายที่แสดงมาแล้ว

       ๒. เรียงไว้ต้นประโยค ในกรณีพิเศษดังต่อไปนี้

           ๒.๑ ในประโยคคำถาม ซึ่งไม่มี กึ ศัพท์อยู่ด้วย มีคติใช้ แทน กึ เช่น

   : ทิฏฺโฐ โข ภนฺเต ภควตา สกฺโก เทวานมินฺโท ฯ (๒/๙๔)

   : อตฺถิ ปนายสฺมโต โกจิ เวยฺยาวจฺจกโร ฯ

    ๒.๒ ในประโยคบังคับ เช่น
           : คจฺฉ ตฺวํ อาวุโส ฯ
           : เอหิ ตาต ปิยปุตฺต ฯ

    ๒.๓ ในประโยคอ้อนวอน เช่น

  •         : ติฏฺฐถ ตาว ภนฺเต, กิจฺจํ เม อตฺถิ ฯ (๑/๑๔)
  •         : อาคเมตุ ภนฺเต ภควา ธมฺมสฺสามิ ฯ (๑/๔๑)

    ๒.๔ ในประโยคเตือน – ชักชวน เช่น

  •         : ปสฺสถิทานิ อาวุโส เถรสฺส อโนมคุณตฺตํ ฯ (๔/๖๗)
  •         : ปสฺสถ ภิกฺขเว สกฺกํ เทวานมินฺทํ อุทานํ อุทาเนตฺวา อากาเสน อาคจฺฉนฺตํ 
              ฯ (๓/๘๔)

    ๒.๔ ในประโยคสงสัยเชิงถาม  เช่น

  •         : สกฺขิสฺสติ นุ โข เม สงฺคหํ กาตุํ โน ?

     ๒.๖ ในประโยคห้าม หรือ คัดค้าน เช่น

  •         : โหตุ อุปาสก น มยฺหํ อิมินา อตฺโถฯ
  •         : อลํ อยฺย, มม มาตุ ภายามิ, คมิสฺสามาหํ ฯ (๓/๓๘)

    ๒.๗ ในประโยคปลอบใจ เช่น

  •         : โหตุ มา จินุตยิ, วฏฺฏสฺเสเวส โทโส ฯ

    ๒.๘ ในประโยคให้พร เช่น

  •         : ภวตุ สพฺพมงคลํ รกฺขนฺตุ สพฺพเทวตา ฯ

    ๒.๙ ในประโยคเน้นความ เช่น

    ความตั้งใจ : ปพฺพชิสฺสาเมวาหํ ตาต ฯ (๑/๗)

    ความดีใจ : นิปฺผนฺนํ โน กิจฺจํ ฯ

  : อญฺญาสิ วตโภ โกณฺฑญฺโญ ฯ

    ความตกใจ : นตฺถิ เม อิทานิ ชีวิตํ ฯ

    ความยืนยัน : ขีณา ชาติ, วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ (๑/๑๑๑)

    ๒.๑๐ ในประโยคแสดงความมั่นใจ  เช่น

  •          : ลเภยฺยาม มยํ ภนฺเต ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺชํ, ลเภยฺยาม อุปสมฺปทํ ฯ
               (๑/๘๖)

       ประโยคที่วางกิริยาไว้ข้างต้นนี้ ถ้าเป็นประโยคสั้นๆ และใน ประโยคนั้น จะต้องวาง ต สัพพนามในรูปทุติยาวิภัตติด้าย นิยมให้ ทุติยาวิภัตตินั้นมีรูปเป็น นํ หรือ เน แล้ววางไว้หลังกิริยา และเป็นตัวสุดท้ายในประโยค เช่น

  • : ตาต ยํ อิมสฺมึ กุเล ฯเปฯ สพฺพนฺตํ ตา ภาโร, ปฏิปชฺชาหิ นนฺติ ฯ (๑/๖)

       จะเรียงว่า ตํ ปฏิปชฺชาหีติ ก็ได้แต่ไม่นิยม และไม่นิยมเรียง ว่า ปฏิปชฺชาหิ ตนฺติ ฯ

  • : กีทิโส นุ โข โส, ปสฺสิสฺสาม นนฺติ ฯ (๒/๓๙)

       จะเรียงว่า ตํ ปสฺสิสฺสามาติ ก็ได้แต่ไม่นิยม และไม่นิยมเรียง ว่า ปสฺสิสฺสาม ตนฺติ ฯ

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


40609647
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
957
25161
132504
40302836
660672
937182
40609647

Your IP: 52.14.126.74
2024-04-26 01:20
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search