5.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (กิริยาปธานนัย, กิริยาวิเสสนะ, ประโยค สกฺกา)

 

วิธีเรียงกิริยาปธานนัย

       กิริยาปธานนัย คือ กิริยาที่ประกอบด้วยตูนาทิปัจจัย ตามปกติ ก็เป็น ตฺวา ปัจจัยทำหน้าที่เป็นกิริยาคุมพากย์ในประโยค ซึ่งปกติเป็นไม่ได้ ที่ต้องใช้กิริยาปธานนัย เพราะขณะที่เนื้อความกำลังดำเนินไปตาม ปกตินั้น เกิดมีประธานของประโยคบางส่วนแยกไปทำกิริยาอื่น แต่ ประธานบางส่วนมีได้ทำด้วย แต่ประโยคจำต้องดำเนินเรื่อยไปดังนี้ จึงนิยมใช้กิริยาปธานนัย เพื่อให้ประโยคเป็นไปไม่ขาดสาย เท่าที่สังเกดดู วิธีใช้กิริยาปธานนัยในปกรณ์ต่างๆ สรุปแล้วมี ๓ ลักษณะ คือ

 

ลักษณะที่ ๑

       ตอนแรกประธานของประโยคจะเป็นบุคคลก็ตาม เป็นสิ่งของก็ ตามอยู่รวมกันเป็นหมวดเป็นหมู่ และทำกิริยาอาการร่วมกันเรื่อยมา แต่ตอนหลังประธานเหล่านั้น มีบางส่วนแยกไปทำกิริยาอย่างอื่น กิริยาที่ทำร่วมกันของประธานจึงต้องหยุดลงกระทันหัน ต่อไปก็เป็นกิริยา เฉพาะของประธานที่แยกตัวออกมา

        ยกตัวอย่างเช่น แม่นํ้าสายหนึ่งไหลมาจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ผ่าน เกาะแก่งเรื่อยมา ภายหลังมาแยกเป็น ๒ สาย สายหนึ่งไหลไปทาง ทิศได้เรื่อยไป อีกสายหนึ่งแยกไหลไปทางทิศตะวันออก จะเห็นได้ว่า ตอนแรกมาด้วยกัน ตอนหลังจึงแยกกัน กิริยาสุดท้ายแม่นั้าไหลมา ก่อนแยกกันนั้นจัดเป็นกิริยาปธานนัย

       ขอให้พิจารณาประโยคต่อไปนื้

  • : อุโภปิ (ตาปสา) สาราณียํ กถํ กเกตฺวา, สยนกาเล นารโท เทวลสฺส นิปชฺชนฏฺฐานญฺจ ทฺวารญฺจ สลฺลกฺเขตฺวา นิปชฺชิ ฯ (๑/๓๘)

       ในประโยคนี้ กเถตฺวา เป็นกิริยาปธานนัย เพราะเป็นกิริยา สุดท้ายที่ประธาน คือ ตาปสา ทำร่วมกัน ภายหลังประธานส่วนหนึ่ง ข้างต้น คือ นารโท แยกไปทำกิริยาอย่างหนึ่งต่างหาก ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยประธานทั้งหมดข้างต้น

 

ขอให้ดูประโยคอื่นเทียบเคียง

: สาวตฺถีวาสิโน หิ เทฺว กุลปุตฺตา สหายกา วิหารํ คนฺตฺวา ฯเปฯ สาสเน ธุรํ ปุจฺฉิตฺวา วิปสฺสนาธุรญฺจ คนฺถธุรญฺจ วิตฺถารโต สุตฺวา, เอโก ตาว อหํ ภนฺเต ฯเปฯ อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ (๑/๑๔๔)

: สรีรํ มชฺเฌ ภิชฺชิตฺวา, เอโก ภาโค โอริมตีเร ปติ, เอโก ปาริมตีเร ฯ (๓/๑๘๗)

: เหฏฺฐาคงคาย จ เทฺว อิตฺถิโย  นหายมานา ตํ ภาชนํ อุทเกนา หริยมานํ ทิสฺวา,  เอกา  อิตฺถี  มยฺหเมตํ ภาชนนฺติ อาห ฯ (๘/๑๗๒)

        ความจริง ประโยคเหล่านี้อาจแยกเป็น ๒ ประโยค โดยตัด ทอนกิริยาปธานนัยเป็นกิริยาคุมพากย์เสีย เช่นเป็นว่า

: อุโภปิ (ตาปสา) สาราณียํ กถํ กเถสุ, สยนกาเล นารโท ฯเปฯ หรือ

: สรีรํ มชฺเฌ ภิชฺชิ, เอโก ภาโค ฯเปฯ

       อย่างนี้ย่อมใช้ได้เช่นกัน แต่ประโยคเนื้อความจะไม่สละสลวย เพราะใจความของประโยคมิได้หยุดลงแค่นั้น ยังดำเนินต่อไปอีก แต่ดำเนินไป เพียงบางส่วนเท่านั้น

 

ลักษณะที่ ๒

       ตอนแรกประธานทำกิริยาอาการร่วมกันมา แล้วแยกกันเหมือน ในลักษณะแรก ส่วนหนึ่งของประธานที่แยกมาไปทำกิริยาอาการอย่าง หนึ่งต่างหาก ไม่เกี่ยวด้วยประธานทั้งหมด แต่เมื่อทำเสร็จแล้วกลับไป ร่วมทำกิริยาอาการกับตัวประธานทั้งหมดในประโยคตามเดิมอีกเช่นนี้ กิริยาที่ทำรวมกันสิ้นสุดลงตอนแรก ไม่จัดเป็นกิริยาปธานนัยเหมือนใน ลักษณะแรก แต่กิริยาปธานนัยในลักษณะนี้ ได้แก่กิริยาตัวสุดท้าย ของตัวประธานที่แยกตัวออกไปทำ เท่ากับเป็นประโยคเล็กๆ แทรกอยู่ ในประโยคใหญ่นั่นเอง

      เปรียบเหมือนชายสองคนเดินทางไปด้วยกัน พอถึงกลางทาง ชายคนหนึ่งแวะลงซื้อของข้างทาง แล้วเดินทางร่วมกันต่อไปใหม่ กิริยา ที่ชายคนที่แวะลงทำเป็นสุดท้ายนั่นแหละ จัดเป็นกิริยาปธานนัย

       ความจริง น่าจะทอนประโยคให้เล็กลง โดยขึ้นประโยคใหม่ ย่อมทำได้ แต่จะไม่สละสลวย และประโยคจะยับเยินเกินไป ต้องขึ้นประธานใหม่อยู่เรื่อย จึงไม่นิยมทอนประโยค

       ตัวอย่าง กิริยาปธานนัยในลักษณะนี้ คือ

: เตปิ เทวโลกโต จวิตฺวา พนธมติยํ เอกสฺมึ กุลเคเห เซฏฺโฐ เชฏฺโฐ ว หุตฺวา กนิฏฺโฐ กนิฏฺโฐ ว หุตฺวา ปฏิสนฺธึ คณฺหึสุ ฯ (๘/๑๖๐)

 

ลักษณะที่  ๓

       ลักษณะกิริยาปธานนัยอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งแปลกจากลักษณะทั้ง สองข้างต้น คือตอนแรกประธานทำกิริยาร่วมกันมา และหยุดลง ตอนหลัง ประธานเหล่านั้นต่างก็แยกไปทำกิริยาของตนต่างหาก แต่ไม่ได้กลับมาทำกิริยาร่วมกัน เหมือนลักษณะที่ ๒ ประโยคสิ้นสุดลงตรง กิริยาของใครของมัน เหมือนในลักษณะที่ ๑ แต่แทนที่กิริยาปธานนัย จะอยู่ตรงกิริยาสุดท้ายก่อนแยกกันเหมือนในลักษณะที่ ๑ กลับเป็นตัว กิริยาสุดท้ายของประธานที่แยกตัวออกมาแต่ละตัวเหมือนในลักษณะที่ ๒

       ลักษณะที่ ๓ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความฉงนอยู่ พบตัวอย่างมีอยู่ใน เรื่อง อุโปสถกมฺม ภาค ๕ ดังนี้

: วิสาเข อิเมสํ สตฺตานํ ชาติอาทโย นาม ทณฺฑหตฺถโคปาลกสทิสา, ชาติ ชราย สนติกํ เปเสตฺวา, ชรา พยาธิโน สนฺติกํ, ฯเปฯ (๕/๕๔)

       เรื่องกิริยาปธานนัยนี้ นักศึกษาพึงทำความเข้าใจให้ดีเป็นพิเศษ เพราะเป็นกิริยาพิเศษมีไม่มากนัก แต่ควรได้ศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่ออรรถรส ของภาษา

       หากมีความสงสัยว่าจะทราบได้อย่างไรว่า ประโยคไหนเป็นประโยคกิริยาปธานนัย มีหลักสังเกตอยู่ ๒ ประการ คือ

       ๑. ในวิชาแปลมคธเป็นไทย  ให้สังเกตดูการวางรูปประโยคประโยคมักจะสะดุด หยุดลงกระทันหัน และใจความจะเป็นดังกล่าวมา แล้วในลักษณะนั้นๆ

       ๒.ในวิชาแปลไทยเป็นมคธ ให้สังเกตดูที่การแปลในพากย์ไทย ถ้าแปลไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเครื่องหมาย “ ฯ ” คั่นระหว่าง แต่กลับ มีประธานเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก อย่างนี้ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ความตอน นั้นน่าจะเป็นประโยคกิริยาปธานนัย ฯ

 

 

วิธีเรียงกิริยาวิเสสนะ

       บทกิริยาวิเสสนะ คือ ศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายบทกิริยาโดยตรง เหมือนคุณศัพท์ขยายนาม ฉะนั้นกิริยาวิเสสนะนี้จะต้องมีรูปเป็นทุติยาวิภัตติ เอกวจนะเท่านั้น เป็นวิภัตติและวจนะอื่นไม่ได้ แต่ถ้าเป็นอัพยยศพท์ ซึ่งแจกไม่ได้ ก็ให้คงรูปเดิมไว้ เช่น ตถา เอวํ เป็นต้น

       บทกิริยาวิเสสนะ มีวิธีเรียง ดังนี้

       ๑. กิริยาวิเสสนะของกิริยาที่เป็นอกัมมธาตุ คือ กิริยาที่ไม่มีบท อวุตฺตกมฺม อยู่ด้วย ให้เรียงไว้ข้างหน้าชิดกิริยา เช่น

  • : ธมุมจารี สุขํ เสติ ฯ
  • : เกน นุ โข อุปาเยน สพฺเพ สพฺรหฺมจารี ผาสุํ วิหเรยฺยุํ ฯ

       ๒. กิริยาวิเสสนะของกิริยาสกัมมธาตุ มีบทอวุตฺตกมฺมอยู่ด้วย จะเรียงไว้หน้า หรือหลังบทอวุตฺตกมุม ก็ได้ เช่น

เรียงหน้า : เอวํ จิกฺขลมคฺเคน คจฺฉนฺโต วิย ทนฺธํ ปุญฺญํ กโรติ ฯ (๕/๔)

เรียงหลัง : สาสนํ เม ขิปฺปํ เทหิ ฯ

       แต่เพื่อเคารพกฎที่ว่า บทอวุตฺตกมุม ควรเรียงไว้ชิดกิริยา จึง นิยมเรียงบทกิริยาวิเสสนะ ไว้หน้าบทอวุตฺตกมุม มากกว่า

       ๓. กิริยาวิเสสนะที่คลุมตลอดทั้งประโยค นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น

: เอวํ พาลปุคฺคโล โถกํ โถกมฺปิ ปาปํ อาจินนฺโต วฑฺเฒนฺโต ปาปสฺส ปูรติเยว ฯ (๕/๑๕)

 

 

วิธีเรียงประโยค สกฺกา

       สกฺกา เป็นศัพท์พิเศษ ทำหน้าที่คุมพากย์ได้ เรียกว่า ประโยค สกฺกา เป็นได้ทั้ง กมฺมวาจก และภาววาจก แล้วแต่ความจะบ่ง และ มักมี ตุํ ปัจจัยรวมอยู่ในประโยคด้วย ประโยคสกฺกา มีวิธีเรียง ดังนี้

       ๑. เรียง สกฺกา ไว้หน้า ตุํ ปัจจัย เช่น : น สกฺกา กาตุํ ฯ

: น สกฺกา เอเตน สทฺธึ เอกโต ภวิตุํ ฯ (๑/๑๒๙)

แบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดกว่าทุกๆ แบบ

๒. เรียง สกฺกา ไว้หลัง ตุํ ปัจจัย เช่น

: ปาลิเลยยฺก อิโต ปฏฺฐาย ตยา คนฺตุํ น สกฺกา ฯ (๑/๕๔)

: เอวํ เปเสตุํ น สกฺกา ฯ (๑/๑๓)

๓. บทอนภิหิตกตฺตา นิยมเรียงไว้หน้า ตุํ ปัจจัย ดังตัวอย่างข้างต้น

๔. บทประธานในประโยค กมฺมวาจก นิยมเรียงไว้หน้า สกฺกา เช่น

: พุทฺธา  จ นาม น สกฺกา สเฐน อาราเธตุํ ฯ (๑/๘)

: สมณธมฺโม นาม สรีเร ยาเปนฺเต สกฺกา กาตุํ ฯ (๑/๙)

ที่เรียงไว้หลังก็มีบ้าง เช่น

: น สกฺกา โส อคารมชฺเฌ ปูเรตุํฯ (๑/๑๓)

๕. สกฺกา ถ้ามีกิริยาว่ามี ว่าเป็นคุมพากย์อยู่ ก็ทำหน้าที่เป็น วิกติกตฺตา เข้ากับกิริยานั้น เช่น

: โลกุตฺตรธมฺโม นาม น สกฺกา โหติ เถเนตฺวา คณฺหิตุํ ฯ

๖. สกฺกา ทำหน้าที่เป็นบทประธานในประโยคได้บ้าง เช่น

: ตตฺถ นํ อาคตํ คเหตุํ สกฺกา ภวิสฺสติ ฯ (๒/๓๒)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search