การกำหนด การดูหนังสือบาลี

  1. กำหนดดูเริ่มต้นประโยค และสุดประโยคอยู่ตรงไหน ?
  2. กำหนดแยกแต่ละประโยค มีชั้นนอก ชั้นใน   หรือมีชั้นนอกอย่างเดียว  ชั้นในอย่างเดียว ?
  3. กำหนดประโยคย่อยแต่ละตอนว่า เป็นวาจกอะไร ?
  4. กำหนดคำ/บทในประโยคว่า เป็นลักษณะไหน ในจำนวน 8 ลักษณะ ?
  5. กำหนดในใจว่า คำไหนสัมพันธ์เข้ากับคำไหน  คำไหนขยายคำไหน ?
  6. กำหนดดูว่า ข้อความนี้แปลตามลำดับหลักการแปล  หรือต้องแปลรวบ ?
  7. กำหนด / สังเกต / จดจำศัพท์คำแปลให้แม่นยำ ?

 

หลักการแปลมคธเป็นไทย

  1. อาลปนะ
  2. นิบาตต้นข้อความ
  3. บทกาลสัตตมี
  4. บทประธาน
  5. บทเนื่องด้วยประธาน
  6. กิริยาในระหว่าง ของประธาน และประโยคแทรก
  7. บทเนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง และประโยคแทรก
  8. กิริยาคุมพากย์
  9. บทเนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์

 

วิธีสังเกตุลักษณะของประโยคภาษาบาลี

  1. รูปแบบประโยคชั้นนอกชั้นเดียว คือ ประโยคบอกเล่าธรรมดา

     ตัวอย่าง    โส  กิร  ทุคฺคตพฺราหฺมโณ  อโหสิ. (ภาค 4)

  1. รูปแบบประโยคมีทั้งชั้นนอกชั้นใน คือ ประโยคที่มีบุคคลในเนื้อเรื่อง คิดหรือพูดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

     อย่างใดอย่างหนึ่ง

     ก. คนพูด หรือคนคิด   จัดเป็นประโยคชั้นนอก                    

     ข. คำของคนพูด หรือข้อความที่พูด   จัดเป็นประโยคชั้นใน

     หมายเหตุ   บางทีมีประโยคชั้นนอก และชั้นในซับซ้อนกันถึง 2 ชั้น  รวมเป็น 3 ชั้น   เช่น  บุคคลที่ 1    

                        พูดกับบุคคลที่ 2  โดยอ้างถึงบุคคลที่  3  หรือโดยสั่งให้พูดกับบุคคลที่ 3                        

                        ก. คนพูด  จัดเป็นประโยคชั้นนอก   

                        ข. ข้อความที่พูดกับบุคคลที่ 2  จัดเป็นประโยคชั้นในที่ 1

                        ค. ข้อความที่สั่งให้บุคคลที่ 2 พูดกับบุคคลที่ 3 หรืออ้างถึงบุคคลที่ 3  จัดเป็นประโยคชั้นในที่ 2

      วิธีสังเกตประโยคชั้นใน

  1. มีเครื่องหมายอัญญประกาศ   อยู่หน้า 
  2. มีศัพท์ อิติ  อยู่หลัง

                            ก. ข้อความที่อยู่ ภายใน เครื่องหมาย       “…………………อิติ   จัดเป็นประโยคชั้นใน            

                            ข. ข้อความที่อยู่ ภายนอก เครื่องหมาย    “…………………อิติ   จัดเป็นประโยคชั้นนอก

                            ตัวอย่างประโยคชั้นใน 1 ชั้น

                             ป…………..“ ป……………………………..ก..อิติ…..ก. 

                             พราหมโณ   “ ภิกฺขูนํ  วตฺตปฺปฏิวตฺตํ  กโรมิ  ภนฺเตติ  อาห.  (ภาค 4)

                            ตัวอย่างประโยคชั้นใน 2  ชั้น          

                             ป………….“ ป……“ ป………………..…….ก..อิติ………..ก..อิติ…..ก.

                             (วาณิชกา)   “ เตปิ    “รญฺญา  สทฺธึเยว  ปพฺพชิสฺสามาติ   คตา  เทวีติ  อาหํสุ.  (ภาค 4)

  1. รูปแบบประโยคมีแต่ชั้นในอย่างเดียว คือมีแต่ข้อความที่พูดอย่างเดียว คนพูด(ประธาน)และกิริยาคุมพากย์
   ไม่ปรากฏ  หรือบางทีมีแต่กิริยาคุมพากย์อย่างเดียว คนพูด(ประธาน)ไม่ปรากฏ

     ตัวอย่าง        “……………………………………….อิติ                             

                           “ พหุกา  มยํ  ภคินีติ. (ภาค 4)

                           “ กิตฺตกา  ภนฺเตติ. (ภาค 4)

 

                            ในกรณีเช่นนี้  เวลาแปลต้องเติมประโยคชั้นนอก ได้แก่ คนพูด(ประธาน) และกิริยาคุม-

     พากย์มาทุกครั้ง  ก่อนเข้าไปแปลประโยคชั้นใน

                            ในการเติมนั้น  ต้องคำนึงว่า  ภายในข้อความเครื่องหมาย  “…………….อิติ  เป็นคำถาม

     หรือคำพูดตอบ  หรือคิด

                            ก. ถ้าเป็น ข้อความคำถาม            ให้เติม    ปุจฺฉิตฺวา,  ปุจฺฉิ,  ปุจฺฉึสุ 

                            ข. ถ้าเป็น ข้อความคำพูดตอบ      ให้เติม    วตฺวา,  อาห,  อาหํสุ

                            ค. ถ้าเป็น ข้อความคิด                  ให้เติม    จินฺเตตฺวา,  จินฺตยิ-จินฺเตสิ,  จินฺตยึสุ

                            ง. ถ้าเป็น ข้อความอื่น ๆ                ให้พิจารณาตามสมควร เช่น ตีกลอง, ดีดนิ้ว ฯลฯ

                                                                                  เติม  ญาปนเหตุกํ  เป็นต้น

วิธีสังเกตประโยคคำถาม

                            1. มักมีอักษร  “ ก”  อยู่ต้นประโยค  เช่น  กุหึ,  กึ,  โก  เป็นต้น
                            2. บางทีมี กิริยาคุมพากย์ อยู่ต้นประโยค   เช่น  อตฺถิ,  นตฺถิ  เป็นต้น

ข้อควรจำ

                             รูปแบบประโยคทั้งหมดไม่ว่าชนิดไหน  จะต้องอยู่ในประเภทวาจกทั้ง 5 อย่าง  คือเป็นวาจกใดวาจกหนึ่งใน 5 วาจกแน่นอน 

                             ก. กัตตุวาจก,  เหตุกัตตุวาจก                      นิยมใช้กิริยาคุมพากย์เป็น  รูปกิริยาอาขยาต

                             ข. ภาววาจก,  กัมมวาจก,  เหตุกัมมวาจก    นิยมใช้กิริยาคุมพากย์เป็น  รูปกิริยากิตก์

  • Author: admin
  • Hits: 8474
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search