อินทรวิเชียรฉันท์

อินทรวิเชียรฉันท์  แปลตามครูว่า "ฉันท์มีครุหนักมากเหมือนคทาเพชรของพระอินทร์ เพราะมี  ตะคณะ เรียงกัน ๒ คณะ"  ฉันท์ชนิดนี้ เป็น เอกาทสักขรฉันท์บาทหนี่งกำหนดให้มี ๑๑ อักษร (๑๑ คำ) เวลาเขียนกำหนดให้เขียนบรรทัดละ ๑ บาท เรียงลงไปจนครบ ๔ บาท จึงเป็นคาถาหนึ่ง และกำหนดคณะที่ใช้ ๓ คณะคือ ต, ต,​ ช  และมีครุลอย (ครุที่ไม่นับเข้าเป็นคณะ) ๒ อักษรสุดท้ายของทุกบาท มี ยติ ๕-๖ คือเวลาสวดทำนอง ให้หยุดที่อักษรที่ ๕ และหยุดครั้งต่อไปอีก ๖ อักษร คือตัวสุดท้ายบาท

อินทรวิเชียรฉันท์ มีสูตรที่กล่าวถึงในคัมภีร์วุตโตทัย ว่า

อินฺทาทิกา  ตา  วชิรา  ช  คา  โค

มีรูปแบบดังนี้

 

อินทรวิเชียรฉันท์ มีสูตรที่กล่าวถึงในคัมภีร์วุตโตทัย ว่า

โย  จกฺขุมา  โมหมลาปกฏฺโฐ
สามํ ว  พุทฺโธ  สุคโต  วิมุตฺโต
มารสฺส  ปาสา  วินิโมจยนฺโต
ปาเปสิ  เขมํ  ชนตํ  วิเนยฺยํ 
               ฯเปฯ

ข้อสังเกต

ในฉันท์นี้  จะมีครุยาวถึง ๓ คู่  และมี  ลหุ  คั่นกลางทั้งนั้น  ยกเว้นหลักครุคู่ที่ ๒ เป็น ลหุ  คู่  ดังนั้น  ถ้าอักษรตัวที่ ๗ เป็น ครุ ฉันท์นี้  จะมี ลหุ คั่น ครุ คู่ ไว้ทั้งหมด

ข้อยกเว้น

ครุลอยตัวที่ ๒ (โค)  หรืออักษรตัวสุดท้ายของทุกบาทจะแต่งเป็นลหุก็ได้  เป็นข้อยกเว้นพิเศษ  แม้แต่งเป็นลหุ  ก็เป็น  ครุ  เรียกว่า ปาทันตครุ ครุท้ายบาท เช่นตัวอย่างว่า

ยนฺทุนฺนิมิตฺตํ  อวมงฺคลญฺ (ปาทันตครุ)
โย  จามนาโป  สกุณสฺส  สทฺโท (ครุลอย)
ปาปคฺคโห  ทุสฺสุปินํ  อกนฺตํ (ครุลอย)
พุทฺธานุภาเวน  วินาสเมนฺตุ (ปาทันตครุ)

 


ที่มา "หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ" พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙)





 


41031549
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
18334
25435
146236
40662852
249852
832722
41031549

Your IP: 10.100.34.116
2024-05-10 16:49
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search